พิพิธภัณฑ์ยุคก่อนประวัติศาสตร์หวังฝูจิ่ง
  2009-12-10 13:55:12  cri

เศษซากกระดูกสัตว์ที่ขุดค้นพบ

การศึกษาแหล่งโบราณคดีดึกดำบรรพ์ที่หวังฝูจิ่งนั้น ต้องเชื่อมโยงไปยังโจวโข่วเตี้ยน ที่ภูเขา "หลงกู่ซาน" ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากกรุงปักกิ่งเพียง 50 กว่ากิโลเมตร เพราะที่นี่เป็นแหล่งโบราณคดีที่มีการทำการศึกษามาก่อน และมีชื่อเสียงระดับโลก เพราะเป็นสถานที่ขุดพบกระโหลกของ "มนุษย์ปักกิ่ง" รวมถึงฟัน และเครื่องมือหิน ซึ่งได้ยุติข้อถกเถียงที่ยืดเยื้อมากว่าครึ่งศตวรรษ นับตั้งแต่มีการค้นพบ "มนุษย์ชวา" ในศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ว่า "มนุษย์เดินตัวตรง"หรือ "โฮโมอิเล็กตัส" เป็นวานรหรือมนุษย์ กันแน่

"มนุษย์ปักกิ่ง" นั้นมีอายุอยู่ในช่วงประมาณ 700,000 ปีถึง 200,000 ปีก่อน เป็นมนุษย์ยุคหินที่ใช้ชีวิตด้วยวิธีเก็บผักผลไม้ป่าและการล่าสัตว์ รู้จักการเครื่องมือที่ทำด้วยหินแหลมคมที่พบ ซึ่งขุดค้นพบในถ้ำ มีขนาดใหญ่ เล็ก หนา บาง ต่างกัน ใช้งานในรูปแบบต่างๆ กันทั้งฟัน ทุบ และเจาะ

และซากดึกดำบรรพ์ที่หวังฝูจิ่งก็อยู่ในยุคต่อมาของ "มนุษย์ปักกิ่ง" เพราะเศษซากวัตถุที่ค้นพบนั้นไม่ต่างจากที่มนุษย์ปักกิ่งใช้เลย มีทั้งเศษหินที่เป็นอาวุธ เศษซากสัตว์และไม้ รวมถึงหลักฐานการก่อไฟเพื่อหุงหาอาหารด้วย

ดังนั้น ภายในห้องแรกของพิพิธภัณฑ์จึงทำการจัดแสดงเรื่องราวของ "มนุษย์ปักกิ่ง" ที่โจวโข่วเตี้ยนไว้ด้วย เพื่อให้ผู้ที่มาเข้าชมเกิดการเชื่อมต่อทางความคิด หรือมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับมนุษย์ดึกดำบรรพ์ที่มีอายุมากที่สุดของโลกนี้เสียก่อน ค่อยมารู้จักมนุษย์ยุคไพลสโตซีนนี้

1 2 3 4 5 6 7 8
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040