บทวิเคราะห์ : การปฏิบัติสองมาตรฐานต่อผู้ลี้ภัย แสดงถึงความหยิ่งยโสและมีอคติของสหรัฐฯ

2022-03-17 16:16:56 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

วันที่ 15 มีนาคม เป็นวันครบรอบ 11 ปีในการเกิดวิกฤตซีเรีย เมื่อเร็วๆ นี้ สหประชาชาติประกาศตัวเลขว่า รอบ 11 ปีที่ผ่านมา มีชาวซีเรียเสียชีวิตอย่างน้อย 3.5 แสนคน มีคนพลัดถิ่นกว่า 12 ล้านคน มีประชาชนประมาณ 14 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน เลขาธิการสหประชาชาติเรียกร้องให้ฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติอย่างแท้จริง เร่งกระบวนการทางการเมือง เพื่อสิ้นสุดความยากลำบากของชาวซีเรียที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 11 ปีแล้ว

แต่คำเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้ทำให้โลกตะวันตกเกิดความสนใจ ปัจจุบัน โฟกัสของตะวันตกและสหรัฐฯอยู่ที่ยูเครน หลายปีมานี้ ตะวันตกปฏิเสธผู้ลี้ภัยจากประเทศซีเรียและประเทศอื่นๆอย่างเลือดเย็น แต่คราวนี้ กลับแสดงความเห็นใจผู้ลี้ภัยยูเครนเป็นอย่างยิ่ง นักการเมืองและสื่อตะวันตกบางส่วนยังนำหน้าตา สีผิวและเผ่าพันธุ์มาพิจารณาเปรียบเทียบผู้ลี้ภัยยูเครนและผู้ลี้ภัยจากตะวันออกกลางและแอฟริกา โดยให้ความเห็นว่าคนประเภทแรกมีคุณภาพดีกว่าคนประเภทหลัง

ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆนี้ มีผู้นำประเทศยุโรปคนหนึ่งกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยเหล่านี้(ยูเครน)แตกต่างกับกลุ่มคนก่อนหน้านี้ พวกนี้เป็นชาวยุโรปที่ฉลาดได้รับการศึกษา แต่ผู้ลี้ภัยก่อนหน้านี้ อาจจะมีผู้ก่อการร้ายด้วย

คำพูดเหล่านี้แสดงว่า สหรัฐฯและตะวันตกมีการดูหมิ่นชนเผ่ามาโดยตลอดและมีความหยิ่งยโสที่ถือยุโรปและสหรัฐฯเป็นศูนย์กลาง มีสองมาตรฐานต่อผู้ลี้ภัย และเป็นการทำร้ายผู้ลี้ภัยตะวันออกกลางอีกครั้ง

ผู้คนยังรู้สึกสงสัยว่า เมื่อสหรัฐฯฆ่าล้างผู้บริสุทธิ์และสร้างภัยพิบัติในซีเรีย อัฟกานิสถานและประเทศอื่นๆ สื่อและนักการเมืองตะวันตกทำไมไม่แสดงความคิดเห็น แต่เมื่อเกี่ยวพันกับยูเครนทำไมชูธงสิทธิมนุษยชนอย่างสูงและรวดเร็ว ทำไมมัวแต่พูดถึงยูเครนแต่ไม่พูดถึงอัฟกานิสถาน เหตุผลก็คือ ผู้รุกรานอัฟกานิสถานก็คือสหรัฐฯนั่นเอง

Yim/Ping/Cai

  • เสียงข่าวประจำวัน (26-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (26-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (26-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (25-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (25-11-2567)

许平平