เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศจีนได้เดินหน้าโครงการ “ข้อมูลตะวันออก ประมวลผลตะวันตก” ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร โดยการใช้ข้อได้เปรียบของภูมิภาคตะวันตกที่มีพลังงานหมุนเวียนอย่างอุดมสมบูรณ์ มาสนับสนุนการประมวลผลข้อมูลในภาคตะวันออก
หลี่ เจี๋ย รองผู้อำนวยการสำนักวิจัยฐานข้อมูลขนาดใหญ่และปัญญาประดิษฐ์ ของสถาบันวิจัยสารสนเทศและการสื่อสารของจีน เผยว่า จำนวนเครื่องประมวลผลที่ใช้งานในภาคตะวันออกมีสัดส่วนประมาณ 60% ของเครื่องทั้งหมดในประเทศ แต่เนื่องจากข้อจำกัดในปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่นที่ดิน ไฟฟ้า และการใช้พลังงาน ศูนย์ข้อมูลจึงไม่เพียงพอต่อความต้องการ สำหรับภูมิภาคตะวันตกนั้น ก็มีทรัพยากรมากมาย แต่มีความต้องการของตลาดศูนย์ข้อมูลไม่มากนัก ซึ่งมีจำนวนเครื่องประมวลผลที่กำลังใช้อยู่คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 20% ของทั้งประเทศ
มณฑลกุ้ยโจวเป็นหนึ่งในแปดของศูนย์กลางการประมวลผลที่ใหญ่ที่สุดของจีน ในโครงการ “ข้อมูลตะวันออก ประมวลผลตะวันตก” ในปีนี้ กุ้ยโจวจะตั้งสายเคเบิลออปติคัลเพื่อเชื่อมระหว่างมณฑล 17 มณฑล เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลที่มีเวลาแฝงต่ำอย่างยิ่ง และสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างฉับไว
ด้านศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ฉางซา มณฑลหูหนาน ได้ผสานการทำงานของ AI เข้ากับคลาวด์คอมพิวติ้งประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการประมวลผลและลดต้นทุนในการวิจัยทางภูมิศาสตร์ ชีวการแพทย์ วิศวกรรมชีวภาพ การเงิน และสาขาอื่นๆ
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เฉิงตู มณฑลเสฉวน มีทั้งพลังงานคุณภาพและมีความได้เปรียบในด้านข้อมูล สำหรับข้อมูลที่ต้องการการประมวลผลแบบเรียลไทม์ที่ไม่สูงมากนัก แต่ต้องการพลังการประมวลผลที่สูงเป็นพิเศษ อย่างเช่น การเรนเดอร์วิดีโอ การวิเคราะห์ข้อมูลระยะยาว และการวิเคราะห์บันทึก ที่ศูนย์แห่งนี้ก็สามารถประมวลผลข้อมูลเหล่านี้เป็นจำนวนมากโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำมาก