บทวิเคราะห์ :“เพลงก้าวสู่อนาคตร่วมกัน”บอกอะไรกับผู้ฟัง

2022-01-21 21:39:39 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ :“เพลงก้าวสู่อนาคตร่วมกัน”บอกอะไรกับผู้ฟัง

อีกประมาณ 10 วัน งานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งก็จะเปิดฉาก เวลานี้ ถนนและซอย ศูนย์การค้า สวนสาธารณะ ลานกว้างต่าง ๆ ล้วนเปิดฉาย MV ตอนหนึ่งที่ทำนองไพเราะและมีความชีวิตชีวามาก นั่นก็คือเพลง “ก้าวสู่อนาคตร่วมกัน (Together for a Shared Future)” โดยเพลงนี้เป็นเพลงประชาสัมพันธ์คำขวัญงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งปี 2022 ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากในและต่างประเทศ ไม่เพียงแต่กลายเป็นเพลงฮัมของชาวปักกิ่ง นักศึกษา อาสาสมัครต่อสู้กับโควิด-19 หากเป็นที่นิยมของเพื่อนต่างชาติเป็นจำนวนมาก

ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว CGTN ในเครือไชน่ามีเดียกรุ๊ปได้เริ่มจัดกิจกรรมแฟลชม็อบประกอบเพลงประชาสัมพันธ์คำขวัญงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งด้วยหลายภาษาในกว่า 10 เมืองทั่วโลก นักกีฬา นักร้องชื่อดังจำนวนมากและมิตรต่างชาติเกือบ 100 คนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างแข็งขัน ทุกคนร่วมร้องเพลงนี้ในกรุงปักกิ่ง กรุงมอสโก นครนิวยอร์ก กรุงปารีส กรุงมาดริด กรุงบัวโนสไอเรส เมืองดาการ์ และกรุงเยรูซาเล็ม เป็นต้น

โดยความจริงแล้ว “เพลงก้าวสู่อนาคตร่วมกัน (Together for a Shared Future)” ไม่เพียงเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมเท่านั้น หากยังเป็นคำขวัญงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งปี 2022 ด้วย คำขวัญนี้มีการประกาศเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ภาษาจีนมีเพียง 5 ตัว ส่วนภาษาอังกฤษก็มีเพียง 5 คำเท่านั้น คำขวัญนี้สื่อความหมายอะไรบ้าง?

เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม คณะกรรมการโอลิมปิกสากล(ไอโอซี) มีมติเห็นชอบปรับคำขวัญโอลิมปิกใหม่เป็น “Faster Higher Stronger-Together” หรือเร็วกว่า สูงกว่า แข็งแรงกว่า ด้วยกัน ส่วนเพลงก้าวสู่อนาคตร่วมกัน (Together for a Shared Future) ก็สอดคล้องกับคำว่า “Together” ที่เพิ่มเข้าในคำขวัญโอลิมปิก เหมาะกับคุณค่าและความปรารถนาที่เป็นหัวใจสำคัญของงานโอลิมปิกและพาราลิมปิก คำว่า “ด้วยกัน” สะท้อนให้เห็นถึงท่าทีเข้มแข็งของมนุษย์เมื่อเผชิญกับสภาวะยากลำบาก และบ่งชี้ถึงหนทางสำเร็จแห่งการเอาชนะความยากลำบากและสร้างอนาคต

ขณะเดียวกัน “ก้าวสู่อนาคตร่วมกัน” เป็นทั้งข้อริเริ่มฉบับหนึ่ง และท่าทีอย่างหนึ่ง เป็นปฏิบัติการที่จีนยึดตามคำขวัญโอลิมปิกใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกันที่จีนริเริ่มมาโดยตลอด ปัจจุบัน สถานการณ์โควิด-19 สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายต่าง ๆ ที่ทั่วโลกเผชิญอยู่ โดยความท้าทายเหล่านี้เกี่ยวพันกันทั้งโลก ไม่มีใครอยู่โดยลำพังได้ มีเพียงต้องร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จับมือสร้างประชาคมมนุษย์ที่มีอนาคตร่วมกัน ถึงจะผ่านพ้นความยากลำบาก ต้อนรับอนาคตที่ดีงามได้

กรุงปักกิ่งจะกลายเป็นเมืองแรกในโลกที่เคยจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว คำขวัญของงานโอลิมปิกฤดูร้อนปักกิ่งปี 2008 คือ “โลกเดียวกัน ความฝันเดียวกัน (One World,One Dream)” สร้างความประทับใจให้กับทั่วโลก ส่วนคำขวัญที่ว่า  “ก้าวสู่อนาคตร่วมกัน” สืบทอดจากปี 2008 ก็ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของจีนในสมัยใหม่ ซึ่งนับเป็นร่องรอยของปักกิ่งในฐานะเมืองเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนและงานโอลิมปิกฤดูหนาวให้กับสปิริตและแนวคิดโอลิมปิกอีก

ในขณะเดียวกัน ไม่ว่าฉบับภาษาจีนหรือฉบับภาษาอังกฤษของคำขวัญงานโอลิมปิกฤดูหนาวและพาราลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งปี 2022 ล้วนรวบรัด คล่องปาก สื่อได้ง่าย สะท้อนให้เห็นถึงสปิริตโอลิมปิก และแฝงไว้ด้วยความปรารถนาของผู้คนต่อชีวิตที่ดีงาม

เมื่อกล่าวถึงความดีงาม วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคมที่เพิ่งผ่านมา ปักกิ่งมีหิมะตกเป็นครั้งแรกของปีนี้ โดยหิมะรอบนี้สร้างบรรยากาศหิมะและน้ำแข็งให้กับกรุงปักกิ่งในฐานะเมืองเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกทั้งสองฤดูกาล ทำให้ชาวปักกิ่งมีรอยยิ้มกว้างขึ้นบนใบหน้า โดยหิมะรอบนี้พอดีอยู่ในช่วงฤดูกาลต้าหาน(หนาวใหญ่) ซึ่งเป็นฤดูกาลสุดท้ายใน 24 ฤดูกาลของจีน ส่วนอีก 10 กว่าวันข้างหน้า งานโอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งก็จะเปิดฉากขึ้นในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้แล้ว วันนั้นก็จะตรงกับช่วงฤดูกาลลี่ชุน(เริ่มฤดูใบไม้ผลิ) ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกใน 24 ฤดูกาลของจีน ชาวจีนเห็นว่า ฤดูใบไม้ผลิมีความสำคัญยิ่งต่อทั้งปี ผู้คนต่างรอคอยการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งก็สอดคล้องกับเสียงสะท้อนในบทเพลง “ก้าวสู่อนาคตร่วมกัน”

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

(Yim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

崔沂蒙