คำตัดสินขององค์การการค้าโลกไม่ควรถูกมองเป็นชัยชนะของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

2019-04-21 13:36CRI

图片默认标题_fororder_1

เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา องค์การการค้าโลกประกาศคำตัดสินกรณีสหรัฐฯฟ้องร้องจีนที่กำหนดโควตาภาษีศุลกากรในการนำเข้าข้าว ข้าวสาลี และข้าวโพด  โดยคำตัดสินระบุว่า     การปฏิบัติของจีนมีความไม่โปร่งใส และได้ละเมิดคำมั่นสัญญาที่เคยให้ไว้ตอนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก   ขณะเดียวกัน  องค์การการค้าโลกยังได้ปฏิเสธคำร้องของสหรัฐฯที่ให้จีนต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโควตาอัตราภาษีศุลกากร 

ต่อข้อขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนกับสมาชิกอื่นขององค์การการค้าโลก จีนมีความคิดเห็นตลอดมาว่า  ข้อพิพาทเหล่านี้ต้องได้รับการแก้ไขผ่านกลไกแก้ไขข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก   จีนเคยฟ้องร้องสมาชิกอื่นขององค์การการค้าโลก เพื่อปกป้องประโยชน์ทางการค้าของตน  และก็เคยถูกสมาชิกอื่นฟ้องร้องเช่นกัน    จีนเคารพและปฏิบัติตามคำตัดสินขององค์การการค้าโลก 

 สิ่งที่ต้องชี้ให้เห็นคือ จากการตัดสินขององค์การการค้าโลกในกรณีความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนเกี่ยวกับการค้าสินค้าเกษตรครั้งนี้จะเห็นได้ชัดว่า  องค์การการค้าโลกมีบทบาทสำคัญยิ่งในการพิทักษ์กฎเกณฑ์การค้าพหุภาคี  ความหมายของการแก้ไขข้อพิพาทในกรณีนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ว่าใครแพ้ใครชนะ 

กลไกการค้าพหุภาคีที่มีองค์การการค้าโลกเป็นแกนนำนั้นได้แสดงบทบาทที่เป็นเสาค้ำในการผลักดันการพัฒนาการค้าทั่วโลก และสร้างเศรษฐกิจโลกแบบเปิดกว้าง   ในนี้   กลไกแก้ไขข้อพิพาทในองค์การการค้าโลกถูกมองว่าเป็นศาลที่รับผิดชอบแก้ไขข้อพิพาททางการค้า  โดยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาความสมดุลระหว่างสิทธิประโยชน์และพันธกรณีของสมาชิก  รวมทั้งเพื่อประกันให้หลักการและกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกได้รับการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิผล 

จนถึงขณะนี้    จำนวนกรณีฟ้องร้องความขัดแย้งทางการค้าที่ถูกยื่นให้กลไกแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าวพิจารณาตรวจสอบมีกว่า 500 กรณี  ถึงแม้ว่าคำตัดสินของกลไกนี้จะไม่มีผลบังคับใช้ก็ตาม  แต่สมาชิกส่วนใหญ่ขององค์การการค้าโลกได้เคารพและปฏิบัติตามคำตัดสินของกลไกนี้อย่างจริงจัง  และไม่ว่าตนจะแพ้หรือชนะในการฟ้องร้อง ล้วนถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา   ทั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นว่า พวกเขาเคารพหลักการขององค์การการค้าโลกที่ให้มีการปรึกษาหารือกัน เพื่อบรรลุความเห็นที่เป็นเอกฉันท์   ด้วยเหตุนี้ จึงไม่มองผลการตัดสินในแง่ว่า ใครแพ้ใครชนะ 

