วิธีการพูด"ไม่"กับลูก (2)
  2016-05-26 11:52:06  cri

คุณแม่ที่ฉลาดควรพูด"ไม่"แบบนี้กับลูก

4."อย่าเสียงดัง" vs "เสียงดังคนฟังจะไม่เข้าใจ ใช้เสียงธรรมดาดีกว่า"

บางทีลูกอาจจะยังใช้คำพูดแสดงอารมณ์ได้ไม่ถูกต้องชัดเจน ดังนั้น จึงอาศัยการใช้เสียงดังเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ใหญ่ หวังว่าคุณจะช่วยเหลือเขา แต่ถ้าคุณใช้เสียงดังกว่าดุลูกเพื่อให้เขาเงียบ ไม่เพียงแต่จะทำให้ลูกเสียใจผิดหวัง ซ้ำยังทำให้ลูกไม่กล้าหรืออาจไม่บอกความต้องการของเขากับคุณอีก

การกระทำที่เหมาะสมของคุณคือ ใช้น้ำเสียงอ่อนโยนและเป็นปกติตอบลูกว่า การพูดเสียงดังแบบนี้แม่ไม่เข้าใจ แล้วให้กำลังใจลูกว่า ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดัง ให้ใช้คำพูดง่ายๆ บอกความต้องการหรือความรู้สึกของตน หรือลองช่วยพูดแทนความในใจของลูก อย่างเช่น หนูรู้สึกเบื่อใช่หรือไม่ ต้องการให้แม่ช่วยถืออะไรให้ใช่ไหม เป็นการสอนให้ลูกใช้วิธีการติดต่อที่ถูกต้องอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะมีประโยชน์มากกว่าการดุกลับด้วยเสียงดังเพื่อให้เขานิ่งเงียบ

5."อย่าเล่นมือถือของคุณแม่" vs "คืนมือถือแม่มา แล้วเล่นของเล่นนี้ดีกว่า"

ขณะที่ลูกแย่งชิงมือถือหรือสิ่งของอื่นๆ ของคุณ ถ้าชักชวนลูกให้ส่งคืนเป็นเรื่องยากมาก แต่ถ้าเอาสิ่งของที่สนุกอื่นๆ แลกกับลูก จะง่ายๆ ทันที ถ้าไม่มีสิ่งของที่ดึงดูดเขาในมือ คุณอาจจะทดลองทำเรื่องอะไรด้วยกับลูก

อย่างเช่น ลูกของเพื่อนคิตตี้สนใจที่จะเล่นมือถือมาก เพราะเจ้าอุปกรณ์สี่เหลี่ยมเล็กๆ นี้ส่งเสียงได้ และมีภาพสีสันหลากหลาย เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์มาก แต่ทุกครั้งที่ลูกของเพื่อนคิตตี้เล่นมือถือนานเกินไปแล้ว เพื่อนคิตตี้จะพูดกับลูกเขาว่า คนดีของแม่ คืนมือถือให้แม่ได้ไหมคะ แม่จะอ่านหนังสือให้หนูฟัง ผลปรากฏว่า ลูกเพื่อนคิตตี้วางมือถือทันที แล้วเดินไปหารอฟังคุณแม่อ่านหนังสือให้ฟัง เพื่อนคิตตี้บอกว่า ลูกไม่เพียงแต่รู้สึกว่าแม่แย่งชิงของเล่นของเขา แต่รู้สึกดีใจมากๆ ที่สามารถเล่นกับแม่ เพราะว่า เด็กบริสุทธิ์มาก

ขณะที่คุณผู้ฟังฟังแล้วตัวอย่างดังกล่าว มีความรู้สึกดีๆ ไหมคะ การพูดสอนแบบเดิมๆ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ถ้าลองเปลี่ยนวิธีการเล็กน้อยก็อาจจะได้ผลที่ต่างกันอย่างมากได้

ดังนั้น คุณแม่คุณพ่ออย่าเอาแต่พูดออกคำสั่งว่า "ไม่" "ไม่ได้" "ห้าม..." เท่านั้น ให้ลองใช้เสียงที่นุ่มนวลผ่อนคลาย อธิบายว่าทำไมถึงทำไม่ได้ ขณะเดียวกันบอกเขาว่า อะไรที่ลูกทำได้หรือลูกกับพ่อหรือแม่ควรร่วมกันทำอะไรได้บ้าง

ถ้าลูกยังดื้อดึง ไม่เชื่อฟัง คุณแม่ก็ลองใช้วิธีการ "วงเวียน" คือเบี่ยงเบนหรือกระจายความสนใจของลูก ซึ่งจะทำให้ลูกลืมว่าตัวเองยืนหยัดว่าจะทำอะไรไป

อย่าลืมว่า คำว่า "ไม่" ถ้าสามารถไม่พูดได้ก็ไม่ควรพูด การเติบโตของลูกต้องการการแสวงหาและทดลอง ถ้าพฤติกรรมของลูกไม่ส่งผลกระทบอะไรร้ายแรง ก็ลองตามใจลูกบ้าง อย่างน้อยก็ได้รักษาความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก และรักษาศักดิ์ศรีของคุณพ่อคุณแม่ไว้ได้พร้อมกันด้วย

ในกระบวนการเลี้ยงลูก อาจจะทำให้คุณแม่คุณพ่อรู้สึกกะทันหันว่าตัวเองพูดไม่ดีออกไป กลัวว่าพูดแล้วลูกไม่เชื่อฟังจะทำอย่งไร หรือว่าเผลอพูดผิดออกไปจะส่งผลกระทบทางลบกับลูกแทน ดังนั้น การเลี้ยงลูกจึงเป็นกระบวนการเรียนรู้และ แสวงหาวิธีการติดต่อกับลูกที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นมาโดยตลอด เพราะว่าการเลี้ยงลูกเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ต้องการทั้งไอคิว(ความฉลาดทางปัญญา)และอีคิว(ความฉลาดทางอารมณ์)ควบคู่กัน

ความจริงการพูดกับลูกไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งที่คุณต้องทำคือพยายามอธิบายว่าทำไมไม่ได้ ให้ข้อเสนอแนะว่าสามารถทำอะไรได้ เป็นเพื่อนมิตรของลูก ไม่ใช่เป็นพระเจ้าหรือผู้พิพากษาที่คอยตัดสินว่าห้ามทำอะไร ถ้าคุณผู้ฟังลองทำตามวิธีที่เราแนะนำในรายการวันนี้ เชื่อมั่นว่าคุณก็อาจจะพบว่า ลูกเปลี่ยนเป็นเด็กที่เชื่อฟัง

Yim/kt

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040