บทวิเคราะห์ : การเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงสะท้อนถึงวิญญาณสิงโตหิน

2022-05-12 20:28:39 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : การเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงสะท้อนถึงวิญญาณสิงโตหิน

วันที่ 8 พฤษภาคม มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ชุดที่ 6 อย่างราบรื่น โดยนายจอห์น ลี คา-จิว ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ชุดที่ 6 ด้วยคะแนนเสียงสูง

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เขตบริหารพิเศษฮ่องกงประสบความท้าทายที่ไม่เคยมีมาก่อน รัฐบาลกลางจีนพิจารณาและคาดการณ์สถานการณ์ ผลักดันให้สถานการณ์ฮ่องกงเปลี่ยนแปลงจากความวุ่นวายสู่ความสงบสุข ในช่วงเวลาครั้งสำคัญนี้ มีการจัดการเลือกตั้งผู้ว่าการด้วยความสำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงข้อได้เปรียบของระบบการเลือกตั้งใหม่ของฮ่องกง ได้เพิ่มความมั่นใจของวงการต่าง ๆ ในสังคมต่อการพัฒนาของฮ่องกงในอนาคต

การเลือกตั้งผู้ว่าการรอบนี้ เป็นการเลือกตั้งสำคัญครั้งที่ 3 หลังจากฮ่องกงปรับปรุงระบบเลือกตั้ง ได้รับความสนใจอย่างสูง นายจอห์น ลี คา-จิวได้ทำหน้าที่ในเขตบริหารพิเศษฮ่องกงมา 40 ปี มีประสบการณ์มากมาย การแบกรับหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกงและระบบการเลือกตั้งใหม่ ความกล้าหาญและความเด็ดเดี่ยวในการรับมือกับการปรับข้อระเบียบนักโทษที่หลบหนี และสถานการณ์โควิด-19 ล้วนได้รับการชื่นชม เมื่อประกาศลงสมัครเป็นผู้ว่าการแล้ว นายจอห์น ลี คา-จิว และคณะแข่งขันการเลือกตั้งเยี่ยมเยียนบุคคลแวดวงต่าง ๆ โดยไม่หยุดหย่อน ดำเนินการติดต่อกันทางอินเทอร์เน็ต เดินทางถึงชุมชนพื้นฐาน รวบรวมประชามติ ประชาสัมพันธ์แนวคิดและหลักนโยบายของเขาให้กับทั้งสังคม ความสามารถและเป็นกันเองของเขาได้รับการประเมินอย่างสูง

นายจอห์น ลี คา-จิว เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1957 ในครอบครัวธรรมดาชาวฮ่องกง ปี 1977 นายจอห์น ลี คา-จิวเข้าร่วมทีมตำรวจฮ่องกงด้วยการเป็นสารวัตรฝึกงาน ในระยะ 30 กว่าปีที่อยู่ในทีมตำรวจนั้น เขาดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง ภายใต้การนำของเขา ตำรวจฮ่องกงเคยดำเนินคดีซึ่งเป็นที่จับตามองหลายคดี ต่อมานายจอห์น ลี คา-จิวดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมรักษาความปลอดภัยและอธิบดีกรมกิจการการเมืองตามลำดับ โดยประสบการณ์ที่ข้ามจากวงการตำรวจสู่การเมืองได้รับความสนใจจากชาวโลก

นักการเมืองและสื่อมวลชนตะวันตกบางแห่งมีการใส่ร้ายป้ายสีการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงค่อนข้างมาก กล่าวหาว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารปกครองฮ่องกง การประณามแบบนี้ไร้สาระโดยไม่มีเหตุมีผล ทำไมเจ้าหน้าที่จากหน่วยรักษาวินัยไม่สามารถเป็นผู้ว่าการ? ก่อนหน้านี้ฮ่องกงเคยมีผู้ว่าการจากวงการธุรกิจและการเมือง ทำไมผู้ที่เคยเป็นตำรวจก็ไม่ได้? จอมพล ดไวต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์เคยเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประธานาธิบดี ชาร์ล อ็องเดร โฌแซ็ฟ มารี เดอ โกลก็เป็นนายพลเหมือกัน ล้วนเกิดจากนายทหาร ก็สามารถเข้าร่วมเรื่องการเมือง การวินิจฉัยของตะวันตกนี้เป็น “สองมาตรฐาน” อย่างเห็นได้ชัด

โดยความจริงแล้ว จำนวนกรรมการคณะกรรมการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงชุดนี้เพิ่มขึ้นจาก 1,200 คนเป็น 1,500 คน แวดวงเพิ่มขึ้นจาก 4 เป็น 5 ซึ่งรวมทั้งองค์การพื้นฐาน คณะท้องถิ่น วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย สมาชิกจากฮ่องกงในคณะทั่วประเทศ เป็นต้น การเมืองมีสีสันมากขึ้น สามารถประกันให้ผู้ว่าการที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นตัวแทนของสังคมอย่างกว้างขวางมากขึ้น ในนามของผลประโยชน์ส่วนรวมของสังคมฮ่องกง ส่วนการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา ก็สร้างสถิติหลายประการ หนึ่งคืออัตราการโหวตสูงถึงร้อยละ 97.94 เป็นจำนวนผู้ลงคะแนนเสียงสูงสุดนับจากฮ่องกงกลับคืนสู่แผ่นดินใหญ่จีน สองคืออัตราการได้รับคะแนนเสียงของนายจอห์น ลี คา-จิวสูงถึงร้อยละ 99.16 สร้างสถิติสูงสุดในการเลือกตั้งผู้ว่าการฯ ทุกชุด

แลนด์มาร์คหนึ่งของฮ่องกงคือ สิงโตหิน (Lion Rock) ที่มีความสูง 495 เมตร ซึ่งตั้งชื่อจากมองจากไกลมีรูปร่างเหมือนสิงโต ส่วนวิญญาณฮ่องกงก็มักจะอุปมาว่าวิญญาณสิงโตหิน ชาวฮ่องกงกล่าวว่า วิญญาณสิงโตหินหมายความว่า ทำงานอย่างจริงจัง พยายามต่อสู้ รับมือกับความท้าทาย ฟันฝ่าอุปสรรค บุกเบิกก้าวไปข้างหน้า ปรับเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น ส่วนการเลือกตั้งผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกงครั้งนี้ได้กระตุ้นความกระตือรือร้นของชาวฮ่องกงให้เป็นตัวของตัวเอง ได้ผนึกกำลังเข้มแข็งที่แสวงหาความมั่นคง และมุ่งการพัฒนา ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์ประชาธิปไตย และก็สะท้อนให้เห็นถึงการปลุกวิญญาณสิงโตหินครั้งใหม่ซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวฮ่องกง

เขียนโดย ชุย อี๋เหมิง ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน (CMG)

(Tim/Cui)

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

崔沂蒙