จำกัดการใช้ไฟฟ้า-หยุดการผลิต เหตุใดจีนกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าร้ายแรงที่สุดในรอบ 10 ปี

2021-09-28 14:28:19 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

图片默认标题_fororder_299ADE4B-2769-4AE1-83AB-1757057FFE52

​​“วิกฤตพลังงาน” เป็นคำที่คุ้นหู ช่วงทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันปิโตรเลียมระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากประเทศแหล่งน้ำมันห้ามการขนส่ง จนในที่สุดทำให้เศรษฐกิจโลกหยุดพัฒนา

จำกัดการใช้ไฟฟ้า-หยุดการผลิต เหตุใดจีนกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าร้ายแรงที่สุดในรอบ 10 ปี_fororder_20210928xdtc

​​ปัจจุบันไม่ว่ายุโรป อังกฤษ สหรัฐฯ จีน บราซิล หรือ ประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ ทั่วโลกล้วนมีความเสี่ยงด้านการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า โดยในประเทศจีน มณฑลเจียงซู มณฑลกว่างตง มณฑลหยุนหนัน และมณฑลซันตง ต่างเริ่มควบคุมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการผลิต มีรายงานข่าวว่าจีนกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนพลังไฟฟ้ารุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา 

​​ด้านยุโรปหลังยกเลิกพลังไฟฟ้านิวเคลียร์และถ่านหิน ชาวเยอรมันจ่ายค่าไฟสูงสุดในยุโรปและยังคงขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าเช่นเดิม ส่วนอังกฤษนั้น Igloo, AmPower, Green, Utilita และผู้ให้บริการไฟฟ้ารายอื่น ๆ ต่างประกาศหยุดรับลูกค้าใหม่เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติและราคาไฟฟ้าเพิ่มสูงทำสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์ บริษัทพลังงานไฟฟ้าหลายแห่งหยุดทำงาน บริษัทอื่นก็ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ่ายไฟฟ้าได้ต่อ ส่วนบราซิลที่กำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังน้ำเป็นหลักนั้นเนื่องจากปริมาณน้ำสำรองมีไม่เพียงพอโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำราว 30 แห่งจึงไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามปกติ

​​สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสถานการณ์เช่นนี้คือ กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการจำกัดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ปัจจุบันทั่วโลกกำลังอยู่ในช่วงเบื้องต้นของการไร้คาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ตลาดพลังงานระหว่างประเทศเกิดความไม่มั่นคงโดยเฉพาะบางประเทศยุโรปที่หยุดหรือปิดเหมืองแร่ถ่านหิน บริษัทผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินและพัฒนาพลังงานสะอาดซึ่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าวรวดเกินไป ขีดความสามารถด้านการผลิตพลังงานด้วยถ่านหินลดน้อยลง แต่ขีดความสามารถด้านการผลิตพลังงานสะอาดยังสูงขึ้นไม่พอ จึงทำให้ไม่สามารถสนองความต้องการพลังงานไฟฟ้าแก่การผลิตของวิสาหกิจต่าง ๆ รวมทั้งไฟฟ้าที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวันได้

​​วันที่ 22 กันยายนที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานประเทศต่าง ๆ ในสหภาพยุโรป จัดการพิจารณาเกี่ยวกับปัญหาต้นทุนพลังงานที่ประเทศสโลวีเนีย ทำให้บางประเทศวางแผนให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ครอบครัวที่ตกอยู่ในภาวะยากลำบากเป็นมูลค่าหลายพันล้านยูโร ซัพพลายเออร์พลังงานรายใหญ่สุดของอังกฤษร้องขอการสนับสนุนฉุกเฉินจากรัฐบาลเพื่อให้ผ่านพ้นจากวิกฤตพลังงานครั้งนี้

​​ในรอบ 14 เดือนที่ผ่านมา ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 10 เท่าตัว การนำเข้าจากรัสเซียน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ ผสานกับสภาพที่หลาย ๆ ประเทศดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้ความต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอย่างมาก ราคาจึงสูงขึ้นตามทำสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์

​​ผลจากวิกฤตพลังงานในศตวรรษที่แล้ว คือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อธิบายง่าย ๆ คือ ราคาสินค้าสูงขึ้น ขณะที่เศรษฐกิจหยุดการพัฒนาและอัตราการว่างงานสูงขึ้น ทั้งนี้เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ผู้คนต่างกังวลว่าภายใต้สภาพปัจจุบันตลาดจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่รุนแรงยิ่งขึ้น

​​ดังนั้นอุณหภูมิในฤดูหนาวที่จะมาถึงนี้จึงเป็นที่จับตามอง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานระหว่างประเทศอย่างมาก สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศกล่าวในแถลงการณ์ล่าสุดว่า ตลาดก๊าซธรรมชาติในยุโรปอาจทนต่อการทดสอบและความตึงเครียดมากขึ้นในช่วงฤดูหนาวนี้

Tim/Ldan

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-04-2567)

李丹丹