วันที่ 25 มกราคมนี้ ธนาคารโลกออกรายงานมองอนาคตเศรษฐกิจโลกประจำปี2010โดยคาดการณ์ว่า ปี 2010 เศรษฐกิจโลกจะเติบโตร้อย 2.7 ส่วนเศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 9 นายฮานส์ ทิมเมอร์ผู้อำนวยการฝ่ายคาดการณ์ของธนาคารโลกระบุว่า ปัจจุบัน ประเทศกำลังพัฒนากำลังนำพาเศรษฐกิจโลกก้าวสู่การฟื้นตัว มองการณ์ไกล จำเป็นต้องแก้ไขปัญหาต้นทุนในการให้สินเชื่อสูง นอกจากนี้ ความเสี่ยงของฟองสบู่ด้านสินทรัพย์ยังคงดำรงอยู่ รัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ควรระมัดระวังเรื่อนี้
รายงานของธนาคารโลกระบุว่า เนื่องจากได้ใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวดและความต้องการภายในประเทศคึกคักขึ้น เมื่อปีที่แล้ว ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้นำพาเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว แนวโน้มนี้ยังคงดำรงอยู่ในปีนี้ จีนเป็นพลังขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของภูมิภาคนี้เติบโตขึ้น ธนาคารโลกคาดว่า ปี 2010 เศรษฐกิจจีนจะเติบโตร้อยละ 9 ซึ่งสูงกว่าการคาดหมายเมื่อ 2เดือนก่อนร้อยละ 0.3
นายหัน เหว่ยเซินหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จีนประจำธนาคารโลกกล่าวว่า "แผนกระตุ้นเศรษฐกิจเบ็ดเสร็จที่ใช้ในปัจจุบันเป็นแผนชั่วคราว ย่อมจะยกเลิกใช้ไม่ช้าก็เร็ว ในวันข้างหน้า การสร้างความต้องการภายในประเทศให้คงที่จะทำอย่างไร ทั้งนี้ต้องใช้มาตรการปฏิรูปภายในประเทศ เพื่อประกันความต้องการภายในประเทศให้คงอยู่ เรามองเห็นว่า รัฐบาลจีนใช้มาตรการจำนวนหนึ่ง เช่นปฏิรูปการรักษาพยาบาล ให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ และปฏิรูปสำมะโนประชากร แต่มาตรการเหล่านี้ต้องดำเนินให้ลึกอีก"
รายงานของธนาคารโลกยังระบุว่า ถึงแม้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวในขอบเขตที่กว้างขวาง แต่พลังการฟื้นตัวยังอ่อนแออยู่ ไม่สามารถขจัดความเสียหายที่เกิดจากวิกฤติทั่วโลกเมื่อปี 2009 ได้ นายฮานส์ ทิมเมอร์ผู้อำนวยการฝ่ายการคาดการณ์ธนาคารโลกกล่าวว่า "การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจในระยะกลางและระยะยาวพบว่า วิกฤติครั้งนี้จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจโลก คาดว่า พร้อม ๆ กับระบบการเงินโลกมีการกำกับดูแลที่เข้มแข็งขึ้น นักลงทุนมีความสุขุมรอบคอบมากขึ้น หนี้สินระหว่างรัฐบาลของประเทศที่มีรายได้สูง กล่าวสำหรับประเทศกำลังพัฒนาแล้ว ต้นทุนการกู้สินเชื่ออาจจะสูงกว่าเมื่อก่อน ประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถที่จะเปลี่ยนโครงสร้างตลาดการเงินโลกได้ แต่สามารถใช้มาตรการต่าง ๆ ภายในประเทศของตนเพื่อขจัดผลกระทบจากวิกฤติ"
พร้อมๆ กับเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ราคาสินค้ารายใหญ่ในตลาดระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ดัชนีเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ นายทิมเมอร์ระบุว่า "ด้านนโยบายการเงิน ต้องให้ประเทศต่าง ๆ ประสานงานมากขึ้น นี่คือบทเรียนที่ได้มาจากวิกฤติการเงิน ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเคลือนไหวที่เกี่ยวข้อง เช่น ราคาสินทรัพย์จะก่อให้เกิดฟองสบู่ใหม่หรือไม่ ปัจจุบัน ความเสี่ยงของเงินเฟ้อมีไม่มาก แต่ความเสี่ยงที่จะมีฟองสบู่ใหม่ยังคงมีมาก ปัจจุบัน รัฐบาลจีนกำลังเฝ้าระวังสถานการณ์ของตลาดหุ้นและตลาดอสังหาริมทรัพย์ และปรับปรุงนโยบายที่ละขั้น ๆ ธนาคารกลางของยุโรปก็กำลังติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดเช่นกัน"