ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการประเทศต่างๆเรียกร้องร่วมเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อนุรักษ์ระบบนิเวศ“ขั้วโลกที่ 3”

2021-10-17 22:01:56 | CRI
Share with:

ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการประเทศต่างๆเรียกร้องร่วมเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อนุรักษ์ระบบนิเวศ“ขั้วโลกที่ 3”

วันที่ 15 ต.ค. 64 ระหว่างการประชุมครั้งที่ 15 ของสมัชชาฝ่ายลงนาม “สนธิสัญญาความหลากหลายทางชีวภาพ” แห่งสหประชาชาติ(COP15) ได้จัดอภิปรายประเด็น “อารยธรรมและความปลอดภัยทางภาวะนิเวศในที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต” ที่ศูนย์นิทรรศการนานาชาติเตียนฉือ เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากประเทศต่างๆ เช่น จีน ปากีสถาน เนปาล เยอรมนี และองค์การระหว่างประเทศต่างๆ เช่น สันนิบาตองค์การวิทยาศาสตร์นานาชาติ(ANSO) สหพันธ์ภูมิศาสตร์นานาชาติ(IGU) เป็นต้น ดำเนินการอภิปรายถึงปัญหาการอนุรักษ์ภาวะแวดล้อมและการพัฒนาแบบสีเขียวในที่ราบสูงชิ่งไห่-ทิเบต ด้วยรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์

ทั้งนี้ “ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต” เป็นที่ราบสูงที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลสูงสุดของโลก ได้รับสมญานามว่าเป็น “หลังคาของโลก” และ “ขั้วโลกที่ 3 ” ซึ่งเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำสำคัญในทวีปเอเชียหลายสาย เช่น แม่น้ำหวงเหอ แม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำคงคา แม่น้ำโขง แม่น้ำอินดัส เป็นต้น จึงถูกเรียกว่าเป็น “หอคอยกักน้ำแห่งเอเชีย”

ร.ศ ดำบารูบัลลาบ คัตเทล นักวิชาการชาวเนปาลของสถาบันที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตแห่งสภาวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีน ซึ่งทำการวิจัยด้านอุทกวิทยาและภูมิอากาศในที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตเป็นสำคัญ เขากล่าวว่า “เขตขั้วโลกที่ 3 นี้ เป็นแหล่งที่มาสำคัญยิ่งของน้ำจืดสำหรับประชากรเอเชียจำนวนหลายร้อยล้านคน ไม่เพียงแต่จะมีอิทธิพลอันลึกซึ้งต่อระบบภาวะนิเวศในส่วนภูมิภาคเท่านั้น หากยังมีความสำคัญยิ่งต่อดินฟ้าอากาศของซีกโลกเหนือตลอดจนทั่วโลกด้วย

ระหว่างปี 2013-2015 ศาสตราจารย์ชาห์ ฮุสเซน อาหมัด มาห์ดี จากสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยราชชาฮีของบังคลาเทศเคยทำการวิจัยระดับหลังปริญญาเอกที่คณะวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เขากล่าวว่า จีนกำหนดระบบเส้นแดงการอนุรักษ์ภาวะนิเวศ เขตที่มีภาวะนิเวศอ่อนแอได้รับการอนุรักษ์อย่างเข้มงวด ซึ่งรวมถึงเขตที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตด้วย ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตถูกเรียกว่า “หอคอยกักน้ำ” แม่น้ำจามูนาในประเทศบังคลาเทศนั้นก็มีต้นกำเนิดจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตเช่นกัน มาตรการอนุรักษ์ภาวะนิเวศที่จีนมีต่อที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตนั้นน่าชื่นชม

นายอับฮีนาฟ เจน ผู้สื่อข่าวอาวุโสสถานีโทรทัศน์ข่าว “Live India” ของอินเดียทำข่าวด้านสิ่งแวดล้อมมานาน เขากล่าวว่า ภาวะนิเวศของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ไม่เพียงแต่มีความผูกพันอันใกล้ชิดกับประเทศเอเชียเท่านั้น หากยังมีความเกี่ยวโยงถึงประเทศบนโลกทั้งใบอีกด้วย ปัจจุบัน อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกนั้นส่งผลกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงทางภาวะนิเวศของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตด้วย ด้วยเหตุนี้ ประเทศต่างๆมีความจำเป็นที่จะต้องกระชับความร่วมมือ รับมือความท้าทายจากปัญหาด้านดินฟ้าอากาศโลก ร่วมกันอนุรักษ์ขั้วโลกที่ 3

Zhou/Dan/Yim

  • เสียงข่าวประจำวัน (03-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (03-05-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (03-05-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (02-05-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (02-05-2567)

张丹