วันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป แต่เสียงระฆังที่เตือนภัยสงครามยังคงดังขึ้นยาวนาน
  2013-05-09 15:45:37  cri
เมื่อ 68 ปีก่อน ในทวีปต่างๆ ของโลก ประเทศที่ยึดหลักลัทธิฟาสซิสต์ในการปกครองอย่าง เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่นได้ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว และชัยชนะตกเป็นของประเทศฝ่ายสัจธรรม นับแต่นั้นมา วันที่ 8 พฤษภาคมก็เป็นวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรป โดยมีการจัดกิจกรรมประเด็นต่างๆ อาทิ การรำลึกความชัยชนะ การแสดงความไว้อาลัยต่อวีรบุรุษผู้เสียชีวิต ตลอดจนการทบทวนประวัติศาสตร์ เป็นต้น

ประเทศเยอรมนีมีความรับรู้และการทบทวนที่ลึกซึ้งมากต่อประวัติศาสตร์ กระทั่งสามารถปล่อยแรงกดดันทางจิตใจ และเข้าร่วมในกระบวนการเฉลิมฉลองชัยชนะ¬ของสงครามต่อต้านฟาสซิสต์ สาเหตุที่ทำให้ยุโรปจัดกิจกรรมรำลึกสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างต่อเนื่องไม่เคยหยุดคือ เป็นการระลึกความเจ็บปวดและเลยร้ายของสงครามที่มิอาจลืมได้ สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านี้คือ เพื่อเรียกร้องสันติภาพและระเบียบความมั่นคงของโลกที่ได้มายากมากทีเดียว

สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลกระทบต่อประชาชนจำนวนเกือบ 2,000 ล้านคนกว่า 60 ประเทศ มีผู้เสียชีวิตจำนวนมหาศาล พื้นที่อาศัยที่ถูกทำลายเป็นหลายล้านตารางกิโลเมตร หลังการสู้รบอย่างดุเดือดและยาวนาน จึงปรากฏให้เห็นแสงอาทิตย์แห่งชัยชนะ เมื่อสงครามใกล้จะสิ้นสุดลง ประเทศฝ่าย

สัจธรรมได้ออก "แถลงการณ์พอตสดัม" และ "ปฏิญญาไคโร" สหประชาชาติก็จัดตั้งขึ้นหลังสงคราม และได้กำหนดหลักการกฎหมายระหว่างประเทศจำนวนหนึ่ง โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากคือ ใช้ระบบระเบียบควบคุมและรักษาสันติภาพของโลก ไม่ให้โศกนาฎกรรมเกิดขึ้นอีกครั้ง

ภายใต้การควบคุมของระบบ การทบทวนประวัติศาสตร์การรุกรานจึงเป็นท่าทีการเมืองที่ถูกต้องอย่างไม่ต้องสงสัย เมื่อเร็วๆ นี้ นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีกล่าวว่า จะรับผิดชอบอย่างถาวรต่อสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะผู้ที่ประสบความชั่วร้ายจากการสังหารโหดชนเผ่าชาวยิว

เมื่อมีการเปรียบเทียบแล้วจึงรู้ว่า ในขณะที่ประเทศต่างๆ ของยุโรปเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะ แต่ทวีปเอเชียที่อยู่ห่างไป กลับมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่ายขวาในญี่ปุ่นใช้รูปแบบเพื่อปฏิเสธประวัติศาสตร์การรุกราน อาทิ ให้นักการเมืองออกมากล่าวว่า "ยังไม่มีคำตัดสินว่าอะไรคือการรุกราน" เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะท้าทายระบบระเบียบโลกหลังสงคราม

เมื่อเร็วๆ นี้ คำพูดจำนวนหนึ่งของนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทำให้ประเทศเพื่อนบ้าน กระทั่งพันธมิตรของญี่ปุ่นเกิดความกังวลอย่างมาก เพราะว่านายชินโซ อาเบะพยายามจะก่อคลื่นใต้น้ำในปัญหาประวัติศาสตร์และดินแดน นอกจากนั้น สมาชิกคณะรัฐมนตรีตำแหน่งสำคัญหลายคนและสมาชิกรัฐสภา 168 คนทยอยกันไปเข้าไหว้ศาลเจ้ายาซูคูนินั้น เป็นเสมอการปะแป้งตกแต่งหน้าตาให้กับประวัติศาสตร์การรุกราน

การกระทำที่เป็นอันตรายของฝ่ายขวาญี่ปุ่นทำให้ประชาคมโลกเกิดความกังวลอย่า่งยิ่ง หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้ว การสร้างระเบียบโลกที่ยึดหลักสันติภาพและความมั่นคงน้นเป็นการตัดสินใจและความรับรู้ร่วมกันของประเทศต่างๆ การกระทำที่สวนกระแสทางประวัติศาสตร์ย่อมจะประสบความพ่ายแพ้ มีแต่ต้องกลับเนื้อกลับตัวอย่างทันการ ใช้ท่าทีถูกต้องต่อประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่นจึงจะสามารถพ้นออกจากเงามืดในอดีต และเข้าร่วมประชาคมโลกในฐานะที่เป็นประเทศปกติ

(Yim/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040