สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวีจีนรายงานว่า ผู้คนในเอเชียตะวันออก และยุโรปตะวันออกมักจะชอบทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัดจ้าน ส่วนชาวแอฟริกา
เอเชียกลาง และเอเชียตะวันตกจะนิยมรสหวานมากกว่า สถิติปรากฏว่า ความชื่นชอบรสเผ็ดกำลังขยายตัวไปตามพื้นที่ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" และกลายเป็นรสชาติที่นิยมมากที่สุดใน 45 ประเทศเอเชียและยุโรปตะวันออก
ชาวจีนชอบทานอาหารเผ็ดมาก ผลสำรวจระบุว่าอาหารเผ็ดต่างแดนที่ชาวเน็ตจีนชอบมากที่สุดก็คือ "ต้มยำกุ้ง" ที่ทำจากตะไคร้ ข่า มะนาวไทย และพริกชี้หนู ในทางกลับกัน อาหารจีนรสจัดที่โดนใจชาวต่างชาติคือ "ล่าจื่อจีติง" หรือไก่ทอดเผ็ดเสฉวนที่มีรสชาติทั้งเผ็ดและซ่าในเวลาเดียวกัน กล่าวกันว่ามีชาวเน็ตไทยจำนวนถึง 25 ล้านคนตกหลุมรักเมนูนี้ อีกทั้งยังเป็นเมนูทรงโปรดในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีอีกด้วย โดยในงานเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระองค์ยังทรงมีพระราชดำรัสให้พ่อครัวทำอาหารเสฉวนต้อนรับแขกเหรื่อที่เข้าร่วมงาน และเพื่อประกันให้ได้รสชาติดั้งเดิมมากที่สุด วัตถุดิบเครื่องเทศต่าง ๆ กว่า 3,400 กิโลกรัมถูกลำเลียงส่งตรงจากมณฑลเสฉวนของจีนเพื่องานนี้โดยเฉพาะ
ปี 2014 ที่ผ่านมา จีนส่งออกน้ำพริกแห้งชนิดต่างๆ ทั่วประเทศกว่า 8,000 ตันมาไทยตามเส้นทางสายไหมทางทะเล ขณะเดียวกัน
ไทยก็ส่งออกน้ำพริกสด 58 ตันไปสู่แผ่นดินใหญ่จีนผ่านแม่น้ำโขง การแลกเปลี่ยนทางรสชาติได้สร้างเม็ดเงินมหาศาลด้านการค้าผลิตผลการเกษตรระหว่างประเทศในเขต "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง"
นอกจากการไปมาหาสู่ระหว่างจีนกับไทยแล้ว อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่นำเข้าผลิตผลทางการเกษตรจากจีนมากที่สุด ในรอบปีที่ผ่านมา จีนได้ส่งออกกระเทียม 500,000 ตันไปสู่อินโดนีเซียทางอากาศ ส่วนผลิตผลทางการเกษตรที่จีนนำเข้ามา ส่วนใหญ่แล้วก็มาจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย น้ำมันปาล์มจำนวนถึง 6 ล้านตันถูกนำเข้ามาจากมาเลเซีย มากจนกระทั่งทำให้จีนกลายเป็นที่นำเข้าน้ำมันปาล์มเป็นอันดับสองของโลก
Toon/Ldan