วันที่ 19 พฤศจิกายน ในงานสัมมนาการสร้าง "1 แถบ 1 เส้นทาง" ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง "การสร้างประโยชน์แก่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน" เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาอย่างมีคุณภาพของ "1 แถบ 1 เส้นทาง" ที่กล่าวเน้นโดยปธน.สี จิ้นผิงนั้น อันที่จริงก็เป็นความตั้งใจดั้งเดิมของจีนที่เสนอข้อริเริ่มนี้เมื่อ 8 ปีก่อน ตลอดช่วง 8 ปีมานี้ตั้งแต่ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน ไปจนถึงระเบียงเศรษฐกิจจีน-มองโกเลีย-รัสเซีย จากทางรถไฟมอมบาซา-ไนโรบี ไปจนถึงรถไฟความเร็วสูงจาการ์ตา-บันดุง โครงการ "1 แถบ 1 เส้นทาง" ใช้มาตรการที่เป็นรูปธรรมหลายประการเพื่อให้ประชาชนในประเทศรายทางได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
8 ปีให้หลัง ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของโลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงร้อยปีกำลังเร่งก่อตัวขึ้น เกี่ยวกับการพัฒนาที่มีคุณภาพของ "1 แถบ 1 เส้นทาง" ปธน.สีจิ้นผิงได้มีการจัดงานสำคัญในการสัมมนา ไม่ว่าด้านการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมืองแก่กันและกัน การเชื่อมโยงระหว่างกัน การค้าที่ไม่มีอุปสรรค การหมุนเวียนทางการเงิน และการแลกเปลี่ยนบุคคลและวัฒนธรรม การขยายขอบเขตการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน การส่งเสริมการนำเข้าสินค้าคุณภาพดีมากขึ้น การพัฒนา "เส้นทางสายไหมอีคอมเมิร์ซ" และการสร้างโครงสร้างความร่วมมือทางดิจิทัล ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า การจัดงานเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ได้จากประสบการณ์ความสำเร็จในการสร้าง "1 แถบ 1 เส้นทาง" ตลอดช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น หากยังมีการปรับเปลี่ยนและปรับปรุงให้สมบูรณ์แบบตามสถานการณ์อีกด้วย ซึ่งเพิ่มแรงขับเคลื่อนเข้าสู่ "1 แถบ 1 เส้นทาง" เพื่อสร้างประโยชน์มากขึ้นแก่โลก
ช่วง 8 ปีมานี้ "1 แถบ 1 เส้นทาง" มีความเจริญรุ่งเรืองและกลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล กลายเป็นเวทีแสดงผลงานการขยายการเปิดสู่ภายนอกของประเทศจีน เและส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ตามรายงานการประเมินของธนาคารโลก ภายในปี 2030 ข้อริเริ่ม "1 แถบ 1 เส้นทาง" อาจช่วยให้ประชากร 7.6 ล้านคนทั่วโลกพ้นจากภาวะยากจนขั้นรุนแรง และช่วยให้ประชากร 32 ล้านคนหลุดพ้นจากภาวะยากจนขั้นปานกลาง ในฐานะผู้ริเริ่ม จีนกำลังใช้งานอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับโลกดังกล่าวนี้ให้มีคุณภาพสูง กาลเวลาได้และจะพิสูจน์ต่อไปว่า ประชาชนจีนไม่เพียงแต่หวังดีต่อชีวิตของตัวเองเท่านั้น หากยังปรารถนาให้ชาวโลกมีชีวิตที่ดีด้วย
Tim/LR/Cui