วิธีการพูด"ไม่"กับลูก (1)
  2016-05-26 11:50:27  cri

คุณแม่ที่ฉลาดควรพูด"ไม่"แบบนี้กับลูก

คำพูดที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักพูดกับลูกหลานคืออะไร คำตอบที่ผุดขึ้นในสมองอันดับแรกๆ ของคนส่วนใหญ่น่าจะเป็น"เป็นเด็กดีนะ""รักหนูนะ""คิดถึงนะ"แต่ในความเป็นจริง ถ้าหวนคิดดูให้ดีจะพบว่า ในวันปกติธรรมดาคำพูดที่มักจะพูดติดปากมากที่สุดกับลูกหลาน น่าจะคือ "ไม่"เช่น ขณะที่คุณแม่เห็นลูกกำลังปีนป่ายไต่โต๊ะ ก็มักจะห้ามปรามทันทีว่า "ไม่ได้" ลูกอยากเปิดประตูตู้เย็นก็ "ไม่ได้" ก่อนทานข้าวลูกอยากจะกินขนมปังก็ว่า "ไม่ได้" และเมื่อลูกไม่เชื่อฟังคุณแม่ทั้งหลายก็มักจะตำหนิว่า "ไม่ดี ไม่น่ารัก" ลองนึกดูถ้าเราได้ฟังคำสั่งว่า"ไม่"มากมายขนาดนี้ คงยากที่จะทนไหวเช่นกัน นับประสาอะไรกับเด็ก ที่คงจะอดทนได้ยากยิ่งกว่า ความจริงการห้ามปรามของคุณพ่อคุณแม่ต้องมีวิธีใช้ให้ถูก อย่างเช่น

1. ไม่พูดว่า "ห้ามกินน้ำตาล" หรือ "กินน้ำตาลไม่มีประโยชน์" อะไรทำนองนี้ ควรเปลี่ยนเป็น แม่รู้ว่าลูกชอบกินน้ำตาล แต่กินน้ำตาลมากเกินไปจะไม่ดีต่อฟัน ถ้าฟันเสียจะเจ็บมาก ต้องไปหาหมอรักษา เราเปลี่ยนเป็นกินโยเกิร์ตดีกว่า

ความจริง เด็กๆ ต่างก็ชอบกินขนม โดยเฉพาะอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะจะมีรสชาติหวานอร่อย ซึ่งเด็กๆ มักจะเรียกร้องอยากกินเป็นประจำ ดังนั้น เราจะใช้วิธีอะไรชักชวนให้เด็กกินน้ำตาลและคุกกี้น้อยลง วิธีที่อยากจะแนะนำก็คือ อธิบายถึงผลเสียจากขนมหวานที่มีต่อสุขภาพง่ายๆ แล้วให้ทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพร่างกายให้กับลูกแทน เช่น ทานโยเกิร์ต ผลไม้ หรือมันฝรั่งทอดที่ทำกันทานเอง เป็นต้น

อย่าให้คำสัญญาง่ายๆ กับลูกว่า เมื่อไรถึงจะกินขนมได้ และอย่าให้ขนมเป็นรางวัลกับลูก คุณแม่คุณพ่อควรชี้นำอาหารที่เป็นสุขภาพต่อร่างกายกับลูกอย่างกระตือรือร้น ถ้าพูดอย่างนี้ ลูกจะคิดว่า โอเคไม่มีขนมหวานให้กิน กินโยเกิร์ตแทนก็ได้

2. "ห้ามทิ้งอาหาร" VS "อาหารเป็นของกิน ไม่ใช่ของเหลือทิ้ง"

เด็กๆ มักจะชอบเล่นอาหาร ส่วนใหญ่เพราะว่าเขาไม่หิว ขณะที่เด็กทิ้งอาหารบนพื้น ถ้าปฏิกิริยาของผู้ปกครองเป็นการโกรธหรือตำหนิลูก นอกจากไม่เป็นประโยชน์แล้ว ยังเกิดผลตรงข้ามที่จะทำให้เด็กยิ่งรู้สึกว่า การทิ้งอาหารเป็นเรื่องสนุก เพราะพวกเขาสามารถดึงดูดความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่และ "ควบคุมพวกคุณได้"

ถ้าเจอสภาพเช่นนี้ คุณอาจจะบอกลูกด้วยเสียงเรียบๆ ว่า อาหารเป็นของกินไม่ใช่ของเล่นทิ้งขว้าง ถ้าลูกรู้สึกกินอิ่มแล้ว แม่ก็จะเก็บชุดอาหารนี้ ถ้าลูกยังคงเล่นและทิ้งอาหารต่ออีก คุณก็ควรจะทำตามอย่างที่พูดได้แล้ว คือ เก็บชุดอาหารออกไปทันที ทำซ้ำหลายครั้ง ลูกก็จะเรียนรู้ได้แล้วว่า คุณแม่พูดจริงทำจริง

3. "ตีคนอื่นไม่ได้" vs "เราใช้ปากพูด ไม่ใช้มือตีคน"

สำหรับเด็กที่ชอบตีแกล้งคนอื่น ส่วนใหญ่เกิดเพราะรู้สึกว่าสนุก หรืออาจทำไปเพราะเกิดข้อขัดแย้งกับเพื่อนเล่นด้วยกัน เช่น ต่างก็อยากจะเล่นของเล่นชิ้นเดียวกัน แต่ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีการอย่างไรดี

ถ้าคุณแม่เห็นแล้วตะโกนดุว่า อย่าตีคน หรือบังคับลูกให้กล่าวขอโทษคนที่ถูกตี การกระทำที่ง่ายและไม่ฟังเหตุผลนี้มักไม่เกิดผลดี ซ้ำยังอาจจะทำร้ายจิตใจลูกด้วย

การกระทำที่ถูกคือ หยุดการลงไม้ลงมือของลูกก่อน แล้วบอกด้วยเสียงสงบแต่หนักแน่นว่า การตีคนเป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี คุณแม่รู้ว่าของเล่นของลูกถูกคนอื่นแย่งชิง ทำให้ลูกไม่พอใจ คือพูดเพื่อแสดงให้ลูกเห็นว่า แม่เข้าใจความรู้สึกของลูกในขณะนี้ แต่ขณะที่ลูกไม่พอใจ อาจจะพูดระบายออกมาแทน อย่าใช้การลงไม้ลงมือ วิธีการที่ถูกต้องคือ ให้ลูกกับเพื่อนจับมือคืนดีกัน แล้วถามเพื่อนเล่นของลูกว่า คืนของเล่นให้กับเราได้หรือไม่ หรือเล่นด้วยกันจะสนุกกว่า

Yim/kt

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040