บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯควรเลิกนิสัยใส่ร้ายจีนตลอด

2022-05-30 11:30:33 | ไชน่ามีเดียกรุ๊ป
Share with:

บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯควรเลิกนิสัยใส่ร้ายจีนตลอด

รัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบันไม่ต่างอะไรจากรัฐบาลสหรัฐฯชุดที่แล้วในการดำเนินนโยบายต่างประเทศต่อจีน  เพียงแต่ว่า รัฐบาลสหรัฐฯชุดปัจจุบันหน้าซื่อใจคดยิ่งกว่ารัฐบาลชุดที่แล้วเสียอีก

บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯควรเลิกนิสัยใส่ร้ายจีนตลอด

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯได้แถลงนโยบายต่างประเทศสหรัฐฯต่อจีน โดยได้ย้ำอีกครั้งถึงสิ่งที่เรียกว่า ทฤษฎีจีนคุกคาม  การแข่งขันที่ต้องมีฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะ และการเมืองระหว่างประเทศลักษณะแบ่งพรรคแบ่งพวก พร้อมทั้งเผยแพร่คำโกหกเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนในจีน  และใส่ร้ายป้ายสีนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศของจีน อย่างไรก็ตาม  นายแอนโทนี บลิงเคนบอกชาวโลกว่า สหรัฐฯไม่ต้องการเห็นเกิดความขัดแย้งหรือสงครามเย็นครั้งใหม่

บทวิเคราะห์ : สหรัฐฯควรเลิกนิสัยใส่ร้ายจีนตลอด

คำพูดดังกล่าวของนายแอนโทนี บลิงเคนช่างเป็นความขัดแย้งนี่กระไร! สำหรับคนทั่วโลก ง่ายมากที่จะเห็นเป้าประสงค์ที่แท้จริงของสหรัฐฯ นั่นก็คือ  พยายามยับยั้งจีน ในขณะเดียวกัน แสร้งทำเป็นว่า ไม่ต้องการ

วิธีการแบบตีสองหน้าดังกล่าวไม่เพียงแต่เผยให้เห็นถึงแนวคิดสงครามเย็นที่ดื้อรั้นของสหรัฐฯเท่านั้น แต่ยังพิสูจน์ให้เห็นถึงนิสัยขี้โกหกของสหรัฐฯอีกด้วย

ตามสภาพความเป็นจริง สหรัฐฯเองที่เป็นผู้ทำลายระเบียบโลกที่มีอยู่ในปัจจุบัน เป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพของโลก และเป็นผู้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศตลอดจนสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง  

ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ทำสงครามในต่างประเทศครั้งแล้วครั้งเล่า  ได้คว่ำบาตรประเทศหรือองค์กรต่างๆตามอำเภอใจ ได้สร้างความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก ตลอดจนได้ละเมิดบรรทัดฐานขั้นพื้นฐานแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกฎบัตรสหประชาชาติ

ช่วงหลายปีมานี้ เมื่อเห็นจีนได้พัฒนาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว สหรัฐฯรู้สึกหวั่นไหวมากขึ้นทุกวัน  แต่ดูเหมือนว่า สหรัฐฯไม่คิดที่จะพัฒนาประเทศตัวเองให้ก้าวหน้าต่อไป  แต่กลับคิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อยับยั้งและโจมตีจีน  เช่น ขึ้นบัญชีดำบริษัทไฮเทคของจีนด้วยข้อหาที่ไม่มีมูล ขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตราสูง  และเข้าแทรกแซงกิจการภายในของจีนในประเด็นปัญหาฮ่องกง ซินเจียง และทิเบต  

สำหรับประเด็นปัญหาไต้หวัน สหรัฐฯได้ละเมิดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับจีนซ้ำแล้วซ้ำเล่า และพยายามทำให้ความสำคัญของหลักการจีนเดียวลดน้อยลง ทำให้สันติภาพและเสถียรภาพในช่องแคบไต้หวันต้องเสี่ยงต่ออันตราย 

ล่าสุด สหรัฐฯได้พยายามสร้างกลุ่มประเทศพันธมิตรต่อต้านจีนในเอเชียแปซิฟิกผ่าน “กรอบเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก” ที่คลุมเครือ ซึ่งเพิ่งประกาศเมื่อเร็วๆนี้  และกลไก“QUAD”

ดังนั้น ถึงแม้นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ อ้างว่าสหรัฐฯไม่ต้องการยับยั้งจีนในการพัฒนาเศรษฐกิจหรือส่งเสริมผลประโยชน์ของประชาชน และไม่คาดหวังที่จะบังคับให้ประเทศอื่นเลือกข้างระหว่างสหรัฐฯกับจีน  แต่ความหมายที่แท้จริงในคำพูดของนายแอนโทนี บลิงเคนกลับเป็นตรงกันข้าม

ขณะนี้ ความสัมพันธ์จีน-สหรัฐฯ กำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญ ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ให้เห็นหลายๆครั้งแล้วว่า จีนและสหรัฐฯทั้งสองฝ่ายจะได้ประโยชน์จากความร่วมมือและประสบความเสียหายจากการเผชิญหน้า  ประสบการณ์ดังกล่าวเหมาะสำหรับประเทศต่างๆ ในทั่วโลกด้วย และในช่วงเวลาที่ประชาคมโลกกำลังต่อสู้กับความท้าทายระดับโลกอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เช่น การเอาชนะการระบาดใหญ่ของโควิด-19 การกระตุ้นเศรษฐกิจโลกที่ตกอยู่ในภาวะซบเซา และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ  ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องยิ่งต้องหันมากระชับความร่วมมือกัน   

ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ สหรัฐฯควรหันมาทำงานร่วมกับจีน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและมั่นคง ซึ่งจะมีการเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และความร่วมมือลักษณะได้ชัยชนะร่วมกัน นี่จึงเป็นแนวทางที่ถูกต้องและมีความรับผิดชอบอย่างแท้จริงในการจัดการกับความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในความสัมพันธ์ทวิภาคีที่สำคัญที่สุดในโลก

(yim/cai)

  • เสียงข่าวประจำวัน (23-11-2567)

  • เกาะกระแสจีน (23-11-2567)

  • เสียงข่าวประจำวัน (22-11-2567)

  • สานสัมพันธ์ไทย-จีน (22-11-2567)

  • เสียงคุยกันวันละประเด็น (22-11-2567)

蔡建新