บทวิเคราะห์ : จีนพัฒนาชาติบนฐาน“เท่าเทียมกันด้านสิทธิมนุษยชน”

2021-12-13 14:17:50 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : จีนพัฒนาชาติบนฐาน“เท่าเทียมกันด้านสิทธิมนุษยชน”

หัวข้อหลักสำหรับ “วันสิทธิมนุษยชน - 10 ธันวาคม” ปีนี้คือ “ความเท่าเทียมกัน”  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางสังคมเป็นอุดมคติร่วมกันของมนุษยชาติ  และก็เป็นสิ่งที่ประชาชนจีนมุ่งมั่นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์  จีนเน้นความเท่าเทียมกันในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ เช่น การต่อสู้กับโควิด-19 และการทำสงครามกับความยากจน  เพื่อเร่งพัฒนาด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ

ประเทศจีนให้ความสำคัญกับชีวิตและสุขภาพของประชาชนเหนือกว่าสิ่งอื่นใด และทำทุกอย่างที่ทำได้เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ หรือสัญชาติของผู้ป่วย แม้ในช่วงที่การระบาดของโควิด-19 อยู่ในขั้นวิกฤตที่สุด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนทรัพยากรทางการแพทย์ในบางพื้นที่ก็ตาม   ทางการจีนก็ยังคงเน้นความเท่าเทียมกันทางสังคม     ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุ 100 ปี  ทุกชีวิตมีค่าและได้รับความเคารพ   

จีนมีประชากร 1,400 ล้านคน แต่เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตจากโควิด-19  ต่ำที่สุดในโลก   จนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2021  จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ต่อประชากร 100,000 คนในจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ที่ 8.9 ราย คิดเป็น 1 ใน 1,678 ของสหรัฐฯ และจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ต่อประชากร 100,000 คนในจีนแผ่นดินใหญ่อยู่ที่ 0.4 ราย คิดเป็น 1 ใน 606 ของสหรัฐฯ  

การฉีดวัคซีนเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19  ขณะนี้  ประชากรจีนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด -19 แล้วมีจำนวน 1,225 ล้านคน   ในจำนวนนี้  ประชากรที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองเข็มมีจำนวน 1,076 ล้านคน      

นอกจากนี้ จีนยังพยายามผลักดันการจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างเป็นธรรมในทั่วโลก  เพื่อให้ประเทศต่างๆทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงและมีกำลังซื้อวัคซีนได้   จนถึงขณะนี้  จีนได้จัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 กว่า 1,850 ล้านโดสให้กับกว่า 120 ประเทศและองค์กรระหว่างประเทศแล้ว   มากกว่าประเทศอื่นใดในโลก  

บทวิเคราะห์ : จีนพัฒนาชาติบนฐาน“เท่าเทียมกันด้านสิทธิมนุษยชน”

อุปสรรคใหญ่อีกประการหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายความเท่าเทียมกันคือ ความยากจน    หลายปีมานี้   จีนได้ระดมทรัพยากรจำนวนมหาศาลในทั่วประเทศ เพื่อต่อสู้กับความยากจน  ทุกครอบครัวที่มีปัญหาความยากจน ไม่ว่าจะอยู่ในท้องถิ่นหรือชนเผ่าใด ล้วนได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล

บทวิเคราะห์ : จีนพัฒนาชาติบนฐาน“เท่าเทียมกันด้านสิทธิมนุษยชน”

เมื่อต้นปีนี้  จีนประกาศว่า จากการใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละมาเป็นเวลา 8 ปี ซึ่งนับตั้งแต่การประชุมสมัชชาใหญ่ผู้แทนทั่วประเทศของพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 เป็นต้นมา  จนถึงปี 2020 รัฐบาลจีนได้ช่วยให้ประชากรยากจน 98.99 ล้านคนในพื้นที่ชนบทพ้นจากภาวะยากจน  และได้ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจขจัดความยากจนสุดขีด    อีกทั้งยังได้บรรลุเป้าหมายการลดความยากจนที่กำหนดไว้ในวาระปี 2030 แห่งสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนก่อนเวลากำหนด 10 ปี

จีนเน้นย้ำมาตลอดว่า สิทธิมนุษยชนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ “ชีวิตที่มีความสุขของประชาชน” จึงมุ่งมั่นพัฒนาประเทศเพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชน    ในขณะเดียวกัน จีนก็พร้อมที่จะทำงานร่วมกับประเทศต่างๆ ทั่วโลกและฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นของมนุษย์ทุกคน และให้โลกนี้น่าอยู่ขึ้น

ตามรายงานฉบับล่าสุดของธนาคารโลก  โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ที่จีนริเริ่มมีส่วนช่วยให้ประชากร 7.6 ล้านคนพ้นจากภาวะยากจนสุดขีด  และ ประชากร 32 ล้านคนพ้นจากภาวะยากจนระดับปานกลาง

การมีความเท่าเทียมกันด้านสิทธิมนุษยชนเป็นอุดมคติร่วมกันของมวลมนุษยชาติ      แต่เส้นทางสู่การมีสิทธิมนุษยชนนั้นมีความหลากหลาย และแนวทางที่ดีที่สุดคือ แนวทางที่เหมาะสำหรับประเทศตน ด้วยเหตุนี้ จีนจึงย้ำมาตลอดว่า ต้องเคารพสิทธิของประชาชนทุกประเทศในการเลือกเส้นทางการพัฒนาของตนเองอย่างอิสระ     

มีการพิสูจน์ครั้งแล้วครั้งเล่าว่า รูปแบบประชาธิปไตยหรือสิทธิมนุษยชนที่กลุ่มอิทธิพลจากภายนอกยัดเยียดให้ประเทศอื่นใช้นั้นไม่ประสบผลดี     ดังนั้น ประเทศต่างๆทั่วโลกจึงควรเพิ่มการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อหาหนทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับสภาพภายในประเทศและความต้องการของประชาชนมากที่สุด  

(yim/cai)  

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

蔡建新