บทเรียนจากการปะทะกันยูเครน-รัสเซีย

2022-04-19 21:37:26 | CRI
Share with:

ปัจจุบัน  สถานการณ์ยูเครนเป็นที่จับตามองของโลก  ถือว่าเป็นเหตุการณ์ใหญ่ทางประวัติศาสตร์ก็ว่าได้  บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนมีปฏิกิริยาต่าง ๆ ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้

บทเรียนจากการปะทะกันยูเครน-รัสเซีย

เมียนมาสนับสนุนรัสเซียใช้ปฏิบัติการทางการทหารต่อยูเครน โดยเห็นว่าปฏิบัติการดังกล่าวถูกต้อง  สิงคโปร์เป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ประกาศค่ำบาตรรัสเซีย  ฟิลิปปินส์วิงวอนให้ประชาคมโลกเน้นย้ำปฏิญญามะนิลาว่าด้วยการแก้ข้อพิพาทระหว่างประเทศอย่างสันติของสหประชาชาติ  อินโดนีเซียในฐานะประเทศประธานหมุนเวียนกลุ่มจี 20 ประจำปี 2022  เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียระบุว่า อินโดนีเซียไม่คิดที่จะจัดการปะทะระหว่างรัสเซีย-ยูเครนให้อยู่ในวาระของกลุ่มจี 20 ในขณะนี้  เอกอัครราชทูต ตาง ดินห์ เคว หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามประจำสหประชาชาติได้ขึ้นพูดในการประชุมวิสามัญเร่งด่วนเกี่ยวกับปัญหายูเครนของสมัชชาสหประชาชาติ โดยเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ เจรจากันและคุ้มครองประชาชน  ส่วนประเทศลาว เรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ใช้ท่าทียับยั้งและใช้ความพยายามเพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดที่มีความเป็นไปได้ว่าจะกระทบสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ  กระทรวงการต่างประเทศบรูไนประณามการกระทำที่รุกรานอธิปไตยใด ๆ  นายไซฟุดดิน อับดุลเลาะห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศมาเลเซีย ระบุในที่ประชุมรัฐสภามาเลเซียว่า มาเลเซียไม่มีนโยบายที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรเพื่อลงโทษรัสเซีย  กระทรวงการต่างประเทศของไทยอนุมัติงบประมาณมูลค่า 2 ล้านบาทเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ยูเครน    กัมพูชาเป็นประเทศประธานหมุนเวียนอาเซียนในปีนี้ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เน้นย้ำว่า สงครามใดมิอาจยุติสงคราม ทางออกเดียวคือการเจรจาสันติภาพ

บทเรียนจากการปะทะกันยูเครน-รัสเซีย

ทั้งประเทศอาเซียนและประชาคมโลกควรตระหนักบทเรียนจากการปะทะกันระหว่างยูเครน-รัสเซีย เคารพของกันและกัน  และพิจารณาถึงความปลอดภัยของกันและกัน เพื่อสันติภาพและการพัฒนาของโลก

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

周旭