มาตรการอีกอย่างของ “ยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก” ที่ว่าของสหรัฐฯ กำลังปรากฎขึ้น เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้นำสหรัฐฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการเยือนญี่ปุ่นนั้น ได้ประกาศเริ่ม “กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF)” ซึ่งนอกจากรณรงค์ให้ยกเลิกผูกพันกับจีนในด้านห่วงโซ่อุปทานและยืนยันไม่ลดภาษีเข้าตลาดสหรัฐฯ แล้ว เนื้อหาส่วนใหญ่กลับไม่ได้อธิบายอย่างชัดเจน นักวิจัยระบุว่า ทั้งนี้เป็นเพียงแผนการ “มุ่งผลอย่างเดียวโดยไม่ยอมทุ่มเท” สหรัฐฯ เหลือแค่วางแผนอย่างเดียว
“ลัทธิพหุภาคีปลอม” ดังกล่าวนี้จะนำมาซึ่งการแบ่งแยกและเป็นปฏิปักษ์แก่กันในภูมิภาคเท่านั้น ไม่ใช่เสรีภาพ การเปิดกว้าง หรือ ความเจริญรุ่งเรืองที่สหรัฐฯ เอ่ยถึง สาเหตุที่สหรัฐฯ ไม่ได้อธิบายเนื้อหาโดยละเอียดของ “กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF)” นั้นก็เพราะ สหรัฐฯ ไม่ได้อยากทำการค้าแบบเอื้อประโยชน์แก่กันกับเอเชียตั้งแต่แรก หากมัวแต่วางแผนจัดกลุ่มเพื่อใช้ความได้เปรียบด้านเทคโนโลยี และเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจในการกีดขวางและยับยั้งจีน
ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกหลายแห่งต่างสงสัยว่า “ไม่เข้าใจรูปแบบและบทบาทความร่วมมือ” “สหรัฐฯ หวังเยอะ แต่ลงทุนน้อย” และ “มีปัญหาด้านความยั่งยืน” เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำญี่ปุ่นยอมรับว่า มีรัฐบาลบางประเทศถามว่า “สิ่งที่ให้พวกเราเข้าร่วมนั่นคืออะไร”
Tim/Ldan/Zhou