เยอรมันและญี่ปุ่นมีท่าทีต่างกันในการย้อนอดีตสงคราม-รำลึก 70 ปีชัยชนะสงครามต่อต้านฟาสซิสต์ของโลก (2)
  2015-07-16 16:21:58  cri

สิ่งที่ตรงกันข้ามกับนโยบายและปฏิบัติการของเยอรมันคือ รัฐบาลนายชินโซ อาเบะของญี่ปุ่นยังคงใช้ท่าทีที่ผิดต่อการก่ออาชญากรรมของตนในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา นายชินโซ อาเบะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นร่วมการอภิปรายในรัฐสภา โดยปฏิเสธไม่ยอมรับข้อสรุปของแถลงการณ์พอทสดัมที่ว่า ญี่ปุ่นก่อสงครามรุกราน

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา นายชินโซ อาเบะและรัฐบาลญี่ปุ่นใช้ท่าทีลืมเลือนต่อปัญหาหญิงบำเรอ การสังหารโหดหนานจิง เป็นต้น พยายามปกปิดประวัติการก่อสงครามของตน ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียและประชาคมโลกเกิดความกังวลอย่างยิ่ง ทั้งยังถูกประณามจากบุคคลวงการต่างๆ ภายในประเทศญี่ปุ่นเองด้วย

เมื่อเร็วๆ นี้ ประชาชนญี่ปุ่นจัดชุมนุมประท้วงขนาดใหญ่หลายครั้ง เพื่อคัดค้านการกระทำที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ของนายชินโซ อาเบะ ช่วงกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา หน่วยงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นพากันออกแถลงการณ์เกี่ยวกับปัญหาสงครามโลกครั้งที่ 2 อาทิ หญิงบำเรอ เรียกร้องนายชินโซ อาเบะหยุดการกระทำที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ นักวิชาการบางคนกล่าวว่า ถ้าหากนักการเมืองและสื่อมวลชนญี่ปุ่นใช้ท่าทีที่ไม่รับผิดชอบต่อปัญหาหญิงบำเรอ ก็เท่ากับเป็นการย่ำยีผู้ประสบเคราะห์ร้ายอีก

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้ประท้วงชุมนุมกันที่หน้าอาคารรัฐสภาญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว วันเดียวกัน ผู้ร่วมชุมนุมจำนวนกว่า 25,000 คนปิดล้อมรัฐสภาญี่ปุ่น คัดค้านรัฐบาลนายชินโซ อาเบะผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการรักษาความมั่นคง เรียกร้องให้รัฐบาลชินโซ อาเบะลาออกทันที

เมื่อเร็วๆ นี้ นายนิยาเกะ คูโอะ (Niiyake Kuo) นายกสมาคมมิตรภาพและสันติภาพคันโต (Kanto) ของญี่ปุ่นกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า นายชินโซ อาเบะเกิดหลังสงครามโลก ไม่เคยพยายามเข้าใจความสูญเสียและความทารุณโหดร้ายของสงคราม ด้านความรู้ทางประวัติศาสตร์ นายชินโซ อาเบะสืบทอดความคิดของกลุ่มขวาจัด ไม่ยอมรับว่าญี่ปุ่นก่อสงครามรุกราน ไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาลทหารนานาชาติตะวันออกไกลต่ออาชญากรรมสงครามญี่ปุ่น

นาย อิวาโมโตะ (Iwamoto) วัย 85 ปี ผู้มีประสบการณ์กับสงครามโลกครั้งที่ 2 กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นใช้นโยบายปรับปรุงแก้ไขตำราเรียน ทำให้คำศัพท์สำคัญ อาทิ สงคราม หายไปจากตำราเรียนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น อันที่จริง เราควรเล่าเรื่องจริงในอดีตต่อคนรุ่นหลัง ตำราเรียนก็ควรระบุอย่างชัดเจนว่า ญี่ปุ่นเคยก่อสงครามรุกรานในอดีต อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นจำเป็นต้องกล่าวขอโทษ

นายฮาชิมูระ ทาเกชิ (Hashimura Takeshi) ชาวญี่ปุ่นวัย 83 ปีกล่าวว่า ญี่ปุ่นควรเลียนแบบเยอรมัน ที่ทบทวนและตรวจสอบประวัติศาสตร์อย่างดี จึงฟื้นฟูความสัมพันธ์ฉันมิตรภาพกับฝรั่งเศสและประเทศเพื่อนบ้าน แต่การกระทำปัจจุบันของรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง

เมื่อเปรียบเทียบท่าทีต่อประวัติศาสตร์สงครามโลกครั้งที่ 2 ของรัฐบาลเยอรมันและญี่ปุ่นแล้วเห็นได้ว่า

ท่าทีของรัฐบาลเยอรมัน หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีหลายสมัยของเยอรมันเป็นตัวแทนประชาชนเยอรมัน กล่าวขอโทษ ทบทวนตรวจสอบและสำนึกผิดต่อสิ่งที่ก่อในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะนาย จอร์จ กอร์ดอน (George Gordon) อดีตนายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ไปทำความเคารพศิลาจารึกอนุสรณ์สถานผู้ประสบเคราะห์ร้ายชาวยิวที่กรุงวอซอร์ของโปแลนด์ เพื่อแสดงขอขมาและไว้อาลัย

