บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ ทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นอาวุธได้อย่างไร

2022-04-15 15:30:56 | CRI
Share with:

บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯ ทำให้สิทธิมนุษยชนเป็นอาวุธได้อย่างไร

วันที่ 12 เมษายนเป็นวันเจ็บปวดสำหรับสหรัฐฯ เนื่องจากในเช้าวันเดียวกันเกิดเหตุกราดยิงผู้โดยสารจำนวนกว่า 20 คน ซึ่งรวมถึงหญิงมีครรภ์วัย 28 ปี และเด็กวัย 12 ขวบ อย่างนองเลือดที่สถานีแห่งหนึ่งของรถไฟใต้ดินนิวยอร์ก

พร้อมกันนี้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ประกาศ “รายงานสิทธิมนุษยชนรายประเทศ ประจำปี 2021” ซึ่งมีข้อวิจารณ์สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในเกือบ 200 ประเทศทั่วโลก แต่ไม่ได้ระบุถึงสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ แม้แต่คำเดียวดังที่แล้ว ๆ มา

การไม่สนใจเรื่องเจ็บปวดจากเหตุกราดยิงชาวอเมริกัน หากแต่สนใจสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศอื่น ถือเป็นการกระทำที่น่าเย้ยหยันยิ่ง และเป็นแบบอย่าง “สิทธิมนุษยชนจอมปลอม” และ “ความเป็นมหาอำนาจใหญ่” ของสหรัฐฯ

สหรัฐฯ ประกาศรายงานสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่นเป็นประจำติดต่อกันทุกปีโดยไม่คุ้มครองและปรับปรุงสิทธิมนุษยชนของตนเองให้ดีขึ้น เป็นเพียงการก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศอื่น สร้างวงเล็ก และรักษาความเป็นมหาอำนาจใหญ่เท่านั้น ในสายตานักการเมืองกรุงวอชิงตันสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องการเมือง เป็นเครื่องมือ และยิ่งกว่านั้นคือเป็นอาวุธ

ปีหลัง ๆ นี้ จากสงครามอิรัก อัฟกานิสถาน ซีเรีย ถึง “การปฏิวัติสี” ที่ยุโรปตะวันออกและบอลข่าน สหรัฐฯ ยิง “อาวุธสิทธิมนุษยชน” ใส่สี่ทิศ สร้างภัยพิบัติแก่มนุษยชาติหลายครั้ง

สิทธิมนุษยชนแบบอเมริกันจอมปลอมและถูกนำไปใช้เป็นอาวุธสร้างความเดือดดาลทั่วโลก สหรัฐฯ ผู้ชูมือโบก “อาวุธสิทธิมนุษยชน” กำลังทำลายความหวังของมนุษย์และขัดขวางกระแสอนาคต จนกลายเป็นภัยคุกคามตัวจริงของโลก

(TIM/LING/CAI)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

何喜玲