วรรณกรรมของจีนได้รับความนิยมในพม่า
  2015-04-13 15:58:23  cri

หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า ถ้าถามชาวพม่าว่าชอบวรรณกรรมจีนเรื่องอะไรมากที่สุด มักได้คำตอบว่า "ไซอิ๋ว" วรรณกรรมเรื่องนี้เล่าเรื่องพระสงฆ์ราชวงศ์ถังจาริกไปอัญเชิญพระไตรปีฎกจากชมพูทวีป เขียนขึ้นเมื่อสมัยราชวงศ์หมิง เดือนพฤษภาคมเมื่อปีที่แล้ว ลิ่วเสี่ยวหลิงถง นักแสดงที่แสดงบทซุนหงอคงหรือเห้งเจียในละครโทรทัศน์ "ไซอิ๋ว" เมื่อปี 1986 ไปเยือนพม่า ทำให้พม่าเกิดกระแสฮิตไซอิ๋วขึ้น ซุนหงอคง และตือโป๊ยก่ายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในพม่า

การที่ "ไซอิ๋ว" ได้รับความนิยมในพม่าถือเป็นภาพย่อที่แสดงว่าวรรณกรรมของจีนเป็นที่นิยมในพม่า เมื่อศตวรรษที่ 19 ก็มีชาวพม่าแปลวรรณกรรมจีน เช่น เปาบุ้นจิ้นและ เหลียวไจจื้ออี้ หรือนิทานประหลาดในเหลียวไจเป็นภาษาอังกฤษและพิมพ์จำหน่ายในพม่าด้วย เมื่อทศวรรษ 1950 วรรณกรรมของนักเขียนจีน เช่น หลู่สุ้นและเหลาเส่อ ถูกแปลเป็นภาษาพม่าเป็นจำนวนมาก เมื่อย่างเข้าสู่ทศวรรษ 1980 นักแปลพม่าพากันแปลวรรณกรรมโบราณของจีนเป็นภาษาพม่า ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือวรรณกรรมเรื่องความฝันในหอแดง ที่ได้รับความชื่นชมและนิยมจากผู้อ่านพม่าอย่างกว้างขวาง

วรรณกรรมที่มีชื่อเสียงของจีนแพร่หลายในวงบัญญาชน ส่วนนิทานกังฟูจึงได้รับความชื่นชอบจากชาวบ้านพม่า บางคนยังจำได้ว่า สมัยเด็ก เมื่ออ่านนิทานกังฟูของจีนแล้ว เพื่อนๆ จึงพากันไปเข้าป่าไต่เขาเพื่อแสวงหาเทวดาและฝึกกังฟูทุกวัน

ในพม่ามีชาวจีนประมาณ 3 ล้านคน ซึ่งได้แสดงบทบาทสำคัญในการเผยแพร่วรรณกรรมจีน นายหลิว ฮั่นจงเคยแปลกลยุทธ์ซุนจื่อเป็นภาษาพม่า และใช้เงินของตนเองพิมพ์หนังสือกว่า 2,000 เล่ม แจกให้แก่ผู้อ่านชาวพม่า นักเขียนชาวพม่าบางคนเมื่อได้ยินเพื่อนชาวจีนเล่าเรื่องไซอิ๋วแล้ว ได้ทำหนังสือนิทานภาพเรื่องไซอิ๋วตามจินตนาการ ได้รับความนิยมจากเด็กพม่าเป็นอย่างมาก

 

Yim/Lr

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040