บทวิเคราะห์ : การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

2021-10-18 10:15:51 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวสุนทรพจน์สำคัญผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ขณะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า จีนจัดตั้งกลุ่มอุทยานแห่งชาติรุ่นแรก

การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นการใช้ความพยายามครั้งล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและบ่งชี้ว่า จีนกำลังเร่งสร้างระบบอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีอุทยานแห่งชาติเป็นองค์ประกอบหลัก

บทวิเคราะห์ : การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

กลุ่มอุทยานแห่งชาติรุ่นแรกของจีนมีพื้นที่รวม 230,000 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน อุทยานแห่งชาติหมีแพนด้า อุทยานแห่งชาติเสือโคร่งและเสือดาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนไหหลำ และอุทยานแห่งชาติอู่อี๋ซาน  ได้ครอบคลุมเกือบ 30% ของพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชบนบกที่พบในจีน 

อุทยานแห่งชาติดังกล่าวเหล่านี้ไม่ใช่สวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ แต่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า  จึงห้ามไม่ให้ดำเนินโครงการบุกเบิกพัฒนาขนาดใหญ่โดยมนุษย์ และต้องรับประกันความยั่งยืนของสัตว์ป่า      

บทวิเคราะห์ : การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งมีบทบาททางนิเวศวิทยาโดยเฉพาะ เช่น อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน มุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ระบบนิเวศของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ในขณะที่อุทยานแห่งชาติในไหหลำและอู่อี๋ซานเน้นอนุรักษ์ป่าฝนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน   ส่วนที่เหลืออีก 2 แห่งเน้นการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ หมีแพนด้า เสือโคร่งไซบีเรีย และเสือดาว    อุทยานแห่งชาติเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ "ขีดเส้นสีแดง" ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและอยู่ภายใต้มาตรการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่เข้มงวดที่สุดของจีน   

ยุทธศาสตร์"ขีดเส้นสีแดง"ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่เสนอโดยจีน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศนั้น ได้รับคัดเลือกจากสหประชาชาติให้เป็นหนึ่งใน 15 โครงการทั่วโลกที่โดดเด่นที่สุดในการแก้ไขปัญหาทางระบบนิเวศ  อีกทั้งยังเป็นนวัตกรรมกลไกที่สำคัญในการวางแผนการใช้ที่ดินและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย

เนื่องจากมนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากเกินไป ทำให้ระบบนิเวศบนโลกใบนี้ได้รับความเสียหายอย่างมาก  ทุกวันนี้  ประเทศต่างๆ ทั่วโลกจึงต้องใช้ความพยายามอย่างแข็งแกร่งมากกว่าช่วงเวลาใดที่ผ่านมา เพื่อยุติแนวโน้มการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

การพัฒนาอุทยานแห่งชาติของจีนเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นว่า จีนกำลังเร่งสร้างระบบการอนุรักษ์พื้นที่ทางธรรมชาติที่มีอุทยานแห่งชาติเป็นส่วนประกอบหลัก   โดยจะค่อยๆ รวมพื้นที่ที่มีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุด ภูมิทัศน์ธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวโดดเด่นที่สุด มรดกทางธรรมชาติที่ดีที่สุด และความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดอยู่ในระบบอุทยานแห่งชาติ

การพัฒนาระบบอุทยานแห่งชาติในจีนยังแสดงให้เห็นว่า จีนทุ่มเทกำลังอย่างเต็มที่ เพื่อแสดงบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของโลก  

(yim/cai)

 

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

蔡建新