เกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์ในครั้งนี้ นายจางหวากล่าวว่า ชาวประมงจีนทำการประมงที่น่านน้ำบริเวณเกาะหวงเหยียนมานานชั่วลูกชั่วหลานตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อเช้าวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ขณะที่เรือประมงจีน 12 ลำกำลังทำกาีรประมงในบริเวณเกาะหวงเหยียนนั้น กูกเรือทหารฟิลิปปินส์ลำหนึ่งก่อกวน หลังเกิดเหตุ ฝ่ายจีนได้ทักท้วงต่อฝ่ายฟิลิปปินส์เกี่ยวกับเรื่องนี้
นายจาง หวากล่าวว่า จีนเ้ห็นว่า ควรรักษาความสงบเรียบร้อยในน่านน้ำบริเวณเกาะหวงเหยียน และการประมงไม่ควรได้รับการก่อกวน จีนกับฟิลิปปินส์เคยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับปัญหาเกาะหวงเหยียน แต่หลังจากผ่านการเจรจามาหลายครั้ง สองฝ่ายตกลงกันว่าจะไม่ใช้ปฏิบัติการใดๆ ที่อาจทำให้สถานการณ์ทวีความสลับซับซ้อนและบานปลาย ภายหลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ฝ่ายจีนได้แลกเปลี่ยนความเห็นกับเจ้าหน้าที่ระดับต่างๆ ของฟิลิปปิน์ รวมทั้งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ด้วย ทั้งที่กรุงปักกิ่งและกรุงมะนิลา สองฝ่ายเห็นด้วยที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงอย่างจริงจัง และพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีทางการทูต
นายจาง หวากล่าวว่า เนื่องจากในสถานที่เกิดเหตุมีทั้งเรือทหาร เรือประมงและเรือราชการ ซึ่งสถานการณ์ค่อนข้างซับซ้อน เพื่อไม่ให้สถานการณ์บานปลาย เรือประมงจีนจึงถอนออกจากบริเวณเกาะหวงเหยียนในวันที่ 13 เมษายน แต่ฝ่ายฟิลิปปินส์ไม่ได้ถอนออกไป จนถึงคืนวันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา นานน้ำดังกล่าวยังคงมีเรือฟิลิปปินส์์ประเภทต่างๆ กว่า 20 ลำ และสิ่งที่คาดคิดไม่ถึงคือ ยังมีเรือสำรวจโบราณวัตถุลำหนึ่งเข้าสู่น่านน้ำนี้เพื่อทำการกู้ซากเรือโบราณที่จมอยู่ใต้น้ำ บนเรือมีเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำของฟิลิปปินส์หลายคนด้วย ทั้งนี้มิเพียงแต่ล่วงล้ำสิทธิประโยชน์ของจีนเท่านั้น หากยังฝ่าฝืนสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้วย การกระทำที่ทำให้สถานการณ์บานปลายดังกล่าว ทำให้จีนรู้สึกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ในบริเวณน่านน้ำเกาะหวงเหยียน
เกี่ยวกับคำถามที่ว่า"ฟิลิปปินส์ระบุว่ามีอธิปไตยเหนือเกาะหวง เหยียน"นายจาง หวาตอบว่า แต่ไหนแต่ไรมา เกาะหวงเหยียนก็เป็นดินแดนของจีน จีนพบเกาะแห่งนี้ก่อนประเทศอื่น และตั้งชื่อว่า"หวงเหยียนเต่า"อีกทั้งได้จัดเข้าในอาณาเขตการปกครองของจีนด้วย ก่อนปี 1997 ฟิลิปปินส์ไม่เคยมีข้อกังขาต่อรัฐบาลจีนเกี่ยวกับอธิปไตย อำนาจการปกครองและสิทธิในการบุกเบิกพัฒนาเกาะหวงเหยียน อีกทั้งระบุมาหลายครั้งว่า เกาะหวงเหยียนอยู่นอกอาณาเขตของฟิลิปปินส์ด้วย