บุพเพสันนิวาส
  2018-06-28 15:31:34  cri

 

ผู้ชมจีนชื่นชอบละครบุพเพสันนิวาสมีสาเหตุหลายประการ เพราะว่าละครบุพเพสันนิวาสมีรายละเอียดปลีกย่อยรายล้อมมากมาย ดูแล้วได้ความรู้จริง ๆ อันดับแรกคือ ชื่อกรุงศรีอยุธยา มีความหมายว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้ ดังที่ตัวละคร เกศสุรางค์ บรรยายในละครว่า สมัยอยุธยาเป็นอาณาจักรแห่งที่ 2 ของไทย ต่อจากอาณาจักรสุโขไทย เป็นอาณาจักรที่มีอายุยืนยาวที่สุดถึง 417 ปีในประวัติศาสตร์ของไทย มีพระมหากษัตริย์ 34 พระองค์ เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่ง และเป็นศูนย์กลางการค้าระดับนานาชาติ

ในละครนี้ มีตัวละครหลายตัวเป็นตัวบุคคลที่มีจริงในประวัติศาสตร์ของไทย ก่อนหน้านี้ เมื่อพูดถึงพระมหากษัตย์ของไทย เรามักจะนึดถึง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรีและ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์ทรงได้รับสมัญญาว่า "พระปิยมหาราช" คือ มหาราชผู้ทรงเป็นที่รัก คราวนี้จากละครเรื่องบุพเพสันนิวาส เราได้เรียนรู้ประวัติของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มากขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีออกญาโหราธิบดี ผู้นิพนธ์หนังสือ "จินดามณี" ซึ่งถือเป็นแบบเรียนเล่มแรกของไทย มีเนื้อหาครอบคลุมถึงหลายเรื่อง เช่น การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การแจกลูก การผันอักษร และการใช้ตัวการันต์ เป็นต้น

ส่วนออกญาโกษาธิบดี ผู้ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญในเรื่องความสามารถที่ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ ด้วยบุคลิกที่เฉลียวฉลาด มีมารยาท ช่างสังเกต พูดจาหลักแหลมคมคาย จึงทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการประกาศชื่อเสียงและเกียรติคุณของประเทศไทย

คำไทยโบราณในละครชวนให้ไปเปิดพจนานุกรมเพื่อดูความหมายให้แน่ชัด ตัวอย่างเช่น เพลา หมายถึง ช่วงเวลา เพลาชาย หมายถึงช่วงเวลาบ่ายโมง ฟะรังคี หมายถึง ฝรั่ง หรือชาวต่างชาติ 5 บาท คือ ครึ่งชั่วโมง และ 10 บาท คือ 1 ชั่วโมง อึดตะปือนัง แปลว่า เยอะหรือมากมาย

ประสา คือ ภาษา พระกรรณ หมายถึง หู ใบหู ลอมพอก คือ หมวกขุนนางทรงสูงสมัยพระนารายณ์

คนไทยสมัยก่อน มักจะทักทายกันว่า "ไปไหนมา" เช่นเดียวกับคนจีนแต้จิ๋วที่พูดว่า "ขื่อตีก้อไล้" สำหรับการทักทายอย่างในปัจจุบัน มีบันทึกเป็นหลักฐานว่า การแนะนำให้ทักทายกันด้วยคำว่า "สวัสดี" เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2478 ต่อมาในปีพ.ศ. 2486 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นเห็นชอบให้ใช้คำว่า "สวัสดี" เป็นคำทักทายอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม ปีนั้นเป็นต้นมา

ฉากที่ดึงดูดสุด ๆ ของละครเรื่องนี้คือ การแต่งโคลง-กลอน โดยบรรดาตัวละครที่สำคัญประชันกันการแต่งกล่อนใต้แสงพระจันทร์ ฉากนี้มีความละเมียดละไม ทำให้ผู้ชมเคลิบเคลิ้มไปในบทโคลง-กลอนที่มีความไพเราะน่าฟังและความโรแมนติกของบรรยากาศในยามค่ำคืนที่งดงาม

นอกจากประชันกันแต่งกลอนแล้ว ละครบุพเพสันนิวาสยังมีการแสดงขนบประเพณีต่าง ๆ อีกหลายอย่าง เช่น การทำบุญตักบาตร การคลอดบุตร พิธีแต่งงาน งานศพ ศิลปะการบังคับช้าง และ อื่น ๆ โดยเฉพาะการทำขนมไทย

จากละคร บุพเพสันนิวาส ได้รู้จักท้าวทองกีบม้า หญิงสาวชาวโปรตุเกส ที่นำสูตรขนมจากโปรตุเกสที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบในการทำขนม ประกอบด้วยวัตถุดิบท้องถิ่นของไทย โดยประดิษฐ์ขนมขึ้นมาใหม่ที่มีรสชาติอร่อย อาทิ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น เธอจึงได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"

ในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานมงคลสมรส งานทำบุญวันเกิด หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ส่วนใหญ่ก็จะมีการเลี้ยงพระและแขกที่มาในงาน เพื่อความเป็นสิริมงคล ในจะมีขนมฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาวมีอายุยืน ขนมชั้น ก็ให้ได้เลื่อนขั้นขึ้นเงินเดือน ขนมถ้วยฟูก็ขอให้เฟื่องฟู ส่วนขนมทองเอกก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นความเชื่อมเกี่ยวกับชื่อของขนมที่จะช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลได้

ขนมไทยมีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำ ที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน ตลอดจนกรรมวิธีที่ประณีตบรรจง

ขนมสี่ถ้วยได้แก่ "ขนมไข่กบ นกปล่อย บัวลอย และอ้ายตือ" ไข่กบ หมายถึง เม็ดแมงลัก นกปล่อย หมายถึง ลอดช่อง บัวลอย หมายถึง ข้าวตอก และอ้ายตือ หมายถึง ข้าวเหนียวดำ ขนมทั้งสี่อย่างนี้ ใช้กระสายอย่างเดียวกัน คือ "น้ำกะทิ" และยังถือว่าเป็นขนมชนิดแรกของชนชาติไทย

ความเป็นมาชื่อแม่หญิงการะเกดคือ การะเกดเป็นต้นไม้ที่ดูแลง่าย มีความทนทาน อายุยืนยาว และหามาปลูกได้ง่าย เป็นไม้ประดับที่ดี เหมาะสำหรับปลูกตามพื้นที่ชุ่มน้ำหรือริมฝั่งน้ำ

ผลของต้นการะเกดรับประทานได้ มีรสขมเล็กน้อย โดยใช้ปรุงเป็นยาหอม บำรุงหัวใจได้ และใช้เป็นยาแก้โรคทรวงอก เจ็บอก เจ็บคอ แก้เสมหะ บำรุงหัวใจ และบำรุงธาตุได้

ดอกของต้นการะเกดใช้อบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม สตรีโบราณนิยมนำมาใส่หีบ เพื่ออบกลิ่นเสื้อผ้าให้หอม การใช้ดอกไปเคี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว แล้วปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้กันมาก

ส่วนใบของต้นการะเกดการะเกดสามารถนำมาใช้ในงานจักสาน ทำเป็นเครื่องมือใช้สอยต่าง ๆ ได้ดี เช่น กระสอบ เสื่อ หมวก และกระเป๋า เป็นวัตถุดิบของงานหัตถกรรมที่ดีและหาได้ง่าย

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040