10 ข่าวเด่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2016
  2017-01-02 16:46:49  cri

วันที่ 30 ธันวาคม สถานีวิทยุซีอาร์ไอจัดอันดับ 10 ข่าวเด่นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปี 2016 ดังนี้

1. กลุ่มก่อการร้ายโจมตีอินโดนีเซีย

วันที่ 14 มกราคม ใจกลางกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซียเกิดเหตุก่อการร้ายครั้งใหญ่ในรอบ 6 ปี ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 7 ราย บาดเจ็บ 17 ราย ตำรวจอินโดนีเซียประกาศว่าผู้ก่อเหตุเป็นสมาชิกกลุ่มไอซิส ต่อมาวันที่ 10 ธันวาคม ตำรวจอินโดนีเซียได้บุกทำลายแผนก่อการร้ายที่พุ่งเป้าไปที่ทำเนียบประธานาธิบดีด้วยรูปแบบระเบิดแบบพลีชีพ

2. เวียดนามกับลาวเลือกตั้งผู้นำพรรคและรัฐบาลชุดใหม่

วันที่ 28 มกราคม ที่ประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 12 ประกาศคณะทำงานชุดใหม่ นายเหวียน ฝู จ่อง ยังคงนั่งเก้าอี้เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามต่ออีกสมัย ก่อนที่รัฐสภาเวียดนามชุดที่ 14 จะเปิดการประชุมครั้งแรกเลือกผู้นำรัฐบาลชุดใหม่ในเดือนกรกฎาคม ขณะที่วันที่ 22 มกราคม การประชุมสภาผู้แทนพรรคประชาชนปฏิวัติลาวครั้งที่ 10 สิ้นสุดลง นายบุนยัง วอละจิต ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคฯ ต่อมาวันที่ 20 เมษายน ที่ประชุมรัฐสภาชุดที่ 8 ได้เลือกผู้นำรัฐบาลชุดใหม่

3. จัดการประชุมผู้นำว่าด้วยความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงครั้งแรก

วันที่ 23 มีนาคม มีการจัดการประชุมผู้นำว่าด้วยความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงครั้งแรกที่เมืองซานย่า มณฑลไหหลำของจีน นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา นายทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีลาว นายสาย หมอกคำ รองประธานาธิบดีพม่า และนายฟาม บินห์ มินห์ รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ร่วมประชุม ทีประชุมได้กำหนดทิศทางการพัฒนากลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงและเริ่มกลไกความร่วมมืออย่างเป็นทางการ กลไกดังกล่าวนี้จะเน้นการลดช่องว่างระหว่างประเทศในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง เร่งกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนและความเป็นหนึ่งเดียวส่วนภูมิภาค

4.นายโรดริโก ดูเตร์เตชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์

วันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา นายโรดริโก ดูเตร์เตได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เขาเข้าพิธีปฏิญาณตนขึ้นดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พร้อมเริ่มวาระหน้าที่ปธน.นาน 6 ปี สำหรับนโยบายการเมืองทั้งภายในและต่างประเทศ ตลอดจนสไตล์การปฏิบัติงาน นายโรดริโก ดูเตร์เตมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับนายอาคีโน ปธน.ฟิลิปปินส์คนที่แล้ว โดยปธน.คนใหม่ผู้นี้กล่าวหลายครั้งแล้วว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องหยุดพึ่งสหรัฐอเมริกา ยืนหยัดนโยบายการต่างประเทศที่เป็นตัวของตัวเอง และไม่ทำตัวเป็น "ทหารหน้ารถม้า" ของสหรัฐฯ อีกต่อไป

