ยึดสุขาชาย (1)
  2012-04-10 16:34:12  cri

เมื่อเร็วๆ นี้ นักศึกษาหญิงจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งในเมืองกว่างโจว กรุงปักกิ่งและเมืองหลันโจว พากันจัดกิจกรรม"ยึดสุขาชาย" ตามห้องน้ำสาธารณะริมถนน โดยให้นักศึกษาหญิงบางคนเฝ้าอยู่หน้าประตูห้องน้ำชาย ไม่ให้ผู้ชายเข้า และเีรียกบรรดาผู้หญิงที่กำลังรอคิวเข้าห้องน้ำหันมาเข้าห้องน้ำชาย ในขณะเดียวกัน นักศึกษาหญิงผู้ร่วมกิจกรรมอีกหลายคนชูป้ายที่เขียนคำอธิบายและแจกใบบลิว เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนเดินผ่านไปมาเข้าใจวัตถุประสงค์ของการกระทำเช่นนี้ เรียกร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสนใจกับปัญหาจำนวนชักโครกหรือโถส้วมในห้องน้ำหญิงกับชายไม่เท่ากัน และผู้หญิงเข้าห้องน้ำสาธารณะรอคิวนานกว่าผู้ชาย

แน่นอน กิจกรรมนี้ไม่ใช่เพื่อยึดห้องน้ำชายจริงๆ แต่เป็นการยึดชั่วคราว รอบละเพียง 3 นาทีเอง และจะพักไว้ 10 นาทีแล้วค่อยเริ่มรอบใหม่ ส่วนผู้ชายที่ถูกกั้นไว้ไม่ให้เข้าหลังจากทราบวัตถุประสงค์ของกิจกรรมแล้ว ต่างแสดงความเข้าใจและบอกว่า "ไม่เป็นไร ผมเข้่าใจ ผมจะรอ ห้องน้ำหญิงคิวยาวจริงๆ"

นางสาวหลี่ ไม่จื่อ ผู้ริเริ่มกิจกรรม"ยึดสุขาชาย"กล่าวว่า เธอร่วมกับนักศึกษาหญิงในเมืองกว่างโจว กรุงปักกิ่งและเมืองหลันโจวจัดกิจกรรมนี้ก็เพื่อให้ผู้ชายตระหนักถึงความเดือนร้อนของผู้หญิงในเรื่องการเข้าห้องน้ำ และหวังว่าหน่วยงานวางแผนสร้างห้อนน้ำสาธารณะและหน่วยงานบริหารที่เกี่ยวข้อง จะปรับมาตรฐานในการออกแบบห้องน้ำสาธารณะ แก้ปัญหาผู้หญิงเข้าห้องน้ำลำบากจากต้นตอ เธอยังกล่าวว่า ในประเทศจีน ปกติห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิงมีการติดตั้งโถส้วมนั่งยองในจำนวนเกือบเท่ากัน แต่ห้องน้ำชายยังมีการติดตั้งโถยืนปัสสาวะในจำนวนที่เท่ากับโถนั่งยองด้วย ซึ่งหมายความว่า ห้องน้ำชายสามารถรองรับคนมากกว่าห้องน้ำหญิงอย่างน้อย 1 เท่า นอกจากนี้ เวลาผู้ญิงเข้าห้องน้ำ ไม่ว่าจะปัสสาวะหรืออุจจาระ ล้วนต้องมีขั้นตอนยุ่งยากกว่า อีกทั้งหญิงชายมีความแตกต่างกันทางสรีระด้วย ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้เวลามากกว่าผู้ชาย 1 เท่า นอกจากนี้ เด็กน้อยมักจะเข้าห้องน้ำกับแม่ จึงทำให้เวลาเข้าห้องน้ำยิ่งนานขึ้น หากผู้หญิงอยู่ในช่วงตั้งครรภ์หรือมีประจำเดือน อาจจะเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น แต่เนื่องจากไม่อยากรอคิว บางคนก็จะกลั้นไว้ เป็นอย่างนี้บ่อยๆ อาจจะทำให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคไตอักเสบกระทั่งไตวาย ความจริงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรฐานของการออกแบบและก่อสร้างห้องน้ำสาธารณะไว้ว่า จำนวนโถส้วมในห้องน้ำชายกับหญิงควรเป็น 1.1 ต่อ 2.3 จึงจะเหมาะสม แต่ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดนี้ ทำให้เวลาผู้หญิงจะเข้าห้องน้ำสาธารณะต้องรอคิวนานเกินไป

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040