โฮ่วหมู่อู้ติ่ง
  2016-05-04 09:51:39  cri
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจีน

ฐานะในจีน สมบัติล้ำค่าของแผ่นดิน

ฐานะในโลก ภาชนะสัมฤทธิ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ยุคสมัย 1,100-1,400 ปีก่อนคริสตกาล

 

โฮ่วหมู่อู้ติ่ง หรือ "ซือหมู่อู้ติ่ง" เป็นภาชนะสัมฤทธิ์ที่ขุดค้นพบที่เมืองอันหยาง มณฑลเหอหนานเดือนมีนาคมปี 1939 ใช้ประกอบพิธีเซ่นไหว้บูชาพระมารดาของอ๋องจู่เกิงหรือจู่เจี่ย สมัยราชวงศ์ซาง เป็นเครื่องหมายแสดงถึงวัฒนธรรมการใช้สัมฤทธิ์สมัยราชวงศ์ซางและราชวงค์โจว ปัจจุบัน เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจีน

เดือนมีนาคมปี 1939 ขณะที่นายอู๋ ซีเจิง ชาวบ้านหมู่บ้านอู่หยาง เมืองอันหยาง กำลังค้นหาสิ่งของมีค่าในป่า ก็ได้บังเอิญพบเข้ากับของแข็งที่ฝังอยู่ใต้ดินลึกประมาณ 13 เมตร เขาขูดเอาตัวอย่างออกมาและพบว่า เป็นสนิมทองแดง ในคืนนั้น เขาเร่งสมัครพรรคพวกราวสิบกว่าคน เพื่อเริ่มการขูดครั้งใหญ่ ทว่าช่วงเวลานั้น เมืองอันหยางตกอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวญี่ปุ่น พวกเขาจึงจำเป็นต้องอำพรางทางเข้าด้วยดินและไม้ไม่ให้ชาวญี่ปุ่นรู้ คืนถัดมา เขารวมชาวบ้านได้มากขึ้นกว่าเดิม ทุกคนร่วมใจกันขุดค้นเอาสิ่งปริศนาลึกลับนี้ขึ้นจากพื้นดิน จนเข้าวันที่สาม ภาพของโฮ่วหมู่อู้ติ่งก็ได้ปรากฎขึ้นต่อหน้าทุกคนอีกครั้ง

โฮ่วหมู่อู้ติ่งเป็นวัตถุโบราณที่หาได้ยากในโลก เป็นภาชนะสัมฤทธิ์ที่มีขนาดที่ใหญ่สุดและมีน้ำหนักมากที่สุดในโลก มีรูปทรงสี่เหลี่ยม วัดความยาวได้ 112 เซนติเมตร กว้าง 79.2 เซนติเมตร และสูง 133 เซนติเมตร(รวมหูจับ) มีน้ำหนักมากถึง 832.84 กิโลกรัม เป็นภาชนะที่ใหญ่กระทั่งสามารถใช้เป็นที่ใส่อาหารม้า บางคนถึงกับเรียกว่า "หม่าเฉาติ่ง" ภาชนะใบนี้ แกะสลักด้วยลายฟ้าร้อง มังกรและ "เทาเที่ย" (สัตว์ที่เล่ากันว่าชอบกิน") แสดงให้เห็นถึงฝีมือหลอมเหล็กและเครื่องสัมฤทธิ์ที่ยอดเยี่ยมและศิลปะชั้นสูงของจีน

 

นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์จีนที่วิจัยศึกษาต่างยืนยันว่า ตัวอักษรที่แกะสลักข้างในภาชนะด้วยคำว่า "โฮ่วหมู่อู้"(后母戊)นั้น เป็นชื่อพระนามของพระมเหษีอ๋องอู่ติง สมัยราชวงศ์ซาง หลังพระองค์สวรรคตแล้ว จึงมีการหลอมภาชนะใบนี้ขึ้น โดยต้องใช้ส่วนผสมอย่างน้อย 1,000 กิโลกรัม แรงงานช่าง 200-300 คน หลังการตรวจสอบ พบว่า ภาชนะใบนี้ มีส่วนผสมของทองแดง 84.77% สังกะสี 11.64% และตะกั่ว 2.79% สอดคล้องกับข้อมูลที่บันทึกไว้ในหนังสือโบราณว่าด้วยการหลอมเครื่องสัมฤทธิ์

โฮ่วหมู่อู้ติ่ง เป็นตัวแทนเครื่องสัมฤทธิ์ในสมัยราชวงศ์ซาง เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงศักยภาพการพัฒนาเทคนิคหลอมเครื่องสัมฤทธิ์อันปราดเปรื่องของจีน

Toon/Ping

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040