“เยาวชนเส้นทางสายไหมกดไลค์จีน”:นักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่จากตุรกีชื่นชมจีนเชิญชวนทั่วโลกร่วมกันพัฒนา

2018-10-04 21:53CRI

เยาวชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาจากประเทศรายทางหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แม้ว่าระยะทางนั้นห่างไกล แต่มีความใกล้ชิด พวกเขาอาจจะมาเรียนหรือท่องเที่ยวในประเทศจีน อาจจะมาทำงานหรือบุกเบิกธุรกิจ แม้กระทั่งบางคนอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายปีแล้ว จนมีความผูกพันกับจีนอย่างมาก พวกเขาได้เห็นกับตาถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของจีนอย่างรวดเร็ว และยินดีร่วมแบ่งปันความรู้สึกจากมุมมองของตนเองในกิจกรรม "กดไลค์จีน"

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถานีวิทยุซีอาร์ไอ จัดกิจกรรม "เยาวชนเส้นทางสายไหม" กดไลค์จีน โดยได้สัมภาษณ์กลุ่มเยาวชนดังกล่าว เพื่อฟังพวกเขาเล่าเรื่องเมืองจีนผ่านมุมมองของตน

图片默认标题_fororder_1

(บรรยายภาพ - อันโม่หลัน นักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่จากตุรกี  ถ่ายภาพโดย หวัง เผิงหยู่)

อัน โม่หลัน(Emre Demir) นักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่จากตุรกี สำเร็จการศึกษาจากคณะสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยอังการาของตุรกีเมื่อปี 2008 และได้เดินทางมาจีนเมื่อปี 2011 หลังจากนั้นก็ทำงานด้านการสื่อสารมาโดยตลอด

อัน โม่หลันเห็นว่า ตุรกีมีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ แต่เนื่องจากขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งและคมนาคมที่สมบูรณ์ ดังนั้น การพัฒนาทางเศรษฐกิจจึงถูกจำกัดเป็นเวลานาน ข้อริเริ่ม"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ของจีน นับเป็นโอกาสการพัฒนาที่ดีสำหรับตุรกี เขากล่าวว่า แต่ละประเทศต่างก็กำหนดแผนการพัฒนาของตน แต่จีนเสนอตัวรับผิดชอบในการเชิญชวนประเทศต่างๆ ของทั่วโลกร่วมกันพัฒนา ข้อริเริ่ม"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" จึงย่อมจะเป็นเวทีความร่วมมืออย่างทั่วทุกด้าน ตุรกีควรคว้าโอกาสนี้ให้มั่น

หลังจากมีข้อริเริ่ม"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" เป็นต้นมา จีนกับตุรกีได้ส่งเสริมความร่วมมือด้านทางรถไฟ พลังงานใหม่และการสื่อสาร ผลักดันการเติบโตอย่างสมดุลระหว่างการค้าทั้งสองฝ่าย ข้อริเริ่ม"หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ได้เชื่อมโยงกับแผนระเบียงกลางของตุรกี ซึ่งผลักดันการพัฒนาเครือข่ายคมนาคมของตุรกีอย่างดี และช่วยเหลือตุรกีแสดงบทบาทที่เป็นศูนย์กลางการขนส่งโลก

อัน โม่หลันเพิ่มเติมว่า จีนกับตุรกีนอกจากดำเนินความร่วมมือด้านคมนาคมและเศรษฐกิจต่างๆ แล้ว ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยอีกด้วย โดยปี 2018 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวจีน-ตุรกี มีชาวจีนมากยิ่งขึ้นไปเที่ยวตุรกี เขากล่าวทิ้งท้ายว่า "ได้ยินว่าช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ นักท่องเที่ยวจีนในตุรกีเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 นโยบายที่ให้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น วีซ่าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จะทำให้ประชาชนสองประเทศมีการแลกเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น เชื่อว่า การติดต่อไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนสองประเทศย่อมจะส่งเสริมให้ความสัมพันธ์ของสองประเทศกระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วย"

Yim/kt

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx