พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ยกเลิกการเยือนไทย
  2012-06-05 19:02:00  cri
วันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โฆษกทำเนียบนายกรัฐมนตรีไทยประกาศว่าได้รับบันทึกจากรัฐบาลเมียนมาร์ที่ว่า พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ยกเลิกกำหนดการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 4 – 5 มิถุนายนนี้

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศไทยคนหนึ่งกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ พล.อ.เต็ง เส่งยกเลิกการเยือนไทย โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลไทยส่งคำเชิญให้มาร่วมการประชุมเศรษฐกิจโลกว่าด้วยเอเชียตะวันออก พร้อมทั้งเชิญนางอองซาน ซูจีมาเข้าร่วมการประชุมและกล่าวคำปราศรัยด้วย ในครั้งนี้ พล.อ. เต็ง เส่งยกเลิกกำหนดการเข้าร่วมประชุม แต่ก็ยังแสดงว่าจะเยือนไทยในระหว่างวันที่ 4 -5 มิถุนายนนี้

นักวิชาการไทยเห็นว่า การที่พล.อ.เต็ง เส่ง ยกเลิกการเยือนไทยอีกครั้ง คงเนื่องจากสาเหตุที่นางอองซาน ซูจี ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางขณะที่เข้าร่วมการประชุมเวทีเศรษฐกิจว่าด้วยเอเชียตะวันออก และกล่าวคำปราศรัยที่ไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลเมียนมาร์ ซึ่งคำพูดและการเคลื่อนไหวต่างๆ ของนางอองซาน ทำให้รัฐบาลเมียนมาร์เกิดความไม่พอใจอย่างมาก

สื่อมวลชนของไทย อาทิ หนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์ไทยรัฐต่างมีบทวิเคราะห์สรุปว่า การเยือนไทยของนางอองซาน ซูจี ครั้งนี้มีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ ประการที่หนึ่ง นางอองซาน ซูจี เลือกไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีภาพลักษณ์เป็นกลางในเวทีไปมาหาสู่กับภายนอก และคาดว่าคงไม่ทำให้ฝ่ายต่างๆ เกิดความไม่พอใจ ส่วนฟอรั่มเศรษฐกิจโลกก็ทำให้นางมีโอกาสพบปะกับผู้้นำทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ประการที่สอง ไทยมีแรงงานเมียนมาร์ประมาณ 3 ล้านคน ยอดเงินที่แรงงานเหล่านี้ส่งกลับไปเมียนมาร์นั้น คิดเป็น 7 - 8% ของจีดีพีเมียนมาร์ ซึ่งแรงงานเหล่านี้มีความหมายสำคัญยิ่งต่ออนาคตการเมืองของนางอองซาน ซูจี

กำหนดการการเยือนไทยของนางอองซาน ซูจี เป็นการยืนยันบทวิเคราะห์ของสื่อมวลชนไทย ซึ่งระหว่างการเยือนไทยครั้งนี้ นางอองซาน ซูจี ได้ไปเยือนนิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญของไทย และไปเยี่ยมเยียนแรงงานเมียนมาร์ที่ทำงานที่นั่น ขณะพบปะกับบุคคลสำคัญในวงการเมืองไทย นางอองซาน ซูจี มีข้อเสนอให้ฝ่ายไทยปรับปรุงสวัสดิการของแรงงานเมียนมาร์ให้ดีขึ้น ซึ่งทั้งนี้ได้รับความยินดีและสนับสนุนจากแรงงานเหล่านั้น นอกจากนั้น นางอองซาน ซูจี ยังเดินทางไปเยือนค่ายผู้ลี้ภัยที่ตั้งอยู่ชายแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ และแสดงว่าจะพยายามผลักดันกระบวนการปรองดองกันภายในประเทศเมียนมาร์ และแสวงหาความช่วยเหลือจากประชาคมโลก เพื่อให้ผู้ลี้ภัยที่อพยพจากเมียนมาร์เกือบ 30 ปีแล้วได้กลับบ้านเกิดโดยเร็ว

(Ton/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040