สำหรับประเทศจีน  จนถึงเดือนเมษายน ปี 2018   ได้ยื่นฟ้องร้องสมาชิกอื่นในกรณีพิพาททางการค้าต่อองค์การการค้าโลกรวม  17 กรณี ในจำนวนนี้  มี 8 กรณีได้มีการตัดสินแล้ว   ขณะเดียวกัน  จีนถูกสมาชิกอื่นฟ้องร้องรวม 27 กรณี  ในจำนวนนี้  มี 23 กรณีได้ประกาศผลแล้ว   สหรัฐฯเป็นประเทศที่ถูกสมาชิกอื่นฟ้องร้องมากที่สุดในองค์การการค้าโลก  และมีไม่น้อยที่สหรัฐฯต้องตกเป็นฝ่ายแพ้   เช่น   เมื่อปี 2016   องค์การการค้าโลกตัดสินให้สหรัฐฯเป็นฝ่ายแพ้ในกรณีจีนยื่นฟ้องสหรัฐฯเมื่อปี2013 เรื่องสหรัฐฯละเมิดกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกโดยได้จัดเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดในหลายสาขาธุรกิจ เช่น เครื่องจักรกล   อิเล็กทรอนิกส์  อุตสาหกรรมเบา โลหะ และเหมืองแร่ 

สิ่งที่ต้องสังเกตในขณะนี้คือ   กลไกแก้ไขข้อพิพาทขององค์การการค้าโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากลัทธิการปฏิบัติโดยลำพังฝ่ายเดียวและลัทธิกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง     สหรัฐฯได้ใช้สิทธิ์ยับยั้งการแต่งตั้งคณะผู้พิพากษาชุดใหม่ในระบบระงับข้อพิพาทขององค์การการค้าโลก ซึ่งอาจทำให้ความสามารถในการออกคำตัดสินต่างๆ ขององค์การการค้าโลกเกิดการชะงักงัน   จึงมีผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนว่า  หากเกิดกรณีนี้จริง   การบริหารจัดการการค้าโลกอาจถอยหลัง 20 ปี  

แน่นอน  องค์การการค้าโลกต้องการการปฏิรูปอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวทันยุคสมัย  หลายประเทศจึงได้เสนอข้อเสนอที่เกี่ยวข้อง  เช่น   สหภาพยุโรปได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความทันสมัยรอบด้านขององค์การการค้าโลก   สหรัฐฯ ยุโรปและญี่ปุ่นจะผลักดันความร่วมมือระหว่างสามฝ่ายในการปฏิรูปองค์การการค้าโลก  สำหรับจีน   เมื่อพฤศจิกายนปีที่แล้ว ได้ประกาศหลักการ 3 ประการ และข้อเสนอ 5 ข้อเกี่ยวกับการปฏิรูปองค์การการค้าโลก  โดยมีแก่นแท้ให้รักษากลไกการค้าพหุภาคีบนพื้นฐานที่มีกฎเกณฑ์ และต่อต้านลัทธิกีดกันทางการค้าอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ เพื่อให้องค์การการค้าโลกแสดงบทบาทมากยิ่งขึ้นในการค้าโลก

การฟ้องร้องกรณีความขัดแย้งทางการค้าเกษตรกรรมระหว่างจีน-สหรัฐฯครั้งนี้ เป็นเพียงหนึ่งในหลายกรณีความขัดแย้งระหว่างจีนกับสมาชิกอื่นในองค์การการค้าโลกเท่านั้น ไม่มีอะไรที่พิเศษกว่า เฉกเช่นที่นายปาสกัล ลามี อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกเคยกล่าวไว้ว่า  สมาชิกองค์การการค้าไม่มีใครสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลกอย่างสมบูรณ์แบบได้ เพราะต่างคนต่างมีความเข้าใจของตนต่อกฎเกณฑ์ขององค์การการค้าโลก  อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติตนของจีนหลังเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกอยู่ที่ระดับ “A-plus”     จีนจะเคารพทุกคำตัดสินต่อกรณีพิพาททางการค้าขององค์การการค้าโลก  และจะถือการแก้ไขข้อพิพาทภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกแต่ละครั้งเป็นโอกาสที่ดีในการปรับปรุงและยกระดับการปฏิบัติทางการค้าของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  จากกระบวนการดังกล่าว  จีนจะร่วมปรึกษาหารือกับสมาชิกอื่นในองค์การการค้าโลกอย่างกว้างขวาง  เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการปฏิรูปองค์การการค้าโลก เสริมสร้างอำนาจและประสิทธิภาพขององค์การการค้าโลก   ทำให้องค์การการค้าโลกสามารถปกป้องรูปแบบการค้าเสรีและระบบการค้าพหุภาคีได้ดียิ่งขึ้น

 (yim/cai)

 

ภาพและเนื้อหาข่าวเป็นลิขสิทธิ์ของ China Face
404 Not Found

404 Not Found


nginx