บทสัมภาษณ์ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
  2010-01-29 12:59:16  cri

ผู้สื่อข่าว:ในที่ประเทศไทย ทางรัฐบาลกับภาคเอกชนมีความสนใจในด้านการใช้สิทธิ FTA อย่างไรบ้าง

ดร นิพนธ์ พัวพงศกร:ยังค่อนข้างตํ่า ที่การใช้สิทธิค่อนข้างตํ่า แต่เราก็จะเห็นว่ารายการคือ การจะใช้สิทธิ FTA ภาษีที่ลดให้มันต้องเยอะ ภาษาไทยเรียกว่าแต้มต่อภาษี แต้มต่อภาษีมันก็จะมากพอสมควร เพราะว่ามีต้นทุนในการที่จะใช้สิทธิ FTA เช่น ต้องมีใบซีโอ แหล่งกําเนิดสินค้า มันมีต้นทุนในการติดต่อ ต้นทุนพวกนี้มีนักเศรษศาสตร์คํานวณเอาไว้ว่าอาจจะสูงถึง 4-5% ของการค้าหลายสตางค์ทีเดียว ทีนี้ถ้าแต้มต่อภาษีมันตํ่ากว่า 5% ก็ไม่ใช้ เพราะฉะนั้นต้องลดภาษีเยอะ ถึงจะเกิดการใช้ ยังมีรายการภาษี รายการอื่นๆ ที่จะต้องลด ที่ทําที่ผ่านมามีแต่ที่ลดภาษีกันเยอะๆ ก็คือภาษีสินค้าวัตถุดิบ เพราะว่าจีนต้องการใช้ สินค้าวัตถุดิบก็เลยลดภาษีลงเยอะ ตรงนี้รายการพวกนี้ก็จะเพิ่มขึ้น เช่นพวกผักผลไม้ พวกมันสําปะหลัง พวกวัตถุดิบทั้งหลาย อันนี้เพิ่มขึ้น เพราะจีนต้องการใช้ ใช้มันสําปะหลัง เช่นมันสําปะหลังจากไทย เพราะว่าจีนเอาข้าวโพดไปผลิตอาหาร แต่ไทยมีมันสําปะหลัง มันสําปะหลังเอาผลิตแอลกอฮอล์ได้ อย่างนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น จีนก็ยอมลดภาษีให้เยอะ แต่ว่าสินค้าอุตสาหกรรมอะไรต่างๆ ผมว่ายังต้องลดภาษีให้เยอะ ให้แต้มต่อเยอะขึ้น ถ้าแต้มต่อเยอะขึ้น การใช้สิทธิ การใช้ซีโอ ก็จะเพิ่มมากขึ้น อันนี้ผมคิดว่ายังเป็นอุปสรรคอยู่ อาเซียนเองตอนต้นก็บอกว่า สินค้าที่ค้าขายกันที่จะได้สิทธิทางด้านภาษีต้องมีมูลค่าภายในอาเซียน 40% แต่ก็พบว่าถ้าใช้กฎอันนี้มันตึงเกินไป ในที่สุดอาเซียนก็ค่อยๆ ลดหย่อน อันนี้ก็ทําให้มีสิทธิได้ หรือว่าใช้กฎที่ว่า ประเทศที่เจริญหน่อยทางด้านอุตสาหกรรมมีต้นทุนสูงแต่ว่ามีความรู้มาก เขาก็จะไปสามารถว่าจ้างประเทศในอาเซียนประเทศอื่นๆ หรือในจีนที่มีต้นทุนตํ่ากว่าให้ผลิต แล้วก็เอาสินค้านั้นมาประกอบเพิ่มขึ้น มันก็นับได้ อย่าลืมว่าลักษณะการค้ามันเป็นอย่างนี้ เราพูดกันว่าจีนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมโลก แล้วอาเซียนผลิตวัตถุดิบ ผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงานจีน เพราะว่าอย่างอื่นๆ ไม่ใช่ บางอย่างไม่ใช่ เช่น hard disk นี้ อาเซียนนําจีน หรือรถยนต์บางชนิด จีนนําอาเซียน และจีนก็ส่งรถยนต์บางประเภทไปขายอาเซียน ของอย่างนี้มันต้องใจกล้าต้องลดภาษีระหว่างกันลง อันนี้มันก็ถึงจะได้เกิด FTA ขึ้นจริงๆ จังๆ

ผู้สื่อข่าว:ส่วนในการใช้เงินดอลล่าร์กับการใช้เงินหยวนในการค้าขายเป็นอย่างไร

ดร นิพนธ์ พัวพงศกร:อันนี้เป็นเรื่องที่คงจะต้องในระดับนโยบาย ผมคิดว่าไม่ใช่เฉพาะอาเซียนกับจีน ผมคิดว่าเป็นปัญหาของเอเชียที่เอเชียมีเงินสํารองเยอะมาก แล้วทุกวันนี้ไปปล่อยกู้ให้กับทางด้านอเมริกา และเสร็จแล้ว สหรัฐอเมริกาผู้กู้เป็นคนกําหนดเงื่อนไขในการกู้ และการค้าของเรา เราก็ค้าขายกันในรูปของดอลล่าร์ทุกอย่าง ในที่สุดแล้ว ผมคิดว่าเมื่อเศรษฐกิจอาเซียนโตขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะพึ่งแต่การค้าดอลล่าร์เพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว มันจะต้องหาเงินสกุลอื่นขึ้นมา หรืออาจจะต้องเป็นเงินอะไรสักอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระดับนี้ ต้องมีการข้อตกลงเรื่องอาเซียนต่างๆ นานา มันมีหลายเงื่อนไขหลายขั้นตอนที่จะต้องค่อยๆ ดําเนินกันออกไป เพราะว่าเงินจีนเองเงินหยวนเองเวลานี้ก็ยังตึงค่าอยู่ เพราะฉะนั้นยังจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง จีนเองยังต้องมีการปฏิรูป มีอีกหลายขั้นตอน

ท่านรองศาสตรจารย์ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ ได้ให้เง่คิดมุมมองที่น่าสนใจอย่างมาก ซึ่งแง่คิดมุมมองเหล่านี้ได้มีการนําเสนอในที่ประชุม เชื่อว่าอุปสรรคต่างๆ คงได้รับการพิจารณาแก้ไข เพื่อให้เขตการค้าเสรีแห่งนี้สามารถอํานวยความสะดวกและสร้างประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และด้านอื่นๆ ที่จะตามมาด้วย


1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040