ศาลเจ้า“อีเซิ่งฉือ”กับตำนาน“จาง จ้งจิ่ง”(2)

2022-05-09 13:41:17 | CRI
Share with:

วันที่ 12 พฤษภาคมเป็นวันพยาบาลสากล (International Nurses' Day) ในวันพยาบาลสากลเมื่อปีที่แล้วปี 2021 ปธน.สี จิ้นผิง ของจีนลงพื้นที่ศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ” หรือ “ศาลเจ้าแพทย์ขั้นเทพ” ซึ่งบูชา “จาง จ้งจิ่ง” (张仲景) “แพทย์ขั้นเทพ” ที่เมืองหนานหยาง มณฑลเหอหนาน

เมืองหนานหยางมณฑลเหอหนานมีประวัติกว่า 2,700 ปี เป็นเมืองที่เข้มข้นด้วยวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ฮั่น (202 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ.220) เป็นบ้านเกิดของบุคคลที่มีชื่อเสียงสมัยโบราณกว่า 800 คน หนึ่งในนั้นก็คือ จาง จ้งจิ่ง ซึ่งเป็นขุนนางและแพทย์ที่มีชื่อเสียงจนได้สมญาว่า “อีเซิ่ง” (医圣, god-man of medical) แปลว่า “แพทย์ขั้นเทพ”

ที่เมืองหนานหยาง บ้านเกิดของ จาง จ้งจิ่ง จึงมีศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ” หรือ “ศาลเจ้าแพทย์ขั้นเทพ” เพื่อบูชาจาง จ้งจิ่ง 

ศาลเจ้า“อีเซิ่งฉือ”กับตำนาน“จาง จ้งจิ่ง”(2)

จาง จ้งจิ่งเกิดราวปี ค.ศ.150 สมัยราชวงศ์ฮั่น (เป็นตระกูลเตีย แซ่เตีย) เสียชีวิตราวปี ค.ศ.219 ก่อนสมัยสามก๊ก เขาเป็นชาวอำเภอหนานหยาง ในวัยเยาว์ เขาหมั่นศึกษาหาความรู้และอ่านหนังสือมาก มีความสนใจด้านแพทยศาสตร์เป็นพิเศษ ได้แรงบันดาลใจจากแพทย์ที่มีชื่อเสียงสมัยโบราณ และเป็นศิษย์ของแพทย์ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น

ช่วงระหว่างปีค.ศ.196-204 เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ต่อเนื่องกันที่อำเภอหนานหยาง ทำให้ชาวบ้านล้มตายไปจำนวนมาก ตระกูลจาง (ตระกูลเตีย, แซ่เตีย) ของจาง จ้งจิ่งแต่เดิมเป็นตระกูลใหญ่ มีประชากรกว่า 200 คน ในช่วงไม่กี่ปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดไป 2 ใน 3 ในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากไข้ตัวร้อนร้อยละ 70

เมื่อเห็นญาติมิตรตระกูลเดียวกันเสียชีวิตไปมากมายเช่นนี้ จาง จ้งจิ่งรู้สึกเจ็บปวดมากและอยากช่วยบรรทาความเดือดร้อนของชาวบ้าน จึงลาออกจากการเป็นขุนนาง และหันมาประกอบอาชีพหมอ ศึกษาต้นเหตุและวิธีการรักษาไข้ตัวร้อนอย่างจริงจังเพื่อเอาชนะโรคระบาด เขาอ่านตำราแพทยศาสตร์รุ่นก่อน รวบรวมสูตรยาและวิธีการรักษาพื้นบ้าน ด้านหนึ่งรักษาผู้ป่วย ด้านหนึ่งเริ่มเขียนหนังสือ ซึ่งเขียนมาหลายปี จนได้เขียนเรื่อง “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” (《伤寒杂病论》,Treatise on Cold Pathogenic   and Miscellaneous Diseases ) แปลว่า “ทฤษฎีว่าด้วยไข้ตัวร้อนและโรคเบ็ดเสร็จ” สำเร็จในปี ค.ศ.205 ตอนนั้นเขาอายุราว 55 ปี

ศาลเจ้า“อีเซิ่งฉือ”กับตำนาน“จาง จ้งจิ่ง”(2)

หนังสือ “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” มีหลักการวินิฉัยโรควิพาษ วิธีการรักษา และสูตรยา ให้การรักษาโรคต่างๆ หลายสิบชนิด เป็นรากฐานของแพทย์แผนจีนที่แพทย์จีนทุกคนต้องศึกษาในช่วงกว่า 1,800 ปีที่ผ่านมา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้ใดที่ไม่รู้หนังสือเล่มนี้อย่างถ่องแท้จะเป็นแพทย์เป็นหมอไม่ได้เป็นอันขาด

หนังสือ “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่กำหนดสถานภาพของจาง จ้งจิ่งในประวัติศาสตร์แพทย์แผนจีน หลังจากจาง จ้งจิ่งเสียชีวิตไปกว่าร้อยปี คือในรัชกาลเสียนเหอ (ค.ศ.326-334) ราชวงศ์ตงจิ้น  มีการยกย่องจาง จ้งจิ่งเป็น “อีเซิ่ง” (医圣, god-man of medical) แปลว่า “แพทย์ขั้นเทพ”

หนังสือ “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” ยังเผยแพร่สู่ต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มองโกเลีย ซึ่งกล่าวยกย่องหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างสูง และจัดเป็นตำราคลาสสิกที่ต้องศึกษาเช่นกัน

ศาลเจ้า“อีเซิ่งฉือ”กับตำนาน“จาง จ้งจิ่ง”(2)

ช่วงต้านโควิด-19 นี้ จีนให้เวชภัณฑ์แก่ต่างประเทศมากมาย ในจำนวนดังกล่าวเป็นยาจีน 2 ตัว ได้แก่ “เหลียนฮวา ชิงเวิน” (连花清瘟) กับ “จินฮวา ชิงก่าน” (金花清感) สูตรยา 2 ตัวดังกล่าว มาจากหนังสือ “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” ของจาง จ้งจิ่ง

ศาลเจ้า“อีเซิ่งฉือ”กับตำนาน“จาง จ้งจิ่ง”(2)

ทุกวันนี้ ชาวหนานยางยังคงรำลึกและสำนึกบุญคุณของจาง จ้งจิ่ง เช่น มีการสร้างโรงพยาบาลจางจ้งจิ่งเมืองหนานหยางในปี 1947 มีการจัดงาน “สัปดาห์วัฒนธรรมจาง จ้งจิ่ง” ครั้งแรกเมืองหนานหยาง ที่ศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ” ระหว่างวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีการประกอบพิธีเซ่นไหว้สุสานจาง จ้งจิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ภายในศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ”ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์รำลึก “จาง จ้งจิ่ง” แพทย์ขั้นเทพ เชิดชูแพทย์แผนจีนเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นถ้วนหน้า และใช้ “แบรนด์เนมจางจ้งจิ่ง” พัฒนาเมืองหนานหยางให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้น

(TIM/LING)

  • เสียงข่าวประจำวัน (19-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (19-04-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (19-04-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (18-04-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (18-04-2567)

何喜玲