“1 แถบ 1 เส้นทาง” กับการเปิดประตูบ้านของมณฑลยูนนาน

2018-12-10 15:26CRI

图片默认标题_fororder_20181010-1

“มณฑลยูนนาน” มณฑลทางใต้ของจีน นับเป็นหนึ่งในกลุ่มมณฑลที่เปิดตัวสู่ภายนอกที่มีประวัติความเป็นมายาวนานที่สุด  ปัจจุบัน  สิ่งที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ “1 แถบ 1 เส้นทาง” กำลังพายูนนานเชื่อมสัมพันธ์กับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงกระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น  ทุกคนต่างร่วมกันจดจำเรื่องราวแห่งมิตรภาพ สันติภาพและการพัฒนาไปด้วยกัน

นับตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ปี 2017  เส้นทางเดินเรือการท่องเที่ยวแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้เริ่มเปิดใช้  ก็เท่ากับว่าบันทึกหน้าใหม่ของการขนส่งนักท่องเที่ยวทางน้ำในลุ่มแม่น้ำล้านช้างได้เริ่มต้นขึ้นด้วย

เมื่อปี 2016  “โครงการพัฒนาเส้นทางขนส่งแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขง” ซึ่งร่วมวางแผนโดย 4 ประเทศ  อันได้แก่ จีน ไทย ลาว และพม่า  ซึ่งเป็น 4 ประเทศเส้นทางการขนส่งแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง มีแผนจะขยายออกไปถึงเมืองหลวงพระบางของลาว อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ใหญ่หลวงต่อประชาชนที่อยู่เลียบชายฝั่ง

นับแต่ก้าวแรกของความสำเร็จในเส้นทางเดินเรือนานาชาติ จนถึงการร่วมกันวางพิมพ์เขียวโครงการการพัฒนาการเปลี่ยนเส้นทางอันตรายของแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ให้เป็นเส้นทางเดินเรือที่สะดวกปลอดภัย  คือ ภาพย่อของการเชื่อมโยงนโยบายส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันของภูมิภาคนี้  ในฐานะเป็นมณฑลที่มีบทบาทเข้าร่วมความร่วมมือที่สำคัญระดับภูมิภาคของนโยบายเปิดยูนนานเชื่อมโยงสู่ภายนอก ได้นำมาซึ่งประโยชน์สุขร่วมกันกับประเทศแถบลุ่มน้ำ

ขณะเดียวกัน  “วงเพื่อนนานาชาติ” ของยูนนานนับวันกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วย  ได้สร้างความสัมพันธ์เพื่อนสนิทกับ 33 ประเทศ  สร้างกลไกความร่วมมือระดับทวิภาคีกับท้องถิ่น 11 แห่งใน 9 ประเทศ  ความร่วมมือกับต่างประเทศมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อวันที่ 25 กันยายน ปี 2004  ประเทศจีนได้ประเดิมส่งกระแสไฟฟ้าให้เวียดนามเป็นครั้งแรก  โครงข่ายการไฟฟ้าหงเหอได้ทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ 110 กิโลวัตต์  จากเหอโข่วถึงเมืองหล่าวกายของเวียดนาม  นับแต่วันนั้นมา  การเดินทางออกนอกประเทศเพื่อจดมิเตอร์ไฟฟ้าเดือนละครั้งจึงกลายเป็นหน้าที่ของนายโม่ สีหมิง เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทการไฟฟ้ายูนนานจำกัด  ตราบจนถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้  เขาได้เดินทางออกนอกประเทศไปจดมิเตอร์ไฟฟ้า 149 ครั้งแล้ว  ระหว่างปฏิบัติหน้าที่นี้  นายโม่ สีหมิงได้กลายเป็น “ผู้เชี่ยวชาญเวียดนาม”  และเป็นประจักษ์พยานถึง “การก้าวออกไป” ของการไฟฟ้ายูนนาน

图片默认标题_fororder_20181010-2

ณ วันนี้  ยูนนานได้นำแสงสว่างไปสู่ครัวเรือนในหมู่บ้านต่างๆของประเทศข้างเคียง  ขณะเดียวกัน ยูนนานยังได้สร้างการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ทางด่วนไปถึงพื้นที่เขตชายแดน  สนามบินนานาชาติฉางสุ่ย  ซึ่งเมืองคุนหมิงมีเที่ยวบินสู่เมืองใหญ่ต่างประเทศกว่า 40 ประเทศ  สำหรับทางรถไฟจีน-ลาวก็ได้ทำการก่อสร้างทั้งในเขตพรมแดนและนอกพรมแดนไปพร้อมๆกันด้วย  นอกจากนี้  ยูนนานยังเป็นหนึ่งในสี่ช่องทางนำเข้าส่งออกนานาชาติของจีน

ในเทศกาลวันแม่  การมอบดอกคาร์เนชั่นสักช่อให้กับมารดา นับเป็นรูปแบบหนึ่งที่ผู้คนทั่วโลกนิยมใช้แสดงออกถึงความซาบซึ้งในพระคุณแม่  ซึ่งหลายคนคงยังไม่รู้ว่า  ตอนที่ดอกคาร์เนชั่นยังเป็นเพียงต้นกล้าอ่อนอยู่นั้น ได้งอกงามอยู่บนแผ่นดินสีแดงของยูนนาน

