อาร์เทมิซินิน ยาเทวดาของจีนในแอฟริกา (1)
  2015-10-20 15:41:24  cri

วันที่ 5 ตุลาคมนี้ สถาบันแคโรลินสกา ประกาศที่กรุงสตอกโฮล์มของสวีเดนว่า นางถู โยวโยว นักวิทยาศาสตร์จีน นายวิลเลียม แคมป์เบลล์ นักวิทยาศาสตร์ไอริช และนายโตชิ โอมูระชาวญี่ปุ่นร่วมคว้ารางวัลโนเบลสาขาการแพทย์และสรีรวิทยา ประจำปี 2015

นางถู โยวโยว นับเป็นนักวิทยาศาสตร์จีนคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลด้านวิทยศาสตร์ ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดสำหรับวงการแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนจีน

คณะกรรมการพิจารณารางวัลโนเบลแถลงว่า ตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา โรคกลุ่มพยาธิเป็นภัยคุกคามมนุษยชาติเสมอมา การค้นพบวิธีการใหม่ในการรักษาโรคกลุ่มพยาธิจากเชื้อปรสิตด้วยยาอาร์เทมิซินิน (Artemisinin) ที่ค้นพบโดยนางถู โยวโยว นักวิทยาศาสตร์จีนนั้นทำให้สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคนี้ได้อย่าง มาก

โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อทั่วโลก แต่ละปีมีผู้ติดเชื้อหลายร้อยล้านคน มีผู้เสียชีวิตนับล้านคน เมื่อทศวรรษปี 1960 เชื้อมาลาเรียเกิดดื้อสารอัลคาลอยด์ในยาควินนินซึ่งเป็นยาประจำที่ใช้ในการรักษาโรคนี้ ทำการรักษาไม่เป็นผล

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคมปี 1967 ผู้นำจีนประธานเหมาเจ๋อตง นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล มีคำสั่งให้เริ่ม "โครงการ 523 " เพื่อวิจัยผลิตยารักษาโรคมาลาเรียชนิดใหม่ที่ให้ผลในการรักษา

สมัยนั้นจีนยังเป็นประเทศยากจนมาก ไม่มีความพร้อมในด้านด้านการวิจัยค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ แต่รัฐบาลจีนก็ได้รวบรวมนักวิจัยวิทยาศาสตร์จำนวนกว่า 500 คนจาก กว่า 60 หน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์ของ 7 มณฑลมาร่วมโครงการนี้

เมื่อปี 1969 ทีมงานของนางถู โยวโยวก็ไดสมัครมาร่วมโครงการนี้เช่นกัน ปี 1971 นางถู โยวโยวได้แนวคิดใหม่จากตาราแพทย์แผนจีน ใช้วิธีใหม่จนได้ส่วนประกอบสำคัญของยา "ชิงเฮาซู่" หรือยาอาร์เทมิซินิน (Artemisinin) ปีถัดมา กลุ่มวิทยาศาสตร์จีนที่ร่วม"โครงการ 523 " ประกาศว่าประสบผลสำเร็จในการวิจัยผลิตยารักษาโรคมาลาเรีย นั่นคือ "ชิงเฮาซู่"

ยา "ชิงเฮาซู่" หรือยาอาร์เทมิซินิน (Artemisinin) ได้ชื่อว่าเป็น "ยาเทวดาจีน" ได้รับผลอย่างมหัศจรรย์ในการต้านทานโรคมาลาเรียทั่วโลก จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2014 องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ยาอาร์เทมิซินินเป็นยาอันดับ 1 ในการรักษาโรคมาลาเรีย สถิติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรากฏว่า การใช้ยาอาร์เทมิซินินรักษาโรคมาลาเรียที่ร้ายแรงนั้นเป็นผล 97% ดังนั้น ปีเดียวกัน องค์การอนามัยโลกจัดซื้อและแจกยาอาร์เทมิซินิน 1 ล้านหลอดในแอฟริกา ซึ่งเป็นเขตที่มีผู้ติดเชื้อโรคมาลาเรียสูงสุดของโลก ขณะเดียวกันจะไม่จัดซื้อยาอย่างอื่นที่มีผลในการรักษาน้อย

โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่เกิดจากยุงกัด มีอาการเด่นชัดคือเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ถ้ารักษาไม่ทัน จะทำลายระบบเส้นเลือดของอวัยวะสำคัญ จนทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ เมื่อปี 2013 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย โดยส่วนใหญ่เป็นเด็กในแอฟริกา

รองศาสตรจารย์เฉิน หมิงฉวนจากโรงพยาบาลหวาซานสังกัดมหาวิทยาลัยฟู่ตั้น เพิ่งกลับประเทศไม่นานหลังเสร็จสิ้นภารกิจในการป้องกันรักษาโรคอีโบลาที่ประเทศเซียร์ราลีโอนในแอฟริกา นอกจากนั้น ยังได้ร่วมงานรักษาโรคมาลาเรียในท้องถิ่นด้วย เขากล่าวว่า อายุเฉลี่ยของชาวเซียร์ราลีโอนมีเพียง 46 ปี สาเหตุสำคัญก็คือเสียชีวิตจากโรคมาลาเรีย ยาอาร์เทมิซินินเป็นยารักษาที่มีผลดีมาก ผมเคยรักษาผู้ป่วยโรคมาลาเรียที่มีอาการหนักมากจนใกล้ถึงขั้นเสียชีวิต แต่หลังจากให้ยาอาร์เทมิซินิน สามารถฆ่าเชื้อโรคอย่างเต็มที่ อาการของผู้ป่วยดีขึ้น และค่อยๆ ฟื้นตัวพ้นขีดอันตราย

"ยาเทวดาของจีน" นำความหวังใหม่ให้กับการป้องกันและรักษาโรคมาลาเรียของโลก องค์การอนามัยโลกระบุว่า ปีหลังๆ นี้ อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมาลาเรียของประเทศแอฟริกาหลายประเทศ อาทิ แทนซาเนีย แซมเบีย เป็นต้น ลดลงอย่างมาก สาเหตุสำคัญก็คือมีการแจกยาอาร์เทมิซินินอย่างกว้างขวาง อย่างเช่นที่ประเทศแซมเบีย มีการใช้มาตรการกำจัดยุงและรักษาโรคด้วยยาอาร์เทมิซินิน ทำให้อัตราการเสียชีวิตของปี 2008 ลดลง 66% เมื่อเทียบกับปี 2000

(In/Lin)

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040