กรุงปักกิ่งควรควบคุมจำนวนประชากรหรือไม่?(2)
  2017-01-11 12:04:45  cri

เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลก การใช้ทรัพยากรน้ำของกรุงปักกิ่งนับว่ามีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงแล้ว แม้อาจจะปรับให้สูงขึ้นอีกก็ได้ แต่มีช่องว่างไม่มากแล้ว ขณะเดียวกัน ผู้อยู่อาศัยที่กรุงปักกิ่งยังมีความต้องการที่จะยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้สูงขึ้นอีก ปักกิ่งจึงยากที่จะรองรับประชากรอีกจำนวนมาก ศาสตราจารย์หยาง คายจงเห็นว่า ถึงปี 2020 หรือต่อไปในระยะยาว กรุงปักกิ่งควรจะควบคุมจำนวนประชากรให้ไม่เกิน 23 ล้านคนตามแผนพัฒนาของเทศบาล

แต่อย่างไรก็ตาม มักจะมีเสียงคัดค้านว่า การควบคุมจำนวนประชากรจะไม่ได้ผลใดๆ เพราะรัฐบาลประกาศใช้มาตรการต่างๆอย่างต่อเนื่อง แต่ประชากรไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

เมื่อปี 1983 คณะรัฐมนตรีจีนอนุมัติแผนแม่บทว่าด้วยการสร้างสรรค์กรุงปักกิ่ง โดยเรียกร้องว่า ถึงปี 2000 ต้องควบคุมจำนวนประชากรที่กรุงปักกิ่งไม่ให้เกิน 10 ล้านคน แต่เวลาผ่านไปแค่ 3 ปี คือ ปี 1986 ประชากรที่กรุงปักกิ่งก็เพิ่มถึง 10 ล้านแล้ว

เมื่อปี 1993 มีการกำหนดแผนแม่บทพัฒนากรุงปักกิ่งปี 1991-2010 โดยเรียกร้องว่า ถึงปี 2010 ต้องควบคุมจำนวนประชากรประจำกรุงปักกิ่งไม่ให้เกิน 13 ล้านคน แต่ถึง 2000 ประชากรประจำกรุงปักกิ่งก็เพิ่มถึง 13,820,000 คน ซึ่งก่อนกำหนด 10 ปี

ปี 2005 คณะรัฐมนตรีจีนอนุมัติแผนแม่บทพัฒนากรุงปักกิ่งปี 2004-2020 โดยระบุอย่างชัดเจนว่า ถึงปี 2020 ควรควบคุมประชากรที่กรุงปักกิ่งให้ไม่เกิน 18 ล้านคน แต่ถึงสิ้นปี 2009 ประชากรประจำเมืองปักกิ่งมีถึง 19,720,000 คน มีประชากรเคลื่อนที่จำนวน 7,638,000 คน สถิติยังระบุว่า ถึงสิ้นปี 2014 จำนวนประชากรประจำกรุงปักกิ่งเพิ่มถึง 21,516,000 คน ถึงสิ้นปี 2015 มีถึง 21,705,000 คน จนถูกแซวว่า ยิ่งควบคุม ยิ่งเพิ่มขึ้น

หลังจากแผนควบคุมจำนวนประชากรประสบความล้มเหลวหลายต่อหลายครั้ง ปี2016 กรุงปักกิ่งตั้งเป้าควบคุมอีกครั้ง โดยเรียกร้องว่า ในช่วง 5 ปีข้างหน้า จะควบคุมจำนวนประชากรประจำกรุงปักกิ่งให้ไม่เกิน 23 ล้านคน แต่เนื่องจากเป้าหมายในอดีตไม่เคยบรรลุเป็นจริง ผู้คนจำนวนไม่น้อยจึงเห็นว่า มาตรการควบคุมไม่มีประโยชน์ใดๆ

แต่ศาสตราจารย์หยาง คายจงก็ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นดังกล่าว โดยชี้ให้เห็นว่า การเติบโตของจำนวนประชากรในเมืองต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การคมนาคม ที่ดิน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว กลไกตลาดมีบทบาทนำในกระบวนการเติบโตของประชากร แต่ก็ไม่อาจมองข้ามได้ว่า แม้เป็นประเทศเศรษฐกิจการตลาดที่มีเสรีมากที่สุดในโลก การอาศัยบทบาทของกลไกตลาดอย่างเดียวก็ยากที่ให้ประชากรกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆอย่างเหมาะสมทั้งหมด ทว่าต้องมีการควบคุมโดยรวมของรัฐบาลด้วย จึงจะบรรลุการเติบโตของประชากรอย่างสมเหตุสมผลได้

ทั้งนี้ไม่ใช่ปัญหาของประเทศจีนเพียงประเทศเดียว ประเทศต่างๆทั่วโลกเกือบทุกประเทศต่างมีมาตรการการควบคุมการเติบโตของประชากร อาทิ วิธีการสำคัญในการควบคุมจำนวนประชากรของสหรัฐฯคือ จำกัดการจัดสรรที่ดินในระยะหนึ่ง การจัดสรรที่ดินมากหรือน้อยนั้น จะมีอิทธิพลต่อราคาที่ดินและราคาบ้าน ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อแรงดึงดูดประชากรของเมืองนี้ในระยะเดียวกัน เพื่อควบคุมและชี้นำการย้ายเข้าและย้ายออกของประชากร ประสบการณ์ของสหรัฐฯแสดงให้เห็นว่า ตลาดก็ทำผิดได้บ้าง มาตรการการควบคุมจากรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่อาจขาดได้

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040