ควร/ไม่ควรในการดื่มน้ำเพื่อให้มีสุขภาพดี
  2010-04-15 19:12:11  cri

ควร... ดื่มน้ำทีละอึก ค่อยๆ ดื่ม เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ดีกว่า

ไม่ควร... ดื่มน้ำรวดเดียวหมด เพราะร่างกายจะดูดซึมได้ช้าและยังเกิดอาการจุกเสียดกระเพาะและอึดอัดท้อง

ควร... ดื่มน้ำอุ่นเมื่อตื่นขึ้นในตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายได้ขับถ่ายของเสียและสารพิษ

ไม่ควร... ดื่มน้ำเย็นก่อนนอน เพราะจะทำให้เวลากลางคืนที่หลับ จะลุกขึ้นมาปัสสาวะ ซึ่งจะทำให้การนอนหลับขาดช่วง เท่ากับว่าต้องไปเริ่มกระบวนการพักผ่อนใหม่อีกครั้ง

ควร... ดื่มน้ำผลไม้ ชนิดไม่แยกกาก หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของธัญพืชช่วยเพิ่มความสดชื่นและเติมไฟเบอร์ให้ร่างกาย การขับถ่ายก็จะง่ายขึ้น

ไม่ควร... ดื่มน้ำอัดลม เพราะยิ่งจะไปเพิ่มปริมาณแก๊สในกระเพาะ ส่งผลให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และที่สำคัญ ลมกรดในน้ำจะทำให้ฟันผุ โดยเฉพาะเด็กที่ฟันยังไม่สมบูรณ์แข็งแรง การดื่มน้ำอัดลมเหมือนกับเอาฟันแช่อยู่ในน้ำกรด ซึ่งจะกัดกร่อนฟัน แต่หากเปลี่ยนวิธีดื่ม ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้บ้างค่ะ นั่นก็คือ ใช้หลอด แต่ควรให้หลอดอยู่หลังฟันหน้า เมื่อดูดน้ำเข้าไป น้ำจะถูกกลืนเข้าหลอดอาหารโดยตรง โอกาสที่น้ำอัดลมจะสัมผัสกับฟันก็จะลดน้อยลง เป็นวิธีการรักษาฟันให้แข็งแรงสำหรับผู้ที่ชอบดื่มน้ำอัดลมค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ควรพยายามลดการดื่มน้ำอัดลงให้น้อยลง โดยเฉพาะเด็กดื่มแล้วมักจะทำให้ไม่อยากทานข้าวและไม่ชอบทานน้ำเปล่า นานวันเข้าจะไม่ดีต่อสุขภาพ

ควร... ดื่มน้ำหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว 15-30 นาที เพื่อให้อาหารที่รับประทานเข้าไปย่อยให้หมด

ไม่ควร... ดื่มน้ำเวลารับประทานอาหาร เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจาง ยากต่อการย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไป จะเกิดอาการปวดท้อง แต่สามารถจิบน้ำซุประหว่างรับประทานอาหารได้

แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มน้ำ ก็จะมีสุขภาพที่ดีได้ง่ายๆ แล้วค่ะ

คนที่ไม่ควรดื่มน้ำมาก

การบำรุงสุขภาพมักจะส่งเสริมให้ดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย แต่ใช่ว่าจะเหมาะกับทุกคนเสมอไป บางคนที่กำลังทานยารักษาโรค หากดื่มน้ำมากเิกินไป อาจจะทำให้อาการหนักขึ้น หรือลดสรรพคุณของยา และการดื่มน้ำควรถูกเวลา หากดื่ืมน้ำผิดเวลา ก็จะไม่ดีต่อสุขภาพ กระทั่งเป็นการคุกคามต่อชีวิตด้วย

คนที่เป็นโรคหัวใจอย่าดื่มน้ำรวดเดียว เพราะเมื่อน้ำปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้เลือดเจือจาง ซึ่งจะเพิ่มภาระให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น สำหรับผู้ที่มีหัวใจแข็งแร็งเป็นปกติแล้วอาจจะไม่มีปัญหา แต่สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจแล้วคงยากที่จะแบกรับภาระหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้เกิดอาการไม่สบาย เพราะฉะนั้น คนที่หัวใจไม่แข็งแรง เวลาดื่มน้ำควรค่อยๆ ดื่มและครั้งหนึ่งอย่าดื่มมาก

ทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือนไม่ควรดื่มน้ำมาก เนื่องจากไตของทารกแรกเกิดยังไม่แข็งแรง หากดื่มน้ำมากไปในขณะที่ขับถ่ายน้ำออกจากร่างกายนั้น สารโซเดียมสูญหายไปด้วย การขาดสารโซเดียมจะส่งผลกระทบต่อสมองของทารก ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด หลับนานเกินควร อุณหภูมิร่่างกายต่ำและหน้าบวม กระทั่งมีอาการชัก เป็นตะคริวและผวาตื่น ซึ่งล้วนเป็นอาการที่เกิดจากการขาดสารโซเดียม เพราะฉะนั้น ควรให้ทารกที่อายุยังไม่ถึง 6 เดือนทานนมแม่หรือนมผง และเวลาชงนมผงควรทำตามสูตรที่กำหนด อย่าใส่น้ำมากเกินไป แต่สำหรับเด็กที่อายุเกิน 6 เดือนแล้วจะไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว

ผู้ป่วยโรคกระเพาะที่กำลังรับประทานยารักษาแผลในกระเพาะไม่ควรดื่มน้ำมาก เนื่องจากยารักษาแผลในกระเพาะบางชนิดเวลาเข้าสู่กระเพาะจะกลายเป็นเม็ดเล็กๆ ติดกับแผลในกระเพาะ เพื่อไม่ให้น้ำย่อยกัดแผล แผลก็จะค่อยๆ หาย หากดื่มน้ำมาก เม็ดยาที่ติดกับแผลจะถูกน้ำเซาะจนหายไปซึ่งจะลดสรรพคุณยา เพราะฉะนั้น เมื่อทานยารักษาโรคกระเพาะแล้วภายในเวลาครึ่งชั่วโมงอย่าดื่มน้ำ นอกจากยาโรคกระเพาะแล้ว เวลาทานยาแก้ไอก็เช่นกัน ไม่ควรดื่มน้ำมาก

1 2
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
ตอบคำถามออนไลน์
ทบทวนรายการน่าสนใจ
ภาพยอดฮิต
เว็บไซต์ึเพื่อนซีอาร์ไอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Play Stop
© China Radio International.CRI. All Rights Reserved.
16A Shijingshan Road, Beijing, China. 100040