นายเผิง ชิงหวาระบุเช่นนี้ในพิธีเปิดประชุมระดับสูงภาคเอกชนจีน-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ เมืองหนานหนิง เขตปกครองตนเองชนเผ่าจ้วงกว่างซีของจีน
นายเผิง ชิงหวาระบุว่า กว่างซีมีดินแดนติดกับประเทศเอเชียตะวันออกทั้งขุนเขาและลำน้ำ ภาษาชนเผ่าจ้วงของกว่างซีคล้ายคลึงกับภาษาหลายชนเผ่าของประเทศไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และเมียนมาร์ อีกทั้งมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายกันด้วย "บางกลุ่มยังเป็นสายเลือดเดียวกันและเป็นญาติกัน มีการไปมาหาสู่กันบ่อยมาก และสานสัมพันธ์กันมายาวนาน"
ผู้นำกว่างซีระบุว่า ย้อนไปเมื่อกว่า 2,000 ปีก่อน กว่างซีก็เป็น 1 ในเมืองท่าตาม "เส้นทางสายไหมทางทะเล" โดยพ่อค้าจีนนำส่งผ้าไหม เครื่องเคลือบ และผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากกว่างซีไปยังประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อทำการค้าและผูกมิตรกัน ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์อันดีแห่งการไปมาหาสู่กันภาคเอกชน จนถึงทุกวันนี้ ยังมีชาวจีนเชื้อสายกว่างซีจำนวนกว่า 4,500,000 คนกระจายอยู่ตามทุกประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทำงานอย่างขยันขันแข็งและมีส่วนส่งเสริมการพัฒนาของท้องถิ่นด้วยภูมิปัญญาของตน และอยู่ร่วมกับชนเผ่าท้องถิ่นอย่างปรองดองกัน
ช่วงหลายปีมานี้ กว่างซีมุ่งดำเนินการไปมาหาสู่กันฉันมิตรภาคเอกชนกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทุกๆ ด้าน นายเผิง ชิงหวาระบุว่า กว่างซีเป็นผู้สร้างเวทีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือหลายเวที อาทิ งานแสดงสินค้าจีน-อาเซียน การประชุมสุดยอดว่าด้วยการค้าและการลงทุนจีน-อาเซียน รวมถึงฟอรั่มวัฒนธรรมจีน-อาเซียน ฟอรั่มสตรี ฟอรั่มนักธุรกิจรุ่นใหม่ และศูนย์พัฒนาบุคลากรและอบรมเยาวชนจีน-อาเซียน นอกจากนี้ ยังได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนฉันมิตรภาคเอกชนต่างๆ อาทิ งานกระชับมิตรหมื่นคนเยาวชนจีน-เวียดนาม งานกระชับมิตรชาวพรมแดนจีน-เวียดนาม และการแข่งขันรัลลี่รถยนต์จีน-อาเซียน ทั้งนี้และทั้งนั้นได้ขยายความร่วมมือที่เป็นจริงด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว การศึกษา บุคลากร กิจการกระจายเสียงทางวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนศิลปะวัฒนธรรมให้ลงลึกอีกขั้น
ข่าวระบุว่า การประชุมระดับสูงภาคเอกชนจีน-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลา 2 วัน มีประเด็นหลักว่า "สร้างสรรค์สันติภาพเพื่อส่งเสริมการพัฒนา ความร่วมมือเพื่อได้รับชัยชนะร่วมกัน---เพื่อความใฝ่ฝันและความปรารถนาร่วมกันของประชาชนจีน-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ได้ร่วมหารือเกี่ยวกับแนวทางใหม่ในการระดมประชามติและมาตรการใหม่ในการส่งเสริมความร่วมมืออย่างจริงจัง
(YING/LING)