ไทยเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนทางการค้าและแหล่งการลงทุนที่สำคัญของเมียนมาร์มาโดยตลอด จนถึงปลายเดือนกรกฎาคมปี 2011 มี 31 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ ได้ลงทุนกว่า 36,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน 12 วงการของเมียนมาร์ ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 2 คิดเป็น 26.53% นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เคยเยือนเมียนมาร์ 2 ครั้ง หลังเข้าดำรงตำแหน่ง ทั้งสองฝ่ายระบุว่าจะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าและความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนบ้านของสองประเทศ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งแรกของเมียนมาร์ ดำเนินการสร้างและบริหารโดยบริษัทไทย
นางอองซาน ซูจี ได้เยือนเขตชุมชนแรงงานชาวเมียนมาร์ที่อยู่รอบบริเวณกรุงเทพฯ ของไทย โดยกล่าวว่า จะพยายามส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของเมียนมาร์ เพื่อให้แรงงานเหล่านี้กลับบ้านในเร็ววัน พร้อมหวังว่า แรงงานชาวเมียนมาจะใช้ความรู้ความสามารถของตนปรับปรุงภาพลักษณ์ของเมียนมาร์ให้ดีขึ้น และพยายามส่งเสริมความเจริญของประเทศด้วย ปัจจุบัน มีแรงงานชาวเมียนมาร์จำนวน 2 ล้านคนทำงานและอาศัยในประเทศไทย ซึ่งเกือบเป็นครึ่งหนึ่งในยอดจำนวนชาวเมียนมาร์ที่อยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันการสร้างสรรค์ทางเศรษฐกิจของเมียนมาร์ และเป็นหนทางสำคัญสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าและการไปมาหาสู่กันของสองประเทศ
นอกจากเยี่ยมแรงงานชาวเมียนมาร์ที่ทำงานในประเทศไทยแล้ว นางอองซาน ซูจี ยังจะไปค่ายผู้ลี้ภัยชาวเมียนมาร์ที่เขตพรมแดนไทย-เมียนมาร์ มีผู้ลี้ภัยลงทะเบียนจำนวนประมาณ 1.5 แสนคนในค่ายลี้ภัย 9 แห่งของไทยที่บริเวณเขตพรมแดนไทย-เมียนมาร์ แต่จำนวนที่แท้จริงอาจมีถึง 2 แสนคน ปัญหาความปลอดภัยตามพรมแดนและปัญหาผู้ลี้ภัยก็เป็นประเด็นสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
Ying/Chu