5.สถานการณ์ตึงเครียดในทะเลจีนใต้ผ่อนคลายลง

วันที่ 12 กรกฎาคม ศาลอนุญาโตตุลาการคดีข้อพิพาททะเลหนานไห่(ทะเลจีนใต้)มีผลตัดสินขั้นสุดท้ายตามคำขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ที่นำโดยนายเบนิกโญ อาคีโน รัฐบาลจีนเคยออกคำแถลงอย่างหนักหน่วงมาโดยตลอดว่า ไม่ว่าผลตัดสินคดีของศาลอนุญาโตตุลาการจะเป็นอย่างไร รัฐบาลจีนจะไม่ยอมรับจำและไม่ปฏิบัติตาม ทว่าหลังจากนายดูเตร์เต ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์คนใหม่ ก็ได้แสดงความปรารถนาดีแก่ประเทศจีนอย่างต่อเนื่อง และก็ได้รับเสียงปฏิกิริยาตอบโต้ทางบวกจากฝ่ายจีน โดยในช่วงวันที่ 18 – 21 ตุลาคมที่ผ่านมา นายดูเตร์เตได้นำคณะผู้แทนฟิลิปปินส์เยือนจีนด้วยความสำเร็จ ความสัมพันธ์จีน-ฟิลิปปินส์จึงฟื้นฟูเป็นปกติ นอกจากนี้แล้ว วันที่ 25 กรกฎาคม "แถลงการณ์ร่วมเพื่อปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน-อาเซียน" ยังได้รับการลงมติผ่านที่กรุงเวียงจันทน์ ลุถึงวันที่ 7 กันยายน การประชุมผู้นำจีน-อาเซียนครั้งที่ 19 และการประชุมสุดยอดเพื่อรำลึกครบ 25 ปีความสัมพันธ์คู่เจรจากันจีน-อาเซียนยังมีการประกาศแถลงการณ์ร่วม โดยจีนกับบรรดาประเทศอาเซียนต่างให้คำมั่นสัญญาจะปฏิบัติตามปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้อย่างรอบด้าน และจะพยายามผลักดันให้ทุกฝ่ายบรรลุ "หลักเกณฑ์ว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้" บนพื้นฐานแห่งการเจรจาให้ได้ในเร็ววัน

6.พม่าจัดประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 ครั้งแรก

ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคมจนถึงวันที่ 3 กันยายน พม่าได้จัดการประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21เพื่อบรรลุสันติภาพภายในประเทศที่กรุงเนปีดอร์ เมืองหลวง ผู้แทนรัฐบาล กองทัพ กลุ่มติดอาวุธชนชาติส่วนน้อย รัฐสภาและพรรคการเมืองต่างๆ จำนวน 1,600 คนร่วมประชุม นับเป็นการจัดประชุมสันติภาพครั้งแรกหลังจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยที่มีนางอองซานซูจีเป็นแกนนำ เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า กระบวนการสันติภาพของพม่าย่างเข้าสู่ช่วงใหม่ในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากกองทัพรัฐบาลพม่ายังคงใช้มาตรการกดดันทางการเมืองระดับสูงต่อกลุ่มติดอาวุธชนชาติส่วนน้อยทางภาคเหนือ กลุ่มติดอาวุธหลายกลุ่มในรัฐกะฉิ่น ตะอาง โกก้างฯ จึงได้ก่อการโจมตีฐานประจำของกองทัพรัฐบาลพม่าหลายแห่งพร้อมกันในวันที่ 20 พฤศจิกายน ทำให้กระบวนการสันติภาพในภาคเหนือพม่าเกิดความผันผวนใหม่

7.ผู้นำอาเซียนเริ่มปฏิบัติตามแผนประชามคมอาเซียน 2025

ระหว่างวันที่ 6 – 7 กันยายน กาประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 28 และครั้งที่ 29 จัดขึ้นที่กรุงเวียงจันทน์ เมืองหลวงของลาวซึ่งเป็นประเทศประธานหมุนเวียนของอาเซียน นับเป็นการประชุมที่เป็นทางการครั้งแรกของบรรดาผู้นำประเทศอาเซียนหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2015 ที่ประชุมได้ดำเนินการอภิปรายอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม "ความปรารถนาร่วมของประชาคมอาเซียนปี 2025" และการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับภายนอก ทั้งยังได้ร่วมกันลงมติผ่าน "แผนภาพร่วมว่าด้วยการเชื่อมต่อกันและกันอาเซียนปี 2025" และ "แผนปฏิบัติงานเพื่อกระบวนการเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียนฉบับที่ 3"

