ทิเบตเผยรายงานการสำรวจทางโบราณคดี

2022-05-19 13:22:36 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

ทิเบตเผยรายงานการสำรวจทางโบราณคดี

ในสายตาของหลาย ๆ คน ทิเบตเป็นดินแดนที่ลี้ลับน่าค้นหา ทุกสิ่งทุกอย่างของที่นี่ล้วนแต่ดึงดูดให้ผู้คนมาค้นหาอย่างไม่หยุดยั้ง ทางการจีนนอกจากจะสำรวจทางวิทยาศาสตร์บนยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ทิเบตแล้ว ยังได้ศึกษาวิจัยทางโบราณคดีใต้พื้นพิภพอีกด้วย และเมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมทิเบตได้จัดงานแบ่งปันข้อมูลขึ้นมา โดยได้ประกาศถึงผลสำเร็จด้านการสำรวจทางโบราณคดี รวม 46 รายการด้วยกัน 

โบราณสถาน “ถ้ำติ่งฉง” ในเมืองชิกาเซอ (Shigatse) หนึ่งในด้านโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 5,000 เมตร เป็นแหล่งโบราณคดี หรือแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ที่อยู่สูงที่สุดในปัจจุบันของจีน และยังเป็นพื้นที่สุสานแบบฝังรวมแห่งหนึ่ง ในถ้ำแห่งนี้ได้ขุดพบกระดูกของมนุษย์และสัตว์ที่มีความหลากหลายมากที่สุดในบรรดาแหล่งโบราณคดีในทิเบต

ทิเบตเผยรายงานการสำรวจทางโบราณคดี

ที่แหล่งโบราณคดี “เหอเถียน” ในเขตหวนหู ได้เริ่มการสำรวจอายุของภาพศิลปะสกัดหินของทิเบตด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก ทำให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของผู้คน ในแถบทะเลสาบพื้นที่สูงเมื่อหลายพันปีก่อน 

ส่วนที่แหล่งโบราณคดีเวินเจียงตัว ในนครลาซา ได้ขุดพบซากอาคารสำคัญในสมัยอาณาจักร “ถู่ปัว” เป็นจำนวนมากเป็นครั้งแรก มีทั้งฐานศิลาจารึกรูปเต่า ศิลาจารึกไร้อักษร เจดีย์ทางพุทธศาสนาและอื่น ๆ มีอายุประมาณ 1,300 ปี 

ทิเบตเผยรายงานการสำรวจทางโบราณคดี

ถู่ปัวเป็นผู้ปกครองกลุ่มแรกในประวัติศาสตร์ของทิเบตที่มีบันทึกทางประวัติศาตร์อย่างชัดเจน การค้นพบเหล่านี้บ่งบอกว่าแหล่งโบราณคดีเวินเจียงตัว เป็นศูนย์กลางการปกครองระดับสูงของอาณาจักรถู่ปัว

สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ยังมีลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากราชวงศ์ถัง สะท้อนให้เห็นว่าชาวปศุสัตว์เร่ร่อนในที่ราบสูงมีศักยภาพในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับพื้นที่ห่างไกลเป็นอย่างมาก และเป็นประจักษ์พยานเชิงประวัติศาสตร์ในด้านการปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนระหว่างชนชาติต่าง ๆ 

  • เสียงข่าวประจำวัน (24-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

晏梓