ประสบการณ์เซินเจิ้น : รหัสการพัฒนาของจีน (2)

2021-11-25 15:23:22 | CRI
Share with:

ประสบการณ์เซินเจิ้น : รหัสการพัฒนาของจีน (2)

เซินเจิ้น อยู่ในมณฑลกวางตุ้งทางภาคใต้ของจีน เมื่อกว่า 40 ปีก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงมีชีวิตที่ยากจนยามค่ำคืนชาวประมงมองไปที่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำที่มีแสงไฟสว่างไสว นั่นคือฮ่องกงแดนสวรรค์ที่ใฝ่ฝัน

แต่ปัจจุบันจีดีพีของเมืองเซินเจิ้นแซงหน้าฮ่องกงเท่ากับจีดีพีของประเทศที่อยู่อันดับที่ 21 ของโลก นอกจากนั้นจีดีพีของถนนสายหนึ่งในเมืองเซินเจิ้นก็เท่ากับจีดีพีของบางประเทศ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างไร

นโยบายพิเศษของรัฐบาลกลางคือ อนุญาตให้เงินทุนต่างชาติเข้ามา กู้เงินจากธนาคารและรวบรวมเงินทุนด้วยรูปแบบต่างๆ  นายอู๋ หนันเซิง ผู้นำมณฑลกวางตุ้ง ติดต่อกับพ่อค้าต่างประเทศให้มาลงทุนที่เซินเจิ้นแต่ไม่มีใครยอมมา จนถึงฤดูหนาวปีเดียวกัน นายกู่ มู่ รองนายกรัฐมนตรีไปเยือนเซินเจิ้น แล้วรับปากช่วยติดต่อธนาคารให้ปล่อยเงินกู้ 30 ล้านหยวนแก่เซินเจิ้น เงินก้อนนี้ใช้ในการก่อสร้างถนนสายหลักของเมืองเซินเจิ้น ชื่อ “เซินหนันต้าเต้า”  ถนนสายนี้ยาว 25.6 กิโลเมตร เป็นถนนที่เป็นประจักษ์พยานของประวัติศาสตร์การพัฒนาในช่วงกว่า 40 ปีที่ผ่านมาของเมืองเซินเจิ้น ที่เริ่มต้นจากเมืองแห่งการแปรรูปมาเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมการผลิต และขึ้นมาเป็นเมืองแห่งการสร้างสรรค์ใหม่

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้วสิ่งที่สำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งคือ การบัญญัติกฎหมาย พ่อค้าฮ่องกงคนหนึ่งบอกกับนายอู๋ หนันเซิงว่า “ถ้าไม่มีการบัญญัติกฎหมายใครจะกล้ามาลงทุน” ปีค.ศ. 1980 สภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนเห็นชอบ “มาตรการว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษมณฑลกวางตุ้ง” ชาวเซินเจิ้นไม่จำเป็นต้องลักลอบข้ามไปฮ่องกงอีกแล้ว ส่วนชาวฮ่องกงก็พากันเข้ามาลงทุนในเซินเจิ้น

เวลานั้นเงินเดือนของเมืองเซินเจิ้นสูงกว่าเขตเมืองชั้นในอย่างมาก เป็นแรงดึงดูดบุคลากรสาขาต่างๆ มีครั้งหนึ่ง นายกู่ มู่ รองนายกรัฐมนตรีไปทานข้าวในร้านอาหารแห่งหนึ่งของเซินเจิ้น เขาถามบริกรคนหนึ่งว่า “เงินเดือนเท่าไหร่” บริกรตอบว่า “450 หยวน” นายกู มู่ฟังแล้วหัวเราะและพูดเล่นว่า “เงินเดือนมากกว่าผมอีกคุณต้องเลี้ยงผม”

ประสบการณ์เซินเจิ้น : รหัสการพัฒนาของจีน (2)

ในขณะเดียวกันข้อกังขาและแรงกดดันต่างๆ ก็ถาโถมมาพร้อมๆ กัน มีคำพูดที่ว่า “ที่เมืองเซินเจิ้น นอกจากธงแดง 5 ดาวที่เป็นธงชาติจีนแล้ว อย่างอื่นล้วนเปลี่ยนไปหมด” “เขตเศรษฐกิจพิเศษกลายเป็นช่องทางลักลอบค้าขายไปแล้ว” เป็นต้น 

เรื่องเหล่านี้กวนใจผู้นำมณฑลกวางตุ้งและเมืองเซินเจิ้นมาโดยตลอด จนถึงปี 1984 นายเติ้ง เสี่ยวผิงไปตรวจเยี่ยมเมืองเซินเจิ้นเป็นครั้งแรก แต่เมื่อเจ้าหน้าที่เซินเจิ้นขอความคิดเห็นจากนายเติ้ง เสี่ยวผิง คำตอบคือ “หลังกลับไปปักกิ่งแล้วค่อยว่ากัน” หลังจากนั้นนายเติ้ง เสี่ยวผิง ก็เดินทางไปตรวจเยี่ยมเมืองจูไห่ต่อโดยชมทางการท้องถิ่นว่า  “เขตเศรษฐกิจพิเศษจูไห่จัดการได้ดี”

เมื่อได้ยินเช่นนี้ฝ่ายบริหารเมืองเซินเจิ้นรู้สึกกังวลว่าการที่ท่านเติ้ง เสี่ยวผิงพูดอย่างนี้จะหมายถึงเซินเจิ้นจัดการได้ไม่ดีหรือเปล่า? จึงรีบสั่งเจ้าหน้าที่ไปรอที่เมืองกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง เพราะท่านเติ้งจะไปพักกลางทางหลังเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมเมืองจูไห่ ค่ำคืนวันสิ้นปีเก่าต้อนรับวันตรุษจีนปี 1985 นายเติ้ง เสี่ยวผิง สะบัดพู่กันจีนเขียนคำตอบว่า “การพัฒนาและประสบการณ์ของเมืองเซินเจิ้นเป็นสิ่งยืนยันว่านโยบายการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของเราถูกต้อง”

(Bo/Lin)

  • เสียงข่าวประจำวัน (28-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (28-03-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (28-03-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-03-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (27-03-2567)

周旭