แต่ท่าทีของรัฐบาลญี่ปุ่น ภายในประเทศญี่ปุ่น มีกลุ่มอิทธิพลการเมืองที่ไม่ยอมรับสงครามรุกรานมาโดยตลอด โดยเฉพาะช่วงหลังปี 2012 ที่นายชินโซ อาเบะขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอีกครั้ง ได้กล่าวถ้อยคำที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ เชิดชูอาชญากรสงครามอย่างต่อเนื่อง อาทิ "ไม่มีคำจำกัดความการก่อสงคราม" "วิญญาณวีรบุรุษของอาชญากรสงคราม" เป็นต้น

ด้านกฎหมาย ที่ประเทศเยอรมัน มีการประกาศถ้อยคำสนับสนุนนาซีเป็นการกระทำที่ร้ายแรง ซึ่งกฎหมายว่าด้วยการต่อต้านนาซีและอาชญากรรมของเยอรมันมีข้อกำหนดว่า ห้ามใช้รูปแบบใดๆ ในการประชาสัมพันธ์แนวความคิดนาซี ห้ามใช้เครื่องหมายสัญลักณ์นาซีเด็ดขาด

ที่ญี่ปุ่น ปี 1953 รัฐบาลญี่ปุ่นกลับมาใช้กฎหมายว่าด้วยการให้สวัสดิการพิเศษแก่ทหาร โดยให้สวัสดิการเท่าเทียมกันแก่อาชญากรสงครามและผู้ที่ไม่ใช่อาชญากรสงคราม อาชญากรที่เสียชีวิตระหว่างถูกจองจำจะได้รับเกียตริว่า เสียสละเพื่อประเทศชาติ

ด้านการอบรมทางประวัติศาสตร์ หลักสูตรตำราเรียนของรัฐต่างๆ ในเยอรมันมีข้อกำหนดว่า ตำราเรียนประวัติศาสตร์ต้องมีเนื้อหาเกี่ยวกับ "นาซีกับการสังหารโหดฆ่าล้างเผ่าพันธุ์" นอกจากนั้น ต้องมีการจัดเข้าชมสถานที่ซากค่ายชาวยิวและพิพิธภัณฑ์รำลึกสงคราม เป็นต้น

ส่วนญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้สุดลงจนถึงปัจจุบัน ญี่ปุ่นยังคงเน้นความสูญเสียของญี่ปุ่นในสงครามมาโดยตลอด พร้อมทั้งพยายามหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึงการก่อสงครามรุกรานสร้างความเสียหายมหาศาลต่อประเทศเอเชียต่างๆ

ด้านการชดเชยสงคราม ผู้นำรัฐบาลเยอรมันพยายามฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มจากให้การชดเชยด้วยเงินมหาศาลแก่ประเทศและประชาชนผู้ประสบเคราะห์ร้ายของอังกฤษ สหรัฐฯ สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส อิสราเอลและโปแลนด์

แต่สำหรับรัฐบาลญี่ปุ่น ขาดความเคารพและความจริงใจพื้นฐานต่อประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกที่ถูกรุกรานจากญี่ปุ่นอย่างร้ายแรงที่สุด ตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา ศาลหลายแห่งของญี่ปุ่นได้รับคดีฟ้องร้องจากชาวจีนกว่า 30 ราย เพื่อเรียกค่าชดเชยสงครามจากรัฐบาลญี่ปุ่น แต่ผู้ประสบเคราะห์ร้ายในสงครามจากจีนไม่เคยชนะคดีสักครั้ง

ด้านรากฐานทางประวัติศาสตร์ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง เยอรมันได้ปรับเปลี่ยนรัฐบาลและระบอบการเมืองเก่า ได้สะสางอาชญากรรมนาซีเยอรมันอย่างเต็มที่ทุกวิถีทาง จนถึงทุกวันนี้ ยังคงมีปฏิบัติการสืบสวนไล่ล่าอาชญากรนาซีอยู่

แต่ที่ญี่ปุ่น กษัตริย์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ไม่ได้ถูกฟ้องร้อง ผู้บัญชาการทหารตำรวจ (military police) ผู้รับผิดชอบลัทธิชนชาติและนายทุนขุนคลังยักษ์ใหญ่ที่มีส่วนร่วมสนับสนุนการก่อสงครามของญี่ปุ่น ไม่มีใครถูกฟ้องขึ้นศาล กระทั่งก่อนเปิดศาลทหารตะวันออกไกล ทางการญี่ปุ่นได้สั่งเผาทำลายเอกสารที่เป็นหลักฐานเกี่ยวกับระบบหญิงบำเรอและด้านอื่นๆ และอาชญากรสงครามบางคนยังสามารถดำรงตำแหน่งสำคัญในรัฐบาลได้ต่อไป

(In/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040