ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวของอาเซียนได้รับการพัฒนาอย่างมาก ทศวรรษที่ 1970-1980 การท่องเที่ยวของประเทศอาเซียนเข้าสู่ช่วงการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราเติบโตที่เร็วกว่าอัตราเติบโตของโลก ปี 2011 รัฐมนตรีกระทรวงท่องเที่ยวของ 10 ประเทศอาเซียนได้ลงนามใน "แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวของอาเซียนปี 2011-2015" ที่กัมพูชา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า การท่องเที่ยวอาเซียนมีความพร้อมแล้ว
ปัจจุบัน แต่ละปีประเทศต่างๆ ในอาเซียนต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศอาเซียนด้วยกันกว่า 40% นักท่องเที่ยว 20% มากจากจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ 10% มาจากประเทศยุโรปและสหรัฐฯ จีนมีประชากรมาก การเปิดตลาดท่องเที่ยวจีนยังมีโอกาสอยู่อีกมาก
กวางสีกับประเทศอาเซียนต่างก็มีทรัพยากรท่องเที่ยวที่อุดมสมบูรณ์ มีเอกลักษณ์ และมีการเกื้อกูลกัน ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกวางสีกับประเทสอาเซียนยังมีศักยภาพอย่างใหญ่หลวง มีอนาคตกว้างไกล
แน่นอน ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกวางสีกับอาเซียนยังคงมีปัญหาอยู่ อย่างเช่น ต้องเปิดด่านชายแดนทุกด้าน ปรับปรุงเส้นทางการท่องเที่ยวให้ดียิ่งขึ้น ปรับปรุงกลไกความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว สิ่งที่จำเป็นต้องกล่าวถึงเป็นพิเศษคือ การท่องเที่ยวในประเทศอาเซียน แม้ว่าเส้นทางท่องเที่ยวพร้อมแล้ว แต่เนื่องจากนโยบายการท่องเที่ยวของจีนประเทสอาเซียนไม่สามารถปฏิบัติตามได้หมด รวมทั้งหน่วยงานท่องเที่ยวของสองฝ่ายขาดการประสานการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ ฉะนั้น จึงมีปัญหาไม่สามารถจัดการท่องเที่ยวได้ตามที่สัญญาไว้ก่อนเดินทาง ซึ่งทำลายผลประโยชน์ของนักท่องเที่ยว ด้วยเหตุนี้ การขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกวางสีกับอาเซียน ยังต้องหน่วยงานท่องเที่ยวระหว่างสองฝ่ายปรับระบบและกลไกที่เกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ การพัฒนาการท่องเที่ยวยังควรเป็นแบบหลากหลาย เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตร การท่องเที่ยวทางบกผสมการท่องเที่ยวทางทะเล
ขณะเดียวกัน ควรขยายเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างกวางสีกับลาว พม่า อินโดนีเซีย และบรูไน ประชาสัมพันธ์ในประเทศเหล่านี้ พร้อมทั้งจัดตั้งสถาบันความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์ ใช้รูปแบบต่างๆ ดึงดูดให้รัฐบาลของประเทศเหล่านี้ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยว
(In/zheng)