การติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ "ทาด" ที่เกาหลีใต้จะสร้างความวุ่นวายในภูมิภาค
  2016-02-16 16:46:50  People's Daily

หนังสือพิมพ์เหรินหมินรึเป้ารายงานว่า ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯและเกาหลีใต้ร่วมกันประกาศว่า การคุกคามด้วยขีปนาวุธที่เจาะจงต่อเกาหลีเหนือจะเริ่มต้นตั้งแต่สัปดาห์หน้าอย่างเร็วสุด โดยจะเริ่มพิจารณาเกี่ยวกับการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ "ทาด" (THAAD) ที่เกาหลีใต้อย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ท่ามกลางเสียงประท้วงอย่างหนักจากวงการต่างๆ นายหวัง อี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเน้นว่า พวกเราคัดค้านปฏิบัติการของประเทศใดๆ ที่ทำลายสิทธิประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของจีนในปัญหานิวเคลียร์บนคาบสมุทรเกาหลี อดีตผู้แทนพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันของเกาหลีใต้เห็นว่า โครงการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ "ทาด" ของรัฐบาลเกาหลีใต้เป็นปฏิบัติการที่ประมาทและน่าผิดหวัง โดยจะทำให้ความร่วมมือระหว่างประเทศมีความยากลำบากมากขึ้น ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียประเมินว่า จากสถานการณ์ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือที่มีความสลับซับซ้อนอยู่แล้วนั้น ระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ อาจจะก่อให้เกิดการแข่งขันทางยุทโธปกรณ์ในภูมิภาค และเพิ่มความยากลำบากในการแก้ไขปัญหานิวเคลียร์ของคาบสมุทรเกาหลียิ่งขึ้นไปอีก

เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กองบัญชาการกองทัพสหรัฐฯ ประจำเกาหลีใต้ประกาศว่า เพื่อรับมือกับการคุกคามของขีปนาวุธ สหรัฐฯ ตกลงจะติดตั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธ Patriot รุ่น PAC-3 ต่อการนี้ สื่อมวลชนเกาหลีใต้วิเคราะห์ว่า กองทัพสหรัฐฯ ประจำเกาหลีใต้ต้องการแสดงขีดความสามารถในการยับยั้งเกาหลีเหนือและเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันทางอากาศระหว่างการต่อสู้ ซึ่งก่อนหน้านี้ กองทัพสหรัฐฯ ได้จัดส่งเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เรือบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินทิ้งระเบิด และอาวุธอื่นๆ ในคาบสมุทรเกาหลีมาแล้ว นี่จะนับเป็นครั้งแรกที่มีการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ

สื่อมวลชนเกาหลีใต้รายงานอีกว่า การติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธ "ทาด" ที่คาบสมุทรเกาหลีเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์สร้างความสมดุลใหม่ในเอเชียแปซิฟิกของสหรัฐฯ ทว่าการกระทำเช่นนี้กลับจะทำให้ความมั่นคงภายในคาบสมุทรเกาหลีเลวร้ายลงอีก เพราะจะทำลายความสมดุลทางทหารของภูมิภาค สร้างความไม่เชื่อถือกัน และการแข่งขันทางยุทโธปกรณ์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

ด้านสื่อมวลชนรัสเซียรายงานว่า กรุงเปียงยางและกรุงโซลห่างกันเพียง 200 กิโลเมตร ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบป้องกันขีปนาวุธ วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสหรัฐฯ คือ มุ่งขจัดศักยภาพด้านยุทธศาสตร์นิวเคลียร์ของประเทศอื่นๆ เพื่อให้ตนมีความได้เปรียบทางทหารโดยลำพังฝ่ายเดียว ซึ่งนี่จะทำลายความสมดุลในวงการอาวุธนิวเคลียร์ปัจจุบัน และสร้างภัยคุกคามต่อศักยภาพอาวุธนิวเคลียร์ของประเทศอื่นๆ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ การสั่นสะเทือนระบบความมั่นคงระหว่างประเทศในปัจจุบัน

Toon/Ldan

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040