ปีใหม่แล้ว ได้ตั้งเป้าหมายใหม่หรือยัง (๓)
  2017-02-22 14:15:52  cri

จริงๆ แล้ว แผนปีใหม่กับเป้าหมายอื่นๆ ในวันธรรมดาไม่ต่างกัน หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามคาดก็เป็นเรื่องปกติ ในจำนวนนี้ 35% เพราะไม่รู้จักการตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม และไม่ทราบวิธีการปฏิบัติ พวกเขาตั้งเป้าหมายสูงเกินไป จึงไม่อาจทำได้ 33% ไม่ได้ยืนหยัดทำ ส่วนเกือบ 25% ลืมเป้าหมายโดยเร็ว และอีก 10% ตั้งเป้าหมายมากเกินไป ทำให้แม้ว่ามีความมั่นใจมากในต้นปี แต่สุดท้ายไม่สามารถยืนหยัดถึงปลายปี

ตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้แสดงว่า เราไม่ควรตั้งเป้าหมายและแผนปีใหม่ ผู้เชี่ยวชาญทางสังคมและจิตวิทยาได้ให้ข้อเสนอกับคนที่ตั้งใจจะกำหนดแผนปีใหม่ ช่วยให้ผู้คนตั้งเป้าหมายที่เหมาะสมและบรรลุให้ได้

1. หลักการอันดับหนึ่งคือ ตั้งเพียงเป้าหมายเดียว

การกำหนดแผนง่ายมาก แต่การปฏิบัติตามตลอดทั้งปีเป็นการท้าทาย ความเคยชินเก่าของตนไม่สามารถเปลี่ยนอย่างง่ายๆ ซึ่งต้องท้าทายทั้งจิตใจ ร่างกาย ความสามารถ อารมณ์และความมุ่งมั่น เป็นต้น ถ้าตั้งหลายเป้าหมาย เมื่อมีอันเดียวไม่สามารถทำได้ ก็อาจจะทำให้ผิดหวังและละทิ้งเป้าหมายอื่นๆ ไปหมด ดังนั้น เมื่อตั้งเป้าหมายปีใหม่ อย่ามักมาก ตั้งเพียงเป้าหมายเดียวก็พอ และสร้างความมั่นใจในตัวอย่างเรื่อยๆ

2. ตั้งเป้าหมายที่เปลี่ยนแปลงตนเองได้ สาเหตุที่กำหนดแผนปีใหม่ ก็เพราะเราไม่อยากให้ชีวิตของตนย่ำอยู่กับที่เหมือนเดิมตลอด อยากมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ ความรู้ หรือความสามารถ

3. ปฏิบัติตามหลักการ SMART

หลักการ SMART เป็นคำย่อจากคำภาษาอังกฤษ 5 คำ ได้แก่ Specific Measurable Attainable Result-based Time-based

๑. Specific หมายถึง ความละเอียด

อย่างเช่น อย่าตั้งเป้าหมายให้ทำการกุศลมากขึ้น แต่เปลี่ยนเป็นอาสาไปทำงานที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเดือนละหนึ่งครั้ง หรือบางคนอยากลดความอ้วน ก็ต้องตั้งเป้าหมายให้ละเอียด อย่างเช่น ลดน้ำหนักสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม จึงจะช่วยเพิ่มอัตราการบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น

๒. Measurable หมายถึง สามารถคิดปริมาณได้

ควรตั้งเป้าหมายที่สามารถคิดปริมาณได้ อย่างเช่น อย่าตั้งเป้าหมายว่า พยายามได้ความรู้มากขึ้น ซึ่งไม่สามารถคิดปริมาณได้ ควรเปลี่ยนเป็น อ่านหนังสือ 5 เล่ม หรือท่องคำภาษาอังกฤษ 200 คำ เป็นต้น

๓. Attainable หมายถึง สามารถทำได้

ข้อนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ผู้คนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ นักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่า มนุษย์มีนิสัยมักมาก ชอบตั้งเป้าหมายเกินจริงกับตนเอง ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นกลไกปล่อยตามใจตน ผู้คนจะได้รับความพอใจและความสุขจากการกำหนดแผนอย่างนี้ แต่ไม่ได้คิดว่าจะสามารถบรรลุได้หรือไม่

อย่างเช่น ถ้าตั้งเป้าหมายว่า ในปีใหม่จะหาเงินให้ได้ 100 ล้านหยวน จะเป็นเป้าหมายที่ไม่เหมาะสม เพราะไม่อาจทำได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นได้เงิน 20,000 หยวนมากกว่าปีที่ผ่านมา ก็อาจจะทำได้ หรือต้องวิ่งทุกวัน ไม่กินอาหารขยะตลอดไป แม้ว่าดูเหมือนเป็นเป้าหมายที่ดี แต่ไม่ใช่เป้าหมายที่เหมาะสม เพราะมีเพียงคนที่มีความมุ่งมั่นและความอดทนมากจึงจะทำได้ เพราะฉะนั้น ในแผนของตน อย่าใช้คำว่า "ทุกวัน" หรือ "ตลอดไป"

๔. Result-based หมายความว่า ไม่เพียงให้ความสำคัญกับกระบวนการ

แต่ต้องให้ความสำคัญกับผลสุดท้ายด้วย อย่างเช่น ลดความอ้วนเดือนละ 1 กิโลกรัม แต่ไม่ใช่ไม่กินอาหารเช้าทุกวัน หรือ ยกระดับผลการสอบภาษาอังกฤษให้ขึ้นอีก 20 คะแนน แต่ไม่ใช่เพียงท่องคำศัพท์ทุกวัน เพราะระหว่างการปฏิบัติ บางทีจะพบความลำบากและปัญหา จะทำให้ตนมีสภาพไม่ดีเหมือนตอนเริ่มต้น ถ้าเพียงเน้นผลของทุกวันก็จะทำให้ตนเองผิดหวังมาก และละทิ้งเป้าหมายโดยง่าย แต่ถ้ายืนหยัดในผลสุดท้าย มองแต่เป้าหมาย ก็จะช่วยส่งเสริมความมุ่งมั่นในใจ

๕. Time-based หมายถึงกำหนดเวลา

เมื่อตั้งเป้าหมายแล้ว ควรจัดทำตารางการปฏิบัติ กำหนดอย่างชัดเจนว่า ต้องใช้เวลาเท่าไรจึงเสร็จสิ้นแผนนี้ และวิธีการปฏิบัติ ถ้าเป็นเป้าหมายใหญ่ อาจต้องใช้ทั้งปีจึงจะทำได้ ดังนั้น ควรแบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นหลายเป้าหมายย่อย ใช้เวลาทุกเดือนหรือทุกสองเดือนพยายามบรรลุเป้าหมายย่อยก่อน สุดท้าย ผลก็จะตามมา

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040