8.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต

วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคต สิริพระชนมพรรษา 89 พรรษา พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เสวยราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ประชาชนไทยต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ในอดีต พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงยุติสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ และนำสันติสุขคืนสู่สังคมไทยหลายต่อหลายครั้งวันที่ 1 ธันวาคม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในฐานะพระโอรถเพียงพระองค์เดียว ทรงตอบรับเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 10 ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทยได้รับการลงประชามติผ่าน ซึ่งเนื้อหาสำคัญที่สุดคือ เปลี่ยนแปลงระบบการเลือกตั้งทั่วไปที่ประชาชนที่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้งสามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งหนึ่งเสียงนั้น ให้เป็นระบบการเลือกตั้งที่ดำเนินการคุ้มหางโดยฝ่ายทหารและกลุ่มอภิสิทธิ์ชน ทั้งยังได้สร้างเงื่อนไขสำหรับการให้ทหารดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ต่อไป

9. อนาคต TPP ต่อ 4 ประเทศอาเซียนยังคงไม่แน่นอน

วันที่ 21 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระบุจะประกาศแถลงการณ์ถอนตัวออกจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก(ทีพีพี) ซึ่งทำให้อนาคตของทีพีพีมีความไม่แน่นอน ความตกลงทีพีพีที่มีรัฐบาลโอบามาเป็นแกนนำได้ใช้เวลากว่า 5 ปี 12 ประเทศซึ่งรวมทั้งสิงคโปร์ บรูไน มาเลเซียและเวียดนามได้ลงนามเมื่อเดือนตุลาคมปี 2015 ซึ่งขณะเดียวกัน การเจรจาเกี่ยวกับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ที่มีอาเซียนเป็นแกนนำได้รักษาแนวโน้มที่ดี วันที่ 6-10 ธันวาคมปี 2016 การเจรจา RCEP ครั้งที่ 16 จัดขึ้นที่อินโดนีเซีย ผู้แทนจากหุ้นส่วนเขตการค้าเสรี 6 ประเทศอันได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และอินเดีย และ 10 ประเทศอาเซียนเห็นพ้องต้องกันว่าจะเสร็จสิ้นการเจรจาในปี 2017

10.มาเลย์-สิงคโปร์ลงนามข้อตกลงทวิภาคีเชื่อมเส้นทางรถไฟความเร็วสูง

วันที่ 13 ธันวาคม รัฐบาลมาเลเซียกับสิงคโปร์ได้ลงนามข้อตกลงทวิภาคีเชื่อมเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สองฝ่ายตกลงกันว่าจะเริ่มดำเนินงานรับเหมาโครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอย่างเป็นทางการในปี 2017 ทางรถไฟความเร็วสูงมาเลเซีย-สิงคโปร์เชื่อมสิงคโปร์กับกรุงกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงของมาเลเซีย มีระยะทางยาวประมาณ 350 กิโลเมตร ความเร็วต่อชั่วโมงสูงสุดมากกว่า 300 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบมากกว่า 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจะแล้วเสร็จก่อนปี 2026 ถึงเวลานั้นจะร่นเวลาเดินทางจากสิงคโปร์ไปกรุงกัวลาลัมเปอร์จาก 4-5 ชั่วโมงในปัจจุบันเหลือเพียง 90 นาที

ผลการคัดเลือกข่าว 10 อันดับในข้างต้นจะประกาศให้สื่อมวลชนของประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รับทราบพร้อมกัน

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040