บทวิเคราะห์ : จีนก้าวสู่ความมั่งคั่งและแข็งแกร่งเป็นกระบวนการเชิงประวัติศาสตร์ที่ขัดขวางไม่ได้

2022-01-11 22:00:02 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : จีนก้าวสู่ความมั่งคั่งและแข็งแกร่งเป็นกระบวนการเชิงประวัติศาสตร์ที่ขัดขวางไม่ได้

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์สของอังกฤษตีพิมพ์บทวิเคราะห์ว่า นับตั้งแต่จีนเริ่มดำเนินนโยบายเปิดประเทศในปลายทศวรรษ 1970  จีนได้มุ่งพัฒนาสู่ประเทศที่มีความโดดเด่นในโลก บทวิเคราะห์ดังกล่าวยังชี้ว่า   ชาติตะวันตกจะไม่สามารถขัดขวางกระบวนการพัฒนาเจริญเติบโตขึ้นของจีน

ความเห็นดังกล่าวน่าสนใจ เพราะได้วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาและฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรืองของประชาชาติจีนจากมุมมองทางประวัติศาสตร์ ขณะเดียวกันยังได้ตระหนักถึงกระบวนการพัฒนาของจีนในแง่มุมที่สมเหตุสมผลกว่าที่สื่อตะวันตกส่วนใหญ่เคยใช้

ปัจจุบันยังมีชาวตะวันตกจำนวนไม่น้อยที่ยึดติดกับแนวคิดไร้เหตุผลที่ต้องให้ชาติตะวันตกเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของโลกและพยายามยับยั้งการเจริญเติบโตขึ้นของจีน บางคนยังวิเคราะห์อย่างเหลวไหลถึงเหตุผลที่ทำให้จีนสามารถเจริญเติบโตขึ้นว่า เป็นเพราะชาติตะวันตกเกิดความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายต่อจีน

บทวิเคราะห์ : จีนก้าวสู่ความมั่งคั่งและแข็งแกร่งเป็นกระบวนการเชิงประวัติศาสตร์ที่ขัดขวางไม่ได้

ไม่เป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ชาติตะวันตกอวดดีในตนเอง ถือตนเป็นศูนย์กลางของโลก  พร้อมทั้งมุ่งใส่ร้ายป้ายสีและยับยั้งการพัฒนาเติบโตขึ้นของจีน  แต่เมื่อชาติตะวันตกมีวาทศิลป์ต่อต้านจีนและพยายามที่จะบอกทั่วโลกว่า ตนเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าของโลก กลับทำให้ชาวโลกเห็นถึง “ความเย่อหยิ่งและอคติ” ของชาติตะวันตกเหล่านี้

บทวิเคราะห์ : จีนก้าวสู่ความมั่งคั่งและแข็งแกร่งเป็นกระบวนการเชิงประวัติศาสตร์ที่ขัดขวางไม่ได้

ปัจจุบันการศึกษาการพัฒนาของจีนได้กลายเป็นประเด็นสำคัญสำหรับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องมีความเข้าใจอย่างชัดเจน คือ การพัฒนาของจีนไม่ได้เกิดจาก “บุญคุณ” ของชาติตะวันตกและยิ่งไม่ได้ถูกกำหนดทิศทางโดยชาติตะวันตก

ประชาชนชาวจีนที่มีจิตวิญญาณการต่อสู้และมีความขยันหมั่นเพียรรุ่นต่อรุ่นได้ใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละมาโดยตลอด ทำให้จีนเกิดปาฏิหาริย์สองประการ คือ เศรษฐกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและสังคมมีความมั่นคงที่ยั่งยืน นอกจากนี้จีนใช้เวลาเพียงหลายสิบปีเท่านั้นบรรลุเป้าหมายความเป็นประเทศอุตสาหกรรม ขณะที่ประเทศตะวันตกต้องใช้เวลาหลายร้อยปี    

นับตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น จีนได้พัฒนาขึ้นจากประเทศยากจนเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก ทั้งยังเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญระดับโลก  ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน จีนซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกได้บรรลุเป้าหมายแห่งศตวรรษแรกในการสร้างสังคมที่มีความเจริญรุ่งเรืองในระดับปานกลางทุกด้าน อีกทั้งยังได้ชัยชนะต่อการขจัดความยากจนสุดขีด  

จีนได้เดินหนทางการเปิดกว้างและความร่วมมือแบบได้ชัยชนะร่วมกัน นับตั้งแต่ดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศเมื่อปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา จีนได้เปิดประเทศให้กว้างขึ้นอย่างต่อเนื่องและสร้างโอกาสการพัฒนามากมายแก่ตนเองและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ในปี 2001 จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก   ได้กระตุ้นให้เกิดการบูรณาการระดับสูงระหว่างเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลก  พร้อมทั้งนำประโยชน์จากการพัฒนาจำนวนมหาศาลมาสู่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

นอกจากนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จีนได้ส่งเสริมการร่วมสร้าง “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และได้เสนอแผนการพัฒนาโลก (Global Development Initiative) เมื่อต้นปีที่แล้ว   แนวคิดที่เปิดกว้างและครอบคลุมนี้ได้รับการสนับสนุนมากมายจากทั่วโลก ปัจจุบัน มีประเทศจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ได้แสดงความเห็นว่า  การพัฒนาของจีนเป็นโอกาสมากกว่าที่จะเป็นความท้าทาย

ในขณะที่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ยังไม่สิ้นสุด และการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในศตวรรษกำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว  โลกได้ก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่ปั่นป่วน ภายใต้ภูมิหลังเช่นนี้  จีนอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงและอุปสรรคมากขึ้นในกระบวนการพัฒนาเจริญขึ้น  แต่จีนมีรัฐบาลที่มีความรับผิดชอบ มีประชาชนที่ขยันขันแข็ง และมีวัฒนธรรมที่รุ่งโรจน์และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงเชื่อมั่นว่า จีนก้าวไปสู่ความมั่งคั่งและความแข็งแกร่งนั้นเป็นกระบวนการเชิงประวัติศาสตร์ที่ย่อมต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน โดยจะไม่มีกลุ่มอิทธิพลหรือชาติใดที่สามารถขัดขวางกระบวนการนี้ได้  สำหรับชาติตะวันตกต้องหยุดทำลายการพัฒนาอย่างสันติของจีนทันที และหันมาร่วมมือกับจีน เพื่อแสวงหาและขยายประโยชน์ร่วมกันให้มากขึ้น

 (tim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (16-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (16-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (16-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (15-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (15-04-2567)

蔡建新