บทวิเคราะห์ : การตั้งกลุ่มประเทศกลุ่มเล็กไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยี 6G

2021-12-15 07:16:51 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : การตั้งกลุ่มประเทศกลุ่มเล็กไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยี 6G

ขณะนี้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งในโลกกำลังวาดพิมพ์เขียวสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี 6G ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายยุคต่อไป สหรัฐฯ จึงรีบเตรียมตัวตั้งกลุ่มประเทศพันธมิตรขนาดเล็กเพื่อกีดกันและยับยั้งการพัฒนาเทคโนโลยีด้านนี้ของจีน

สหรัฐฯ พยายามหาทางยับยั้งการวิจัยและสร้างนวัตกรรมไฮเทคของจีนนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ จุดประสงค์ที่เห็นแก่ตัวของสหรัฐฯ คือ ยับยั้งการพัฒนาของบริษัทเทคโนโลยีจีนและทำให้สหรัฐฯ สามารถเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีระดับโลกต่อไปได้

บทวิเคราะห์ : การตั้งกลุ่มประเทศกลุ่มเล็กไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยี 6G

เป็นเวลานานแล้วที่สหรัฐฯ อาศัยการเป็นประเทศมหาอำนาจของตนกลั่นแกล้งและปราบปรามบริษัทวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของประเทศอื่นตามอำเภอใจ โดยอ้างสิ่งที่เรียกว่าความมั่นคงแห่งชาติ การกระทำของสหรัฐฯ ดังกล่าวถือเป็นการละเมิดหลักเศรษฐกิจแบบตลาด รวมทั้งระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง อีกทั้งยังสร้างความวุ่นวายแก่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างร้ายแรงด้วย

รัฐบาลสหรัฐฯ พยายามขจัดสิ่งที่อ้างว่าเป็นภัยคุกคามต่ออำนาจทางเทคโนโลยีผ่านทุกวิถีทาง เช่น ขึ้นบัญชีดำบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติ ออกมาตรการห้ามขายชิปแก่บริษัทหัวเว่ย และสร้างอุปสรรคต่อความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับประเทศอื่นทั่วโลก การกระทำอย่างโจ่งแจ้งของสหรัฐฯ ดังกล่าวสร้างความกังวลอย่างมากแก่ทั่วโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้ พันธมิตรเพื่อโซลูชั่นการสื่อสารโทรคมนาคมเชิงอุตสาหกรรม (Alliance for Telecommunications Industry Solutions) ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงวอชิงตันได้เปิดตัวโครงการสร้างความเป็นผู้นำของอเมริกาเหนือในการพัฒนาเทคโนโลยี 6G โดยดึงบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลกเข้าร่วม เช่น บริษัท ไมโครซอฟท์, Qualcomm, ซัมซุง, แอปเปิล, อินเทล และอีริคสัน แต่กลับปฏิเสธไม่ให้บริษัทหัวเว่ย และ ZTE ของจีน ผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมรวมถึง 5G เข้าร่วม

สหรัฐอเมริกาได้คัดเลือกหุ้นส่วนความร่วมมือด้านการวิจัยเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยหวังว่าความร่วมมือกับพันธมิตรจะสามารถชะลอการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของจีน และทำให้สหรัฐฯ สามารถกลับมาเป็นผู้นำแวดวงอุตสาหกรรมการสื่อสารเคลื่อนที่อีกครั้ง

บทวิเคราะห์ : การตั้งกลุ่มประเทศกลุ่มเล็กไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาเทคโนโลยี 6G

อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากมากที่จะสร้างมาตรฐานเทคโนโลยี 6G ซึ่งเป็นที่ยอมรับระดับสากลโดยปราศจากการมีส่วนร่วมของจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาไฮเทคอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สื่อญี่ปุ่น NIKKEI ASIA รายงานเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่า จากการสำรวจคำร้องจดสิทธิบัตรประมาณ 20,000 รายการสำหรับเทคโนโลยีหลัก 6G 9 รายการพบว่า จีนอยู่ในอันดับต้น ๆ ด้วยจำนวนการขอจดสิทธิบัตรเทคโนโลยี 6G ของจีนคิดเป็นกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนการยื่นขอสิทธิบัตรทั้งหมด

ปัจจุบันโลกที่มีการเชื่อมต่อกันในระดับสูงมาก การแยกตัวจากจีนและสร้างสองระบบนิเวศทางเทคโนโลยีแยกออกจากกันบนโลกนั้นเป็นเพียงมโนภาพที่ไม่อาจปรากฏเป็นจริงขึ้นได้ หลายปีที่ผ่านมา องค์กรจัดตั้งระดับโลกหลายแห่ง เช่น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ได้พยายามทำงานเพื่อกำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมระดับสากลที่ทุกประเทศยอมรับ เนื่องจากการมีมาตรฐานทางเทคโนโลยีที่แตกต่างกันนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคทางเทคนิคโดยไม่จำเป็นและสูญเสียทรัพยากรมหาศาล ขณะเดียวกันมีความเห็นเป็นเอกฉันท์ในวงกว้างว่า เนื่องจากมีความยากลำบากและความสลับซับซ้อนมากในการพัฒนาเทคโนโลยี 6G ประชาคมโลกจึงจำเป็นต้องส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การยับยั้งการพัฒนาของประเทศอื่นจะไม่สามารถส่งเสริมการพัฒนาของอเมริกาเองได้ สหรัฐฯ ถือประเทศตนเป็นศูนย์กลางของโลก สร้างความเสียหายแก่ผลประโยชน์ร่วมกันของประชาคมโลก รังแกและกดขี่ประเทศอื่น การกระทำเช่นนี้ขัดกับกระแสแห่งการพัฒนาและความร่วมมือทางประวัติศาสตร์ จึงต้องประสบกับความพ่ายแพ้อย่างแน่นอน

(tim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (27-04-2567)

  • เกาะกระแสจีน (27-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-04-2567)

蔡建新