เด็กที่รับประทานอาหารมากเกินจะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
  2015-02-04 11:02:48  cri
เด็กๆที่เพิ่งรับประทานอาหารได้นั้น ส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรม 2 ประเภท ประเภทหนึ่งคือไม่ชอบทานอาหาร อีกประเภทคือทานอาหารมากจนไม่รู้อิ่ม ในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี จึงมีอาหารมากมายหลายอย่างที่ให้เลือกสรร พอเห็นเด็กไม่ยอมรับประทานอาหารก็เป็นห่วงกลัวว่าเด็กจะขาดสารอาหาร ถ้าเจอเด็กที่ทานเก่งผู้ใหญ่ก็จะดีใจและซื้อของมากมายให้เด็กทานยิ่งขึ้นไปอีก แต่การกระทำเช่นนี้ มักจะมีผลเสียต่อสุขภาพของเด็ก เนื่องจากระบบย่อยอาหารของเด็กยังไม่สมบูรณ์ จึงง่ายที่จะเกิดปัญหาทานแล้วไม่ย่อย จนกระทั่งมีอาการป่วยอีกหลายอย่างตามมา

ไม่มีใครคิดว่า สำหรับเด็กๆ อาการไอ ปอดอักเสบ เป็นไข้ ท้องเสีย ท้องเฟ้อ ขับถ่ายไม่ออก เหงื่อตก ฝ้าลิ้นหนาและเลือดจางจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารมากเกินทั้งสิ้น ทว่านี่เป็นเรื่องจริง เนื่องด้วยอวัยวะของมนุษย์ทุกส่วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หัวใจ ปอด ระบบทางเดินหายใจ กระเพราะอาหาร ม้าม ไต ตับ ถุงน้ำดีและลำไส้ ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกัน ร่างกายของเด็กยังไม่สมบูรณ์ พอรับประทานอาหารมากเกิน จะเป็นภาระหนักต่อกระเพาะอาหารและม้าม หากย่อยอาหารได้ไม่เต็มที่ ก็จะเป็นภาระหนักต่อไปอีกยังลำใส้ และถ้ารับประทานอาหารมากเกินทุกวันๆ ม้ามก็จะยิ่งทำงานหนัก จนอาจเกิดเสมหะจากม้ามที่จะเคลื่อนที่ไปสะสมยังปอด หนักขึ้นก็จะมีอาการไอ ปอดสักเสบหรือระบบทางเดินหายใจมีปัญหา

อีกอย่าง พอรับประทานอาหารมากเกิน เลือดในร่างกายก็ต้องเร่งลำเลียงไปสู่กระเพาะเพื่อทำหน้าที่ย่อยอาหาร ทำให้หัวใจและสมองขาดเลือดและออกซิเจน พอเด็กโตขึ้น ก็จะกลายเป็นคนที่มีภาวะเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนอื่น นอกจากนี้ ยังจะมีอาการที่แสดงออกบริเวณศรีษะด้วย เช่นอาการปวดหัว พอเด็กมีอาการปวดหัวบริเวณหน้าผาก ต้องคิดแล้วว่าช่วงที่ผ่านมา เขารับประทานอาหารมากเกินหรือเปล่า

เป็นที่รู้กันดีว่า สำหรับอาการท้องเสียและท้องเฟ้อแล้ว มักจะเป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กเป็นประจำ เมื่อรับประทานของที่แข็งเกินหรือผลไม้มากเกิน กระเพาะก็จะไม่ทำงาน บางทียังมาพร้อมกับอาเจียนด้วย ฉะนั้น ในปัจจุบัน อย่ากังวลว่าเด็กจะหิว พยายามนึกถึงคำสอนของหมอจีนอยู่เสมอที่บอกว่า "ให้อิ่มแค่ 70% ให้รู้สึกหนาวเย็น 30%" คือ รับประทานอาหารอย่าให้อิ่มมาก ไม่สร้างภาระไปแก่ร่างกายให้หนักจนเกินไป อย่าใส่เสื้อหนาเกิน ให้ร่างกายได้รู้สึกถึงความหนาวเย็นบ้าง กล้ามเนื้อจะได้เคลื่อนไหวทำงานให้ร่างกายแข็งแรง รายงานผลวิจัยการเติบโตของเด็กยังระบุด้วยว่า เด็กต้องมีโอกาสรู้สึกหิว จึงจะมีฮอร์โมนกระตุ้นการเติบโตผลิตออกมา

อย่างไรก็ตาม ขอให้มีความสุขในการรับประทานอาหารและมีสุขภาพดีด้วย

(Toon/Ping)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040