2018-10-25 13:40CRI
เยาวชนกลุ่มหนึ่งเดินทางมาจากประเทศรายทางหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง พวกเขาอาจจะมาเรียนหรือท่องเที่ยวในประเทศจีน อาจจะมาทำงานหรือบุกเบิกธุรกิจ แม้กระทั่งบางคนอาศัยอยู่ในประเทศจีนมาหลายปีแล้ว จนมีความผูกพันกับจีนอย่างมาก พวกเขาได้เห็นกับตาถึงการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของจีนอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้แบ่งปันความรู้สึกจากมุมมองของตนในกิจกรรม "กดไลค์จีน"
(บรรยายภาพ - เมื่อปี 2017 นายแซนกีต แซนกรูว์ลา ในฐานะผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์ Republica Daily ถ่ายภาพที่ระลึกหน้ามหาศาลาประชาชน ณ กรุงปักกิ่ง)
นายแซนกีต แซนกรูว์ลา (Sangeet Sangroula) มีชื่อจีนว่า “หลี่ เฮ่าเซวียน” ปัจจุบันกำลังศึกษาระดับปริญญาโทสาขาข่าวเศรษฐกิจการเงินโลก ที่มหาวิทยาลัยชิงหวา กรุงปักกิ่ง ก่อนที่เขาเดินทางมาจีน เขาทำงานเป็นผู้สื่อข่าว เมื่อปี 2017 เขาเคยเดินทางมาที่จีนหลายครั้งเพื่อสัมภาษณ์และรายงานข่าวสำคัญต่างๆของจีน
นายแซนกีต แซนกรูว์ลากล่าวว่า เนปาลเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกทางทะเล และระบบคมนาคมรวมทั้งทางหลวงและทางรถไฟต่างไม่ค่อยสมบูรณ์ ทำให้การไปมาระหว่างเนปาลกับจีนลำบากมาก หลังจากจีนประกาศข้อริเริ่ม “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ทำให้เนปาลจากประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ค่อยพัฒนาเป็นประเทศที่มีการเชื่อมโยงทางบก เขากล่าวว่า หลังจากทางหลวงและรถไฟต่างๆ สร้างเสร็จแล้ว ทำให้การค้าขายระหว่างสองประเทศพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เศรษฐกิจเนปาลเติบโตขึ้น
นายแซนกีต แซนกรูว์ลาระบุว่า การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สามารถส่งเสริมการพัฒนาของประเทศและภูมิภาค เขากล่าวว่า “ในอดีต เนปาลมีสนามบินแห่งเดียวที่กรุงกาฐมาณฑุ ปัจจุบัน เนปาลกำลังร่วมมือกับจีน เพื่อจะสร้างสนามบินนานาชาติโพคารา(Pokhara) ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่โพคาลาเพิ่มมากขึ้น
(บรรยายภาพ - นายแซนกีต แซนกรูว์ลา ขณะกล่าวปราศรัยในงานเสวนาของสมาคมวิจัย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” มหาวิทยาลัยชิงหวา)
เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2017 นายแซนกีต แซนกรูว์ลา เดินทางมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยชิงหวา และได้เข้าร่วมสมาคมวิจัยนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางที่นักศึกษาจัดตั้งขึ้น สมาคมนี้มีการจัดงานเสวนาบ่อยครั้ง เขาหวังว่าจะร่วมกับเยาวชนจากประเทศต่างๆ สร้างสรรค์ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” พยายามสร้างอนาคตที่ดีงามร่วมกัน
Yim/Lei/Zheng