สัปดาห์ที่แล้ว ลูกทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์จีน 13 รายขึ้นถึงยอดเขาเอเวอเรสต์ และเสร็จสิ้นภารกิจสำรวจทางวิทยาศาสตร์หลายประการบนยอดเขา นับเป็นครั้งแรกที่การสำรวจทางวิทยาศาสตร์เขาเอเวอเรสต์สูงกว่า 8,000 เมตร ทำสถิติใหม่หลายประการ
ตั้งแต่ทศวรรษ 1950 แห่งศตวรรษที่ 20 จีนได้ดำเนินกิจกรรมสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่เขาเอเวอเรสต์มากกว่า 6 ครั้ง โดยการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่เขาเอเวอเรสต์ครั้งนี้เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งรวมทั้ง 5 ทีมย่อยและ 16 กลุ่มย่อย และมีลูกทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์กว่า 270 รายเข้าร่วม นับเป็นครั้งที่มีการคลอบคลุมสาขามากที่สุด ลูกทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด อุปกรณ์แนวหน้าที่สุดในการสำรวจทางวิทยาศาสตร์เขาเอเวอเรสต์ของจีน
ผลงานสำคัญอย่างหนึ่งในการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ก็คือลูกทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์จีนได้จัดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 8,830 เมตรซึ่งสูงเป็นที่สุดของโลก โดยสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติแห่งนี้สูงกว่าสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่นักวิทยาศาสตร์อังกฤษและสหรัฐฯจัดตั้งที่ลาดเนินทางใต้ของเขาเอเวอเรสต์เมื่อปี 2019 กลายเป็นสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติสูงสุดในโลก เป็นการบ่งบอกว่า ระบบการสังเกตทางอุตุนิยมวิทยาในความสูงที่ต่างกันที่เขาเอเวอเรสต์ก่อตั้งขึ้นแล้ว มีความสำคัญยิ่งต่อการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งและหิมะในที่สูง
ตั้งแต่ปี 2021 จนถึงเวลานี้ ลูกทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์ได้จัดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติในความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่ต่างกันที่ลาดเนินทางเหนือของเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งได้สามารถบันทึกข้อมูลอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม ทิศทางลมและรังสีดวงอาทิตย์ เป็นต้น เป็นสถานีตรวจอากาศอเนกประสงค์ โดยสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติในความสูงเหนือระดับน้ำทะเลที่ต่างกันระหว่าง 5,200 เมตรถึง 8,300 เมตร 7 แห่งได้สร้างแล้วเสร็จและดำเนินการ ส่วนสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติที่ความสูง 8,300 เมตรนับเป็น “จิ๊กซอว์” ชิ้นสุดท้าย
การสำรวจทางวิทยาศาสตร์ที่เขาเอเวอเรสต์เป็นทั้งการสำรวจทางวิทยาศาสตร์และก็เป็นการไต่เขาด้วย ที่ผ่านมาผู้ขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์ส่วนใหญ่จะเป็นนักปีนเขา ดังนั้น การจะขึ้นสู่ยอดเขาสำหรับนักสำรวจทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำส่วนใหญ่คือการสำรวจบนความสูง 5,000-6,000 เมตร แต่ตัวอย่างจากความสูง 8,000 เมตรขึ้นไปน้อยมาก ยังขาดแคลนการสำรวจบนยอดเขาเอเวอเรสต์มากมาย แต่ครั้งนี้ แต่คณะนี้ ผู้ขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์มีทั้งนักปีนเขาที่เชี่ยวชาญและนักสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ให้นักไต่เขาได้รับการฝึกอบรมอาชีพด้านความรู้การสำรวจ ซึ่งบางคนได้รับการฝึกอบรมมากว่า 2 ปี โดยพวกเขาพกพาอุปกรณ์สำรวจทางวิทยาศาสตร์ไปด้วย และพยายามฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ อาทิ ความหนาวเหน็บและระดับออกซิเจนที่เบาบาง จนขึ้นสู่ยอดเขาได้สำเร็จในที่สุด
คราวนี้ยังได้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญด้านรูปแบบการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ เมื่อก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำเรื่องของตนมีความสามารถที่จำกัดในการทำภารกิจ แต่คราวนี้ ได้แสดงบทบาทของนักวิทยาศาสตร์ ทางการท้องถิ่น และทีมไต่เขาทิเบต ร่วมเสร็จสิ้นภารกิจครั้งนี้ โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ ก็มีบทบาทสำคัญต่อระบบการสังเกตและเพิ่มศักยภาพการสังเกตในที่ราบสูงในอนาคตด้วย
การขึ้นถึงยอดเขาครั้งนี้ยังเป็นความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตั้งแต่สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้น จีนได้ดำเนินการสำรวจเขาเอเวอเรสต์มาหลายครั้ง เมื่อแรกเริ่มได้ใช้เข็มทิศเพื่อแยกแยะทิศทาง แต่คราวนี้ได้ใช้อุปกรณ์ระดับแนวหน้ามากมาย อาทิ เรดาร์ความแม่นยำสูง, โดรน, เรือเหาะ ตลอดจนเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น มีจำนวนหนึ่งนำมาใช้เป็นครั้งแรกในการสำรวจเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเบื้องหลังคือความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีนและการยกระดับอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง เรื่องที่น่าพูดอีกคือ ไชน่ามีเดียกรุ๊ปได้ถ่ายทอดสดการสำรวจทางวิทยาศาสตร์ครั้งนี้ด้วยตลอดการเดินทาง จากการครอบคลุมสัญญาณ 5G บนยอดเขาเอเวอเรสต์ ส่งคลิปวีดีโอการขึ้นถึงยอดเขาทุกเวลา และเผยแพร่สู่ทั่วโลก
ผู้เขียนพบว่า วันที่ลูกทีมสำรวจทางวิทยาศาสตร์ขึ้นถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมา พอดีตรงกับวันเยาวชนจีน เขาเอเวอเรสต์มีความสูง แต่การสำรวจไม่มีที่สิ้นสุด จากการวัดความสูงใหม่ของเขาเอเวอเรสต์ตลอดจนการจัดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติสูงสุดในโลก หลังคาโลกเป็นสักขีพยานฝีเท้าการสำรวจอย่างไม่ลดละและการไต่เขาอย่างกล้าหาญของนักวิทยาศาสตร์ และก็เป็นสักขีพยานจิตวิญญาณที่มีชีวิตชีวาของชาวจีนในสมัยใหม่
เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)
(Yim/Cui)