ประชาคมโลกติดตามสถานการณ์ของไนเจอร์
  2010-02-22 14:04:31  cri

ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า ประเทศไนเจอร์เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปัจจุบัน สถานการณ์ของไนเจอร์เริ่มคืนสู่ความสงบเรียบร้อยในเบื้องต้น วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ทูตานุทูตจากสหประชาชาติและสหภาพแอฟริกาพากันเดินทางไปยังไนเจอร์เพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยทางการทูต ตรวจเยี่ยมสถานการณ์ของไนเจอร์ และหารือกับทหารที่ก่อรัฐประหาร ก่อนหน้านี้ ผู้แทนจาก 15 ประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจของประเทศแอฟริกาตะวันตกได้ติดต่อกับฝ่ายทหารที่ก่อรัฐประหารของไนเจอร์มาแล้ว และเรียกร้องให้ผู้ที่ก่อรัฐประหารจัดการเลือกตั้งทั่วไปที่เปิดเผยและมีความน่าเชื่อถือ ด้วยแรงกดดันจากประชาคมโลก ผู้ที่ก่อรัฐประหารของไนเจอร์ประกาศว่าจะจัดการเลือกตั้งทั่วไป แต่จะจัดการเลือกตั้งเมื่อไร และทหารจะเข้าร่วมการรณรงค์เลือกตั้งหรือไม่นั้นยังไม่มีรายงาน

เมื่อบ่ายวันที่ 18 กุมภาพันธ์เวลา 13 นาฬิกาตามเวลาท้องถิ่น ไนเจอร์เกิดรัฐประหาร นายตันจา มามาดู ประธานาธิบดีไนเจอร์ถูกลักพาตัวออกจากทำเนียบประธานาธิบดี ค่ำวันเดียวกัน ทหารที่ก่อรัฐประหารประกาศเลิกใช้รัฐธรรมนูญและให้องค์กรต่าง ๆ สลายตัว สหประชาชาติ สหภาพแอฟริกาและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ รวมทั้งฝรั่งเศสและประเทศต่าง ๆ พากันประนามรัฐประหารครั้งนี้ เรียกร้องให้ทหารที่ก่อรัฐประหารฟื้นฟูระเบียบตามรัฐธรรมนูญ และจัดการเลือกตั้งทั่วไปแบบเปิดเผยและมีความโปร่งใสโดยเร็ว เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ฝ่ายค้านของไนเจอร์จัดการชุมนุมนับหลายพันคนหน้าตึกรัฐสภา โห่ร้องสนับสนุนผู้ที่ก่อรัฐประหาร ผู้ชุมนุมมีบุคคลจากฝ่ายค้าน สมาชิกองค์การสิทธิมนุษยชน ตลอดจนสมาชิกหอการค้าของไนเจอร์ พวกเขาแสดงความไม่พอใจที่ประธานาธิบดีตันจา มามาดูครบวาระแล้วปฏิเสธถอนตัวออกจากตำแหน่ง

ขณะที่ติดตามสถานการณ์ของไนเจอร์ ประชาคมโลกยังคงศึกษาสาเหตุของรัฐประหารครั้งนี้ด้วย นักวิเคราะห์เห็นว่า การที่ประธานาธิบดีตันจา มามาดูครบวาระแล้วปฏิเสธออกจากตำแหน่งอาจจะเป็นสาเหตุโดยตรงที่ก่อให้เกิดรัฐประหารครั้งนี้ ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไนเจอร์หยุดชงักเป็นเวลายาวนานอาจเป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งของรัฐประหารครั้งนี้ด้วย ในช่วงที่ประธานาธิบดีตันจา มามาดูบริหารประเทศเป็นเวลายาวนานนั้นไม่ได้พัฒนาสภาพยากจนและล้าหลังของไนเจอร์ สหประชาชาติจัดประเทศไนเจอร์เป็นประเทศหนึ่งที่ด้อยพัฒนาที่สุด เนื่องจากสาธารณูปโภคของไนเจอร์บอบบาง มากและมีหนี้สินหนักอึ้ง เศรษฐกิจของไนเจอร์จึงล้าหลังมาก สถิติล่าสุดพบว่า ทั่วประเทศไนเจอร์มีประชากรร้อยละ 60 อยู่ต่ำกว่าเส้นยากจน รายได้ของประชากรยากจนที่สุดไม่ถึงร้อยละ 3 ของจีดีพีทั้งประเทศ ความยากจนทำให้ ราษฎรมีความต้องการที่จะให้บ้านเมืองดำเนินการพัฒนา

ดร.โอเช โอกาบา ผู้เชี่ยวชาญด้านแอฟริกาตะวันตกจากสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไนจีเรียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอประจำไนจีเรียว่า ถ้าเศรษฐกิจและสังคมของไนเจอร์พัฒนาเป็นอย่างดี และประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข ก็จะไม่เกิดรัฐประหาร เพราะว่าประชาชนไม่อยากทำลายชีวิตอันดีงามของตน ด้วยเหตุนี้ สาเหตุของรัฐประหารไนเจอร์ครั้งนี้ยังคงเป็นปัญหาการพัฒนามากกว่า เนื่องจากประธานาธิบดีตันจา มามาดูไม่ได้นำประเทศไปสู่การพัฒนา ไม่ได้แก้ไขปัญหาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ไม่ได้ตอบสนองความต้องการของประชาชน ประกอบด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญทำให้ความขัดแย้งทางสังคมทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น จนก่อให้เกิดรัฐประหาร

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040