บริษัทอุตสาหกรรมไม้ดอกอิงเม่าจำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่บ้านเสี่ยวเส้า เมืองคุนหมิง  มณฑลยูนนาน นายเซียว วั่งเป่า ประธานบริษัทกล่าวกับผู้สื่อข่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า  การเพาะต้นกล้าคาร์เนชั่นของบริษัทได้จำหน่ายส่งไปไกลไปถึงประเทศญี่ปุ่น ฮอลแลนด์  สเปน  อิตาลี  และอิสราเอล เป็นต้น  ซึ่งแต่ละมีการปีส่งออกมากกว่าสิบล้านต้น  ในจำนวนนี้  ต้นกล้าคาร์เนชั่น 30 เปอร์เซนต์ในตลาดญี่ปุ่นมาจากบริษัทของเขา

ตลอดระยะเวลาหลายปีมานี้  การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของยูนนานเพิ่มขึ้น  กลายเป็นจุดเด่นของการค้ากับต่างประเทศของยูนนาน  ดอกไม้สดของตลาดดอกไม้โต้วหนานคุนหมิง ก็ได้ส่งออกไปจำหน่ายไกลถึงกว่า 40 ประเทศและเขตแคว้น  ผักสดยูนนานจำหน่ายไปถึงกว่า 20 ประเทศและเขตแคว้นเช่นกัน และกิจการที่ถือเป็นดั่งเส้นคู่ขนานกันไปด้วยนี้คือ  ในตลาดคุนหมิงมีผลไม้จากประเทศไทย  เช่น มะม่วง  ลำไย  สับปะรดจิ๋วและชมพู่ เป็นต้น  ก็ได้รับความชื่นชอบจากผู้บริโภค  เที่ยวบินที่ออกเดินทางมาจากประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะนำอาหารทะเลจากมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียส่งมายังคุนหมิง  และใช้คุนหมิงเป็นศูนย์กลางส่งกระจายสินค้าไปขายต่อยังนครเซี่ยงไฮ้  กวางเจา  และกรุงปักกิ่ง เป็นต้น  การค้าพืชผลเกษตรที่เพิ่มขึ้นไม่หยุด  ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดี  ยังเป็นการช่วยเพิ่มรายรับให้กับเกษตรกรผู้ผลิตในยูนนานและประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปพร้อมกันด้วย

图片默认标题_fororder_20181010-3

บริษัทหัตถกรรมทอผ้าไหมซีฮั่ว เป็นบริษัทของนักธุรกิจชาวลาว ที่ประกอบธุรกิจค้าผ้าไหม  ด้วยออเดอร์ที่เพิ่มมากขึ้น  จำเป็นต้องขยายโรงงาน  แต่ต้องประสบกับอุปสรรคสำคัญคือ ขาดแคลนทุนทรัพย์ เจ้าของกิจการจึงมาปรึกษาขอคำแนะนำกับธนาคารลาวจีน  ซึ่งธนาคารลาวจีนก็ได้ให้ธนาคารสากลฝ่ายสินเชื่อส่งเสริมพัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME)ในลาวแนะนำประสานหาผู้ร่วมลงทุนให้

ทั้งนี้ ธนาคารลาวจีน เป็นองค์กรการเงินที่ร่วมลงทุนโดยธนาคารฟู่เตียนกับธนาคารการค้าต่างประเทศลาว  และเป็นธนาคารร่วมทุนจีน-ลาวแห่งแรกที่ได้รับการอนุมัติโดยสมาคมกำกับดูแลธนาคารแห่งประเทศจีนและธนาคารชาติลาว  เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2016  หลังจากผ่านอุปสรรคเรื่องเป้าหมายการลงทุนต่างๆ ธนาคารลาวจีนจึงได้ก่อตั้งขึ้นในรูปบริษัทตัวแทนเงินกู้การลงทุนSME

หลังจากรับหนังสือคำร้องของบริษัทหัตถกรรมทอผ้าไหมซีฮั่ว  ในระหว่างดำเนินการธนาคารลาวจีนพบว่า บริษัทดังกล่าวมีความเสี่ยงด้านบัญชีการเงิน  ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหายุ่งยากนี้  ธนาคารลาวจีนจึงได้ทำการตรวจสอบตลาดการผลิตไหมลาวและวิเคราะห์กิจการ  พร้อมนำมาเปรียบเทียบกับสภาพรายรับรายจ่ายของบริษัทซีฮั่ว  และสรุปออกมาเป็นรายงานการตรวจสอบอย่างละเอียด แล้วจึงให้การอนุมัติในท้ายที่สุด  แก้ปัญหาให้กับบริษัทหัตถกรรมทอผ้าไหมซีฮั่วข้ามพ้นวิกฤติไปได้

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงเรื่องราวส่วนหนึ่งของ “การเปิดประตูบ้านของยูนนาน”  และก็ถือเป็นเรื่องราวร่วมกันของคนยูนนานกับประชาชนประเทศเพื่อนบ้านรายทาง “1 แถบ 1 เส้นทาง” ทั้งหลายด้วย

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Not Found!(404)