วันที่ 30 กันยายน ที่สวนพฤกษศาสตร์กรุงปักกิ่ง มีการเปิดนิทรรศการผลการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ และทุ่งหญ้าแห่งประเทศจีน ซึ่งจะจัดขึ้นเป็นเวลา 1 เดือน ถือเป็นการประชาสัมพันธ์การประชุมภาคี “สนธิสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ” ครั้งที่ 15 ที่สหประชาชาติมีกำหนดจัดขึ้นที่จีนในเวลาอันใกล้นี้ รวมทั้งแสดงผลงานของจีนในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รณรงค์สังคมให้เอาใจใส่และมีส่วนร่วมในการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น
ข้อมูลสายพันธุ์สัตว์ป่าของจีน ระบุว่า ปัจจุบันสายพันธุ์แพนดาป่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 1,864 ตัว ช้างป่าเอเชียเพิ่มจาก 180 ตัวมาเป็นราว 300 ตัว ละมั่งป่าทิเบตฟื้นคืนมาอยู่ที่ระดับกว่า 300,000 ตัว วานรแขนยาว (Hylobatidae) สายพันธุ์ไห่หนานในป่าเพิ่มขึ้นจากไม่ถึง 10 ตัวเมื่อ 40 ปีก่อนมาเป็น 35 ตัว ขณะที่สัตว์ป่าอื่น ๆ อีกจำนวนมาก เช่น แพนดา กวางปักกิ่ง (Elaphurus davidianus, 麋鹿) และนกช้อนหอยหงอน (Nipponia Nippon, 朱鹮) ได้รับการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
นอกจากนี้พืชพรรณที่นำกลับคืนสู่ป่ายังมีจำนวน 206 สายพันธุ์ ในจำนวนดังกล่าวเป็นสายพันธุ์ของจีนเฉพาะจำนวน 112 สายพันธุ์
(TIM/LING/CAI)
(ลิขสิทธิ์เป็นของ China Face)