ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เตรียมรับมือวิกฤตหนี้ยุโรป
  2012-06-15 13:49:43  cri
ผู้สื่อข่าวซีอาร์ไอรายงานว่า เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนนี้ ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4 ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นไปตามการคาดหมายของการตลาด ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางของประเทศไทยมีมติให้ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3 ส่วนธนาคารกลางอินโดนีเซียก็คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 5.75 ซึ่งล้วนเป็นไปตามการคาดหมายของการตลาด ขณะที่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มาเลเซียก็รักษาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงโดยไม่เปลี่ยนแปลงเช่นกัน พร้อมกันนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงต่อเนื่องกัน 4 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้ชะลอตัวลงถึงเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา

สาเหตุสำคัญที่ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รักษานโยบายการเงินที่ผ่อนปรน ก็เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ในเขตเงินยูโร ซึ่งนับวันรุนแรงขึ้นในระยะหลังๆ นี้ นอกจากนี้ ผลการเลือกตั้งทั่วไปรอบ 2 ของกรีซในวันที่ 17 มิถุนายนนี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินว่า กรีซจะอยู่ในเขตเงินยูโรต่อหรือไม่ ขณะที่สูตรการแก้ไขปัญหาธนาคารสเปนก็อาจจะทำให้ตลาดการเงินและการลงทุนเกิดความปั่นป่วนอย่างกว้างขวาง

รายงานธนาคารโลกฉบับวันที่ 12 มิถุนายนนี้ระบุว่า เมื่อวิกฤตหนี้ยุโรปทวีความร้ายแรงยิ่งขึ้น ประเทศกำลังพัฒนาควรสู้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ทั้งภาวะการขาดแคลนแรงกระตุ้นที่จะเติบโตและ "ช่วงยากลำบาก" เนื่องจากตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกามีอุปสงค์ลดลง และเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตช้าลง ซึ่งเป็นภัยใหญ่ต่อเศรษฐกิจของประเทศภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผู้พึ่งพาการส่งออก ดังนั้น ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในปี 2012 จะปรับลดลงเป็นร้อยละ 5.3 จากร้อยละ 6.1 ในปี 2011

ธนาคารโลกเตือนว่า ประเทศกำลังพัฒนาควรลดหนี้สินระยะสั้นให้น้อยลง ตัดตัวเลขแดงงบประมาณรายจ่าย และหันมาใช้จุดยืนนโยบายการเงินที่มีลักษณะเป็นกลางมากขึ้น เช่นนี้แล้วจึงจะสามารถใช้นโยบายที่เปิดกว้างทันทีในยามจำเป็นได้ ดูจากมติธนาคารกลางของไทยและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็น 2 ชาติใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยึดอัตราดอกเบี้ยตามเดิมไม่เปลี่ยนแปลงนั้น ถือว่า เป็นการสงวนช่องว่างเพื่อใช้นโยบายรับมือกับวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ยอีกขั้น

อย่างไรก็ตาม นายฟั่น ลี่หมิน หัวหน้าฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกของธนาคารเอชเอสบีซีระบุว่า ถึงแม้อุปสงค์ที่ลดน้อยลงในตลาดเขตเงินยูโร รวมถึงการค้าและเงินทุนที่ลดน้อยลง จะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในเอเชียก็ตาม แต่ความร้ายแรงจะน้อยกว่าช่วงเกิดความซบเซาทางเศรษฐกิจโลกปี 2008-2009

(YIM/